• Published Date: 04/01/2022
  • by: UNDP

‘ซะกาตออนไลน์’ แพลตฟอร์มภาษีสังคมตามหลักอิสลามรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดช่องว่างในสังคม

 

นี่คือครั้งแรกที่โครงการ Youth Co:Lab จัดแบบออนไลน์ 100% เพื่อปฏิบัติตามมาตรการลดการเดินทางและลดการสัมผัสภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงรุกรานบางพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤตที่ทุกคนล้วนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เราพบว่ามีแสงสว่างทางโอกาสสว่างวาบขึ้นมา นั่นก็คือผู้ร่วมที่มีข้อจำกัดในการเดินทางสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งได้โดยผ่านกระบวนการเทรนนิ่งและติดตามผลแบบออนไลน์ เราจะเห็นว่าในปี 2021 นี้มีเยาวชนผู้พิการทางสายตาเข้ามาร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน รวมถึงเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายด้วยโปรเจกต์ “แพลตฟอร์มระบบซะกาตออนไลน์ครบวงจร” โดยตั้งใจจะลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างเป็นระบบ

 

สภาพสังคมที่แตกต่างกันถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน ชาวไทยพุทธนิยมทำบุญตามจิตศรัทธา แต่วิถีของชาวสุลิมนั้นแตกต่างกันออกไป “ซะกาต” ทานภาคบังคับ หรือภาษีสังคมตามหลักศาสนาอิสลาม คือหนึ่งในหลักปฏิบัติที่ชาวมุสลิมต้องทำเมื่อมีทรัพย์สินส่วนเกิน ในประเทศไทยชาวไทยมุสลิมจะจ่ายซะกาตจำนวน 2.5% จากทรัพย์สินส่วนตัวที่มี และการให้นั้นต้องตรงตามเกณฑ์ที่ศาสนาได้กำหนดเอาไว้แล้วจำนวน 8 กลุ่ม ซึ่งปกติการจ่ายซะกาตสามารถปฏิบัติได้เองหรือมอบให้องค์กรบริหารจัดการซะกาตเพื่อดำเนินการให้ แต่ในช่วงที่ไวรัสระบาดหนัก การเดินทางไปจ่ายซะกาตก็ถือเป็นภาระทางความเสี่ยงอีกประเภทหนึ่ง ในทางตรงกันข้าม ก็มีผู้คนเดือดร้อนจากการขาดรายได้ที่กำลังเฝ้ารอความช่วยเหลือจากองค์กรบริหารจัดการซะกาตอยู่เช่นกัน

 

เยาวชนชาวมุสลิมรู้สึกว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยพัฒนาระบบการบริหารจัดการซะกาตให้มีความทันสมัยมากขึ้น และลดความยากจนตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงรวมตัวกันพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเปลี่ยนการบริหารจัดการซะกาตแบบออฟไลน์ให้เป็นแบบออนไลน์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อหันกลับไปดูบริบทในพื้นที่แล้วยังต้องอาศัยทรัพยากรในการพัฒนาระบบอีกมาก พวกเขาเล่าให้ฟังว่าแพลตฟอร์มนี้มีอยู่แล้ว ซึ่งจัดทำโดยสมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ มีเพียงระบบคำนวณซะกาตประเภทต่างๆ ยังขาดงบประมาณในการพัฒนาให้เป็นแพลตฟอร์มระบบซะกาตครบวงจรตามที่ตั้งใจไว้

 

เมื่อถามว่าแล้วสิ่งนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร พวกเธอจึงอธิบายให้เห็นทัศนียภาพทางสังคมที่ไม่เคยมีแหล่งข้อมูลจัดเก็บผู้มีสิทธิได้รับซะกาตอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบองค์กรบริหารจัดการซะกาตอย่างโปร่งใส เนื่องจากองค์กรบริหารจัดการซะกาตไม่แสดงงบการเงินต่อสาธารณะ ทำให้ผู้จ่ายซะกาตขาดความเชื่อมั่นและเลือกที่จะจ่ายซะกาตเองโดยไม่ผ่านองค์กร อาจเป็นเพราะทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ว่าผู้รับซะกาตเป็นผู้มีสิทธิรับซะกาตตามเกณฑ์ที่ศาสนาอิสลามกำหนดหรือไม่ บางกรณีเกิดการจ่ายซะกาตซ้ำซ้อน ทำให้ซะกาตไม่ถูกกระจายไปอย่างกว้างขวางตามที่ควรจะเป็น ซึ่งแพลตฟอร์มนี้สร้างเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยที่ผู้จ่ายซะกาตสามารถคำนวณและจ่ายซะกาตออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มได้ ผู้ขอรับซะกาตสามารถยื่นขอรับซะกาต ตรวจสอบสถานะการอนุมัติและยืนยันการรับสวัสดิการซะกาตออนไลน์ได้ ส่วนองค์กรก็สามารถบริหารจัดการซะกาตออนไลน์โดยผ่านสองระบบคือ ระบบสำนักงานใหญ่และระบบสาขาในชุมชน มีการแสดงงบการเงินต่อสาธารณชน และที่สำคัญมีระบบฐานข้อมูลผู้รับซะกาต (Zakat Recipients Map and Analytics Platform: ZRMAP) เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาผู้รับซะกาตแบบชี้เป้า

 

แพลตฟอร์มเช่นนี้จะช่วยตอบคำถามสี่ประเด็น คือ 1) ผู้มีสิทธิรับซะกาตอยู่ที่ไหนและ 2) มีจำนวนกี่คนในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน 3) เขาต้องการการสนับสนุนด้านใด และ 4) หลังจากเขาได้รับเงินซะกาต 1 ปี เขามีสถานะพึ่งพาตนเองได้และหลุดพ้นจากผู้มีสิทธิรับซะกาตกี่คน เช่นนี้จะทำให้องค์กรบริหารจัดการซะกาตสามารถออกแบบนโยบายหรือโครงการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ เช่น สวัสดิการส่งเสริมอาชีพ ทุนการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหารรายเดือน ค่าสร้างซ่อมเช่าบ้าน ปลดหนี้ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง และ ค่าเทคโนโลยีและสื่อสาร เป็นต้น การแก้ปัญหาและแจกจ่ายซะกาตจะตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น แก้ปัญหาผู้รับซะกาตซ้ำซ้อน เพราะมีระบบติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลผู้รับซะกาตรายครัวเรือนหรือบุคคลรายเดือนในระยะเวลา 1 ปี เพื่อพัฒนาผู้รับซะกาตและยกระดับคุณภาพชีวิตให้หลุดพ้นจากผู้รับซะกาตและเป็นผู้จ่ายซะกาตต่อไป

 

 

“แพลตฟอร์มระบบซะกาตออนไลน์ครบวงจร” จึงเริ่มต้นจากประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในวงล้อมแห่งความเหลื่อมล้ำ สมาชิกในทีมได้วางแผนอย่างเป็นระบบโดยประสานกับคณะกรรมการมูลนิธิ 3 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดยะลาเพื่อนำร่องใช้แพลตฟอร์มระบบซะกาตออนไลน์ต้นแบบในการบริหารจัดการซะกาตของมูลนิธิ โดยที่ผู้ขอรับซะกาตสามารถยื่นขอรับซะกาตออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต้นแบบกับมูลนิธิได้ อาสาสมัครของมูลนิธิจะลงพื้นที่เพื่อคัดกรองผู้มีสิทธิรับซะกาตที่ผ่านเกณฑ์เพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติสวัสดิการซะกาต

 

ในอีกทาง ผู้จ่ายซะกาตก็สามารถติดตามการลงพื้นที่เพื่อส่งมอบสวัสดิการแก่ผู้มีสิทธิรับซะกาตและงบการเงินของมูลนิธิผ่านแพลตฟอร์มได้ และในการเข้าร่วมโครงการ Youth Co:Lab ครั้งนี้ ทางทีมได้ตั้งเป้าหมายในการวัดผลผู้มีสิทธิได้รับซะกาต 3 กลุ่มด้วยกัน คือ คนขัดสน คนยากจน และมุสลิมใหม่ และยังตั้งเป้าว่าหลังจากการพัฒนาแพลตฟอร์มแล้ว จะมีคนเข้ามาจ่ายซะกาตแบบออนไลน์มากขึ้นไม่เฉพาะแต่คนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยี แต่หมายถึงคนทุกกลุ่มซึ่งประเมินได้ว่าการพัฒนาประสบความสำเร็จจริงๆ

 

ทางทีมย้ำว่าการจ่ายซะกาตเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ เงินที่ได้รับจากการจ่ายซะกาตสามารถแปรเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาของเด็กๆ อาหารที่มีคุณภาพของทุกคนในครอบครัว หรือสารตั้งต้นในการประกอบอาชีพเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นจากวัฏจักรของความยากจน เพราะในเมื่อซะกาตเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจนในหลักศาสนาอิสลามที่ได้กำหนดให้ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติแล้ว ก็ควรจะทำให้กิจวัตรนี้ส่งผลกระทบต่อคนมากที่สุด พวกเขายังย้ำอีกว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ระบบที่ดีจะไม่มีความหมายเลยหากไม่มีคนเข้ามาใช้หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไม่ได้ ยังมีอุปสรรคอย่างอื่นที่ต้องแก้ ไม่ใช่แค่ทีมเยาวชนอย่างเดียว แต่รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในหน่วยงานต่างๆ เช่น การยกเลิกลงทะเบียนแบบกระดาษ ข้อมูลที่ซ้ำซ้อน และการแสดงผลของทั้ง 2 ฝั่งอย่างเรียลไทม์ ทั้งหมดต้องอาศัยทรัพยากรทั้งเงินสนับสนุนและแรงงานผู้ดูแลระบบ แต่พวกเธอก็เชื่อว่านี่คือการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเราทุกคนจะเห็นว่ามีผู้ได้รับผลประโยชน์จริงๆ 

 

ปัจจุบันมีผู้เข้าชมแพลตฟอร์มประมาณ 5,321 คน และมีผู้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการจ่ายซะกาตแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นชาวมุสลิมที่ไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งระบบสามารถอำนวยความสะดวกในการคิดคำนวณซะกาตที่ต้องจ่ายได้อย่างรวดเร็ว พวกเธอหวังว่าเมื่อไหร่ที่ระบบมีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้มีคนเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดีต่อชีวิตของชาวมุสลิม และส่งผลกระทบถึงคนทั้งประเทศแน่นอน

 

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับซะกาตและเข้าไปเยี่ยมชมแพลตฟอร์มได้ที่นี่

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779