• Published Date: 24/07/2019
  • by: UNDP

ผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่’ 4 สกิลเพื่อทำธุรกิจที่ดีและสร้างสังคมให้น่าอยู่

ผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่(คำนาม)     กลุ่มคนที่อยากสร้างธุรกิจไปพร้อมกับการช่วยแก้ไขปัญหาสังคม

ไม่ใช่แค่ใครสักคนที่สามารถทำธุรกิจให้เป็นมากกว่าธุรกิจทั่วไป แต่ในความจริงแล้วเป็นใครก็ได้ที่มีใจอยากช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เรากำลังพูดถึงอาชีพผู้ประกอบการทางสังคมที่อยากสร้างธุรกิจของตัวเองไปพร้อมๆ กับการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเยาวชนในวันนี้ที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า 

โดยวันที่ 15 กรกฎาคมของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวัน ‘World Youth Skills Day’ หรือวันพัฒนาทักษะเยาวชนระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักการส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มโอกาสในทางเลือกของชีวิต เราเลยมี 4 สกิลสำคัญสำหรับผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่เพื่อสร้างธุรกิจให้ดี พร้อมกับสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมอย่างมีคุณภาพ มาให้เยาวชนที่มีใจรักและอยากยกระดับสังคมให้ดีขึ้นไว้อ่านเตรียมพร้อม

 

1. Creativity and Innovation | คิดให้สร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนสู่นวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์และการเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นให้กลายเป็นนวัตกรรม คือสิ่งที่ผู้ประกอบการทางสังคมรุ่นใหม่จำเป็นต้องมี เพราะมันจะช่วยให้เราคิด และหาหนทางในการจัดการบริการและสินค้าท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความไม่แน่นอนได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนว่า ‘เรามีหลายสิ่งต้องเรียนรู้’ รู้เพื่อที่จะจัดสรรเวลาของตัวเองให้ดีสำหรับฝึกทั้งการลงมือทำ และความคิด แล้วการหมั่นเรียนรู้ ใส่ใจ และฝึกคิดจะทำให้สิ่งที่ตัดสินใจทำเกิดประโยชน์ทะ้งต่อตัวเองและสังคมนั่นเอง

 

2. Data Analysis | คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

เยาวชนยุคเจนฯ Z อยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยชุดข้อมูล และข่าวสารมากมายที่ไหลมาจากทั่วสารทิศ การทำความเข้าใจ และอ่านอย่างมีวิจารณญาณจึงเป็นทักษะที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องอ่านให้เยอะ วิเคราะห์ให้เป็น และรู้จักแปลงข้อมูลที่ได้รับ ให้กลายเป็นข้อบังคับ โครงการต่างๆ รวมถึงวิธีการทำ เพื่อเป็นผู้ประกอบการทางสังคมที่เข้มแข็งในวันข้างหน้า

 

3. Project Management | โฟกัสกับพอยท์สำคัญ

อย่างที่รู้กันดีว่า ทรัพยากรรอบตัวนั้นมีให้ใช้อย่างจำกัด การบริหารโครงการเชิงนวัตกรรมจึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ นั่นหมายถึงการโฟกัสหัวใจสำคัญ และเรื่องควรทำของโปรเจกต์โดยเฉพาะ อย่างไม่ต้องไปเสียเวลาหรือใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังเปิดรับความเสี่ยง และไม่สตริคจนเครียดเกินไป ปล่อยวางบางจุด เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่

 

4.  Huamn-centred Design | ดีไซน์ที่ได้ประโยชน์

หลายปีที่ผ่านมา การจัดการทางสังคมเน้นไปที่การค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ตอนนี้ เยาวชนที่คิดอยากเป็นผู้ประกอบการทางสังคม ต้องหันมาคำนึงถึงงานดีไซน์ที่เป็นประโยชน์ด้วย นั่นหมายถึงการสร้างอย่างเข้าใจผู้ใช้งาน มีวิธีแก้ที่มีศักยภาพ รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านั่นจะเกิดขึ้นได้ เยาวชนรุ่นใหม่ต้องฝึกสกิลการช่างสังเกต วิเคราะห์ การพูดคุยเป็นกลุ่ม สัมภาษณ์ และอื่นๆ และอย่าลืมว่า ต้องหมั่นเรียนรู้ และฝึกฝน ทั้งจากตัวเอง ผู้คนรอบข้าง หรือแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่รอบตัวจนกลายเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อที่ในวันข้างหน้า เด็กรุ่นใหม่จะกลายเป็นผู้ประกอบการทางสังคมที่เข้าถึงง่าย มากกว่าผู้เชี่ยวชาญที่ไม่น่าเข้าหา

 

นอกจากการเรียนรู้ และการเตรียมพร้อมด้วยตัวเองแล้ว ยังมีผู้นำทางคนสำคัญอย่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)’ ที่พร้อมช่วยขับเคลื่อนให้เยาวชนไทยก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการทางสังคมที่ดี ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เปิดตัวรายงานเยาวชนกับการเป็นผู้ประกอบการในเอเชียและแปซิฟิก 2561-62 (Youth Entrepreneurship in Asia and the Pacific 2018/19) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Global Entrepreneurship Monitor (GEM) และ Youth Co:Lab เพื่อศึกษากลุ่มเยาวชนอายุ 18-34 ปีและระบุถึงสถานการณ์ผู้ประกอบการเยาวชนในปัจจุบัน รวมถึงระบบนิเวศที่สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการจาก 10 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 


ซึ่งพบว่า มีผู้ประกอบการทางสังคมน้อยที่สุดเพียง 3.8% ของประชากรวัยทำงาน งานครั้งนี้จึงเชิญนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น UNDP ChangeFusion สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และธุรกิจเพื่อสังคม Hostbeehive มาร่วมเสวนาถึงการพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและการสนับสนุนทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่ดี และมีคุณภาพให้กับเยาวชน

อ่านรายงานยาวชนกับการเป็นผู้ประกอบการในเอเชียและแปซิฟิกฉบับเต็มได้ที่: http://pacific.undp.org/…/youth-entrepreneurship-in-Asia-Pa…

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779