• Published Date: 04/01/2022
  • by: UNDP

โบกรถไอติมทันแบบไม่ต้องนัดล่วงหน้า! กับนวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำโดยเยาวชนไทย

 

“หาบเร่-แผงลอย” เป็นประเด็นใหญ่ในสังคมไทยที่ถูกพูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายครั้งที่ผู้ประกอบอาชีพนี้รุกล้ำพื้นที่สาธารณะ และสร้างมลพิษในเมืองไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่ทีม Carter กลับมองว่าบริการเหล่านี้ล่ะที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ พวกเขาเห็นอะไรจากตรงนี้ ปัจจัยไหนที่จะช่วยลดช่องว่างทางสังคมได้อย่างยั่งยืน?

 

เรามีนัดพูดคุยกับ แซก–ศุภวุฒิ แพร่แสงเอี่ยม เยาวชนตัวแทนของทีม Carter เกี่ยวกับโปรเจกต์ของพวกเขาในโครงการ Youth Co:Lab 2021 ที่เพิ่งจะผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายและมีโอกาสได้พัฒนาเรื่องที่สนใจให้เป็นจริง เขาเล่าว่า Carter มาจากคำว่า Cart ที่แปลว่ารถเข็นโดยเติม er ต่อท้ายเพื่อให้เห็นว่ามีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกิจกรรมนั้น แซกบอกว่าเขากับทีมจะทำแอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อให้มากขึ้น

 

ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าร้านค้าแบบหาบเร่แผงลอยคือปัญหาเรื้อรัง แต่ชาวต่างชาติกลับมองว่าเมืองไทยมีอัตลักษณ์ทางอาหารที่หลากหลายและเด่นชัด โดยเฉพาะสตรีทฟู้ดที่ถูกอกถูกใจนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ในทางสังคมศาสตร์ แซกมองว่าร้านอาหารประเภทนี้จำหน่ายอาหารในราคาถูกและช่วยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถอิ่มท้องโดยไม่ต้องจ่ายเงินเยอะเกินความจำเป็น ในอีกทางผู้ขายก็ไม่ต้องลงทุนเยอะเพื่อมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ซึ่งคน 2 กลุ่มนี้กำลังเกื้อกูลซึ่งกันและกันอยู่ หากวันหนึ่งสินค้าแบบหาบเร่-แผงลอยหายไป ก็คงมีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน

 

แต่ทีม Carter ก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อประเด็นพื้นที่สาธารณะ แซกอธิบายว่าภารกิจของทีมมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือสร้างการมีส่วนร่วมของทุกคน ร้านค้าต้องสะอาด ปลอดภัย มีมาตรฐาน และผู้ขายต้องก้าวทันโลก เพราะบริการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่มักผูกติดร้านค้าซึ่งมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง ทำให้ผู้ขายแบบหาบเร่-แผงลอยหมดสิทธิเข้าระบบและต้องขายในวิถีเดิมต่อไป ปัจจุบันกรุงเทพฯ อนุญาตให้ร้านค้าเหล่านี้ขายในตลาดและพื้นที่ผ่อนผัน แต่ขายเร่ขายไปเรื่อยก็ยังคงมีประเด็นอยู่ตลอดอย่างที่เห็นกรณีรถไอศครีมที่ถูกจับและปรับไปก่อนหน้านี้ แซกมองว่าพวกเขาเป็นแรงงานนอกระบบ ไม่ได้รับการดูแล ขึ้นทะเบียนผู้ค้าไม่ได้ และถูกกำจัดให้หมดโดยไม่เคยมีกระบวนการมีส่วนร่วม ผู้มีอำนาจรัฐอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีคนจนเมืองที่เฝ้ารอการมาถึงของร้านค้าประเภทนี้อยู่ทุกวัน

 

 

Carter จึงเป็นแอปพลิเคชันที่แมตช์กลุ่มเปราะบางทางสังคมทั้ง 2 นี้ให้มาเจอกันได้ง่ายขึ้น หลักการทำงานง่ายๆ ก็คือเป็นแพลตฟอร์มติดตามร้านค้าหาบเร่แผงลอยว่าตอนนี้เดินทางถึงไหนแล้ว หรือมีจุดขายตรงไหนบ้างในหนึ่งสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถสั่งจองหรือซื้อสินค้าได้ล่วงหน้า หรือดักรอร้านค้าเมื่อเห็นในแผนที่ว่ากำลังจะมาถึงจุดหมาย เขามองว่าเราควรใช้โอกาสนี้ที่ประชาชนมีความรู้เรื่องดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นจากการใช้โครงการรัฐต่าง ๆ มาสร้างให้เกิดประโยชน์ ปัญหาที่ทีมกังวลจึงไม่ใช่เรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่คือความยั่งยืนของแอปพลิเคชัน ซึ่งมีผู้ใช้เป็นตัวแปรสำคัญ พวกเขาจึงตั้งเป้าหมายย่อยเพื่อเริ่มทดลองใช้นวัตกรรมนี้ และประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้เห็นถึงคุณค่าของร้านหาบเร่แผงลอยในเวลาเดียวกัน

 

สมาชิกในทีมทั้ง 5 คนจะแบ่งหน้าที่และขอบเขตในการทำงานอย่างชัดเจน โดยมีทั้งฝั่งพัฒนาแอปพลิเคชัน มาร์เก็ตติ้ง และฝั่งที่ทำเรื่องประเด็นสังคมซึ่งมีการประสานความร่วมมือไปกับหน่วยงาน NGO บางแห่งเพื่อขอข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญ แซกบอกกับทีมเสมอว่าถ้าไม่ได้เข้ามาในโครงการ Youth Co:Lab ก็คงไม่มีทางที่โปรเจกต์จะเป็นรูปเป็นร่างได้ขนาดนี้ เพราะจากแต่ก่อนที่มุ่งเน้นทำแต่ประเด็นสังคมเพียงอย่างเดียว แต่หลังจากผ่านการเทรนนิ่งมาแล้ว ทำให้เขาเข้าใจการสร้างธุรกิจทางสังคมที่ยั่งยืนซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของทีมมาก ๆ เพราะพวกเขาเองก็ไม่อยากทิ้งใครไว้ข้างหลัง และโครงการ Youth Co:Lab ยังเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำตลอดการทำกิจกรรม

 

เมื่อถามถึงตัวชี้วัดและแผนการทำงานในอนาคต แซกยอมรับว่าภาพทั้ง 2 อย่างยังไม่ชัดเจน เพราะเรื่องหาบเร่แผงลอยเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก พวกเขากำหนดขอบเขตในการดำเนินงานออกเป็น 4 เฟสด้วยกัน โดยช่วงแรกจะเน้นไปที่การสร้างระบบที่ง่ายต่อการใช้และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้ได้มากที่สุด เขายังไม่สามารถตอบได้อย่างแน่ใจว่าผลตอบรับในระยะยาวจะเป็นอย่างไร แต่ก็จะมี KPI ของกลุ่มกำหนดไว้ว่าควรได้ร้านค้าและผู้ใช้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละเดือน ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ได้ทำเสร็จในทีเดียว ยิ่งเป็นโปรเจกต์ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมด้วยแล้ว การปรับเปลี่ยนแผนก็เป็นเรื่องธรรมดา

 

ในฐานะที่พวกเขาเป็นแค่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งมาพูดถึงประเด็นที่ใหญ่มาก แซกมองว่าคงจะหาทีมแบบนี้ที่ไหนไม่ได้อีกแล้วที่ทุกคนมองเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมในสังคม นี่ไม่ใช่การทำสตาร์ทอัพธุรกิจเพื่อหากำไร แต่คือธุรกิจเพื่อสังคมที่กำไรโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังต่างหาก ทุกคนตั้งเป้าหมายไปไกลกว่านั้น สิ่งที่พวกเขาลงมือทำอยู่ตอนนี้คือการสร้าง Prototype และคอนเท้นท์ที่จะทยอยปล่อยออกมา รวมถึงการหา Worst Case Scenario ต่างๆ เพื่อคาดการณ์ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง เขาบอกว่าพื้นที่ในอุดมคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีกระบวนการมีส่วนร่วมเท่านั้น ภาพยูโทเปียคือทุกคนคุยกันได้ และอยู่ร่วมกันได้อย่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

 

ติดตามการทำงานของทีม Carter ได้ที่เฟซบุ๊ก Carter – เเอปพลิเคชันหาบเร่เเผงลอย 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779