• Published Date: 04/12/2019
  • by: UNDP

ถอดบทเรียน ‘National Dialogue’ : อยู่อย่างเข้าใจและไม่ใช้ Hate Speech

Youth Co:Lab Thailand 2019 ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2562 เราได้เปิดประสบการณ์ใหม่กับน้องๆ ผู้เข้าร่วมทั้ง 10 ทีมเกี่ยวกับการคิดหาวิธีลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างสงบท่ามกลางความหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมเสวนา National Dialogue ซึ่งเป็นการนำเสนอรายงานเกี่ยวกับ Inter-faith Intolerant in Thai Society

ในหัวข้อ ‘Embracing Diversity’ เพราะหลายปีที่ผ่านมา  ในสังคมไทยยังคงมีภาพของการดูแคลนระหว่างผู้คนต่างอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศาสนา โดยเฉพาะในช่องทางสื่อออนไลน์ ที่โซเชียลมีเดียทำให้ประเด็นนี้รุนแรงมากขึ้น จนนำไปสู่การแสดงความเกลียดชังในโลกออนไลน์ (online hate speech) และส่งผลต่อความเกลียดชังในโลกออฟไลน์ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นในปีที่ผ่านมา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) จึงริเริ่มความร่วมมือกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เพื่อศึกษาการใช้ภาษา การสื่อสาร และการแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายการแสดงความเกลียดชัง (hate speech) ในสื่อสังคมออนไลน์  เพื่อให้สังคมเข้าใจการดำรงอยู่ของปรากฏการณ์เหล่านี้ และร่วมป้องกันไม่ให้ความเกลียดชังลุกลามกลายเป็นความรุนแรง ผ่านการมุ่งสร้างวัฒนธรรมที่เคารพและให้เกียรติความหลากหลายในสังคม

ภายในงานเสวนาหยิบยกประเด็นเรื่องความเกลียดชังระหว่างความเชื่อในสังคมมาพูดคุยกัน ซึ่งมีหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ประชาสังคม สื่อ และเยาวชนให้เกียรติเข้าร่วมงาน เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดการพัฒนาและการเปิดรับที่มากขึ้นในอนาคต และผู้เข้าร่วมอย่างเราได้เรียนรู้หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจมากทีเดียว นั่นคือ ‘Hate Speech in Social Media’ หรือ ‘ภาวะที่คนไม่ทนกันจนก่อให้เกิดคำพูดเชิงเกลียดชังในสื่อออนไลน์’ ซึ่งศึกษาความสัมพันธ์และการใช้ถ้อยคำเชิงเกลียดชังในสื่อสังคมออนไลน์ระหว่างพุทธ-มุสลิม จากการเข้าร่วมเสวนาเราได้รับข้อคิดจากงานเพื่อปรับใช้ในชีวิต  4 ข้อ

01 Hate Speech 4 ระดับ

รายงายชิ้นนี้ ศึกษาด้วยการเสิร์ชคำค้นหาในแพล็ตฟอร์มออนไลน์ อย่าง เฟซบุ้ก เพื่อเก็บข้อมูลและแบ่งประเภทของคำพูดเชิงเกลียดชัง ซึ่งทำให้เรารู้ว่า คำพูดเชิงเกลียดชังสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ

  1. แสดงความจงเกลียดจงชัง (Intense Dislike) แบ่งความเป็นพวกเขาและพวกเรา เช่น พวกมัน พวกหนักแผ่นดิน พวกนอกรีด ฯลฯ
  2. ยั่วยุให้เกลียดโดยกล่าวโทษรุนแรง ประณาม เหยียดหยาม และลดทอนความเป็นมนุษย์ เช่น กระจอก เห็นแก่ตัว โจรหมา เอาหมูยัดปาก ไม่ใช่คน ฯลฯ
  3. แสดงการปฏิเสธการอยู่ร่วมกัน เช่น ออกไปเลย อยู่ด้วยกันไม่ได้ แยกดินแดนไปเลย ฯลฯ
  4. ยั่วยุให้ทำผิดกฎหมาย และการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพเพื่อทำลายล้าง เช่น เก็บมันให้หมด เด็ดหัว ยิงทิ้ง เก็บไว้ก็หนักแผ่นดิน ฯลฯ

02 สถานการณ์ Hate Speech ในสังคมออนไลน์ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ 2

ผลของรายงานครั้งนี้พบว่า โลกออนไลน์ในบ้านเรา มักใช้คำพูดเชิงเกลียดชังในระดับที่ 2 ยั่วยุให้เกลียดโดยกล่าวโทษรุนแรง ประณาม เหยียดหยาม และลดทอนความเป็นมนุษย์ พวกเราฟังแล้วหยุดคิด … เอ … สังคมไทยที่เรารู้จัก มาถึงขั้นนี้เลยหรอ … ยังดีนะ ที่เรามาเริ่มคุยกันก่อนที่สถานการณ์จะรุนแรงกว่านี้จนแก้ปัญหาได้ยาก ดีนะที่เรามาเริ่มเอะใจกับสถานการณ์ก่อนที่พวกเราจะไม่สามารถมานั่งคุยกันแบบนี้ได้ ยังดีนะ … ที่เราเห็นว่าเรื่องนี้ไม่เล็กน้อยก่อนที่จะผู้คนจะเริ่มหยิบใช้อาวุธมาห้ำหั่นกัน อย่างปิดหูปิดตา ปิดใจ ยังดีนะ .. ที่เราได้เริ่มต้นขบคิดการแก้ปัญหานี้กัน

03 เข้าใจ Counter Speech

การเข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ ยังทำให้เราได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า ‘Counter Speech’ ซึ่งหมายถึง ข้อมูลในแง่มุมโต้แย้งกับคำพูดเชิงเกลียดชังที่เกิดขึ้น มักพบจากการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกับบางความเห็น ทำให้คนฟังหรือคนอ่านข้อมูลต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้หยุดคิด และทบทวนความคิด หรือความเชื่อที่เรามีว่า เป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า

04 Hate Speech จะลดได้ต้องใช้ความร่วมมือ

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการเข้าร่วมเสวนา National Dialogue ครั้งนี้ คือการทำงานเพื่อลดคำพูดเชิงเกลียดชังนั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกๆฝ่าย มาร่วมถกประเด็น หาทางออก หาทางลดความรุนแรงผ่านแป้นพิมพ์ หาทางลดแนวคิดสุดโต่ง โดยอาศัยการคิดค้นหาวิธีการกันอย่างสร้างสรรค์ และพร้อมที่จะร่วมมือเพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิมให้เกิดขึ้นในวันข้างหน้า

 

ผลของรายงาน ‘Hate Speech in Social Media’ หรือ ‘ภาวะที่คนไม่ทนกันจนก่อให้เกิดคำพูดเชิงเกลียดชังในสื่อออนไลน์’ ทำให้เราได้หยุด และคิดทบทวนก่อนที่จะพิมพ์ หรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปในโลกโซเชียลเสมอ

 

Keywords: , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779