• Published Date: 16/07/2020
  • by: UNDP

มารู้จัก 4 นวัตกรรมเพื่อสังคมในช่วงโควิด

โควิด-19 ได้สร้างผลกระทบในแทบทุกมิติและนับเป็นวิกฤตที่รุนแรงที่สุดอันหนึ่งในชั่วชีวิตสำหรับใครหลายคน อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่มีหลายอย่างให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย

นวัตกรรมทางสังคมหลายอย่างจึงได้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นในช่วงนี้ โดยมีตั้งแต่ระดับง่าย ๆ อย่างการผลิตฉากกั้นใช้สำหรับกิจกรรมที่คนจำนวนมากอาจจำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกัน การให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องการป้องกันและดูแลตัวเอง ไปจนถึงนวัตกรรมล้ำ ๆ ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายอย่างใช้งานได้จริง บางอย่างที่ไม่ตอบโจทย์ก็เริ่มหายไปพร้อมกับสถานการณ์ที่ยังคงดำเนินต่อไป

นวัตกรรมทางสังคมหลายอย่างเริ่มจากการมองปัญหาที่เกิดขึ้นและคิดหาทางออก บ้างก็ต่อยอดจากต้นทุนธุรกิจหรือความรู้เดิมที่แต่ละคนมีอยู่ บางอันทำเป็นการกุศล และอีกหลายอันต่อยอดทำเป็นธุรกิจได้จริง

บทความนี้จะพาไปรู้จักนวัตกรรมจากทั่วโลกที่ครอบคลุมหลายประเด็นเกี่ยวเนื่องกับโควิด-19

 

  1. Crisis Text Line-ส่งข้อความยามมีเรื่องทุกข์ใจ

การสื่อสารผ่านข้อความคือวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทางยุโรปและอเมริกาเหนือ  นอกจากจะเป็นเพราะค่าบริการส่งข้อความค่อนข้างถูกแล้ว ลักษณะเด่นของการส่งข้อความอย่างความไร้เสียง สื่อสารได้แม้สถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ Crisis Text Line เห็นโอกาสในการให้บริการนี้

Crisis Text Line ตั้งใจจะเป็นช่องทางให้ผู้ที่มีปัญหากังวลใจ โดยเฉพาะวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้นส่งข้อความมาถามไถ่พูดคุย โดยหวังว่าเมื่อบทสนทนาจบผู้ที่ตัดสินใจใช้บริการจะรู้สึกผ่อนคลายลงได้

แม้ว่าบริการนี้จะเปิดตัวตั้งแต่ปี 2013 แต่ในช่วง Covid-19 นี้ Crisis Text Line ได้รับข้อความมากขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ปัญหาที่คนส่วนใหญ่พิมพ์เข้ามามีตั้งแต่ความเหงา ความกังวล ความเครียด ไปจนถึงความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ท่ามกลางข้อความที่อาจเข้ามาพร้อมกันหลายร้อยข้อความ Crisis Text Line ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสกรีนและจัดความสำคัญในการส่งข้อความกลับและพูดคุย เช่น หากมีข้อความที่ส่งมาเกี่ยวกับกินยานอนหลับหลายเม็ดอาจเป็นไปได้ว่าเขาคิดฆ่าตัวตาย ข้อความลักษณะนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องการการตอบกลับอย่างรวดเร็ว ส่วนข้อความที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์หรือความรู้สึกเหงาก็จะจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความรีบเร่งน้อยกว่า

ผู้ที่รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาตอบข้อความล้วนแต่เป็นอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมออนไลน์ในหลากหลายทักษะ เช่น การฟัง การแก้ปัญหา ทั้งนี้มีเพียง 30% ของผู้ที่เข้ารับการอบรมเท่านั้นที่ได้ทำงานจริง เพราะเรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนสูงมาก ในขณะเดียวกันอาสาสมัครเหล่านี้ก็มีนักจิตวิทยามืออาชีพและนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้สนับสนุนและช่วยเหลืออีกต่อหนึ่ง

Crisis Text Line เปิดเผยว่าข้อความที่ได้รับในช่วง โควิด-19 มีประเด็นที่แตกต่างออกไปในแต่ละช่วงเวลา ในช่วงแรกคนส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับตนเองหรือครอบครัวจะติดเชื้อ ถัดมาเป็นความกังวลจากการล็อกดาวน์และการรักษาระยะห่างทางกายภาพ ซึ่งทาง Crisis Text Line คาดว่าปัญหาถัดมาจะเป็นเรื่องความไม่เท่าเทียม (ในสหรัฐอเมริกา) เนื่องจากสัดส่วนของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่เป็นคนผิวดำนั้นสูงกว่า อีกทั้งยังเริ่มได้รับข้อความจากชาวแอฟริกันอเมริกันที่แสดงถึงความเศร้าโศกเสียใจมากขึ้นเรื่อยๆ

จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ Crisis Text Line มีแผนที่จะขยายการให้บริการในภาษาสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศสและอาราบิกภายในปี 2022 จากที่เดิมให้บริการเพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งประชากรที่ใช้ภาษาเหล่านี้คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก

 

  1. Bike2Box – ไปทำงานอย่างไร้กังวลทั้งเรื่องโควิดและเรื่องที่จอด

Bike2Box เป็นบริษัทสัญชาติโปแลนด์ที่ผลิตที่จอดจักรยานหลากหลายรูปแบบ บริษัทนี้ก่อตั้งโดยผู้รักการปั่นจักรยานโดยมีเป้าหมายที่ไกลกว่าแค่การทำธุรกิจ แต่คือการร่วมสร้างวัฒนธรรมจักรยานให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ส่วนเหตุผลที่พวกเขาหันมาทำธุรกิจด้านนี้ก็เพราะใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมกับจักรยานเป็นหลัก

พอโควิด-19 มาเยือน ต่อเนื่องถึงปัจจุบันที่ที่ทำงานหลายแห่งเริ่มกลับเข้าออฟฟิศกันเป็นปกติ ทาง Bike2Box จึงเห็นโอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยทำที่จอดจักรยานที่ติดตั้งสะดวก รวดเร็ว เคลื่อนย้ายได้และมีเงื่อนไขการใช้บริการที่ไม่ซับซ้อนวุ่นวาย โดยอุปกรณ์ 1 เซ็ตมีขนาดเท่ากับที่จอดรถยนต์ 1 คัน และรองรับจักรยานได้ถึง 12 คัน ทั้งนี้ Bike2Box มองออฟฟิศเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

ไอเดียนี้ต่อยอดมาจากการที่คนยังรักษาระยะห่างทางกายภาพอยู่ ทำให้คนที่พอจะมีทางเลือกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ และจักรยานก็กลายเป็นหนึ่งในยานพาหนะที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับช่วงที่ผ่านมาถนนเงียบบางประเทศก็ปรับสภาพถนนให้เป็นเลนจักรยานชั่วคราว

นวัตกรรมนี้ตั้งใจจะให้การปั่นจักรยานไปยังที่ต่างๆ เกิดขึ้นได้จริงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ลืมที่จะใส่ใจความปลอดภัยในช่วงโควิด และสนับสนุนให้วัฒนธรรมจักรยานเกิดขึ้นจริงในระยะยาว

 

  1. #coronasolutions – สื่อสารเรื่อง Covid-19 ผ่านสินค้าที่คุ้นเคย

แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแพร่หลายในปัจจุบันและมีผู้คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนจำนวนไม่น้อยบนโลกที่ยังเข้าไม่ถึงบริการนี้ ข้อมูลจาก International Telecommunication Union ระบุว่าในปี 2019 ประชากรโลก 53.6% หรือประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

นักออกแบบชาวโคลัมเบีย 2 คนที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในโตเกียวตระหนักถึงเรื่องนี้ อีกทั้งยังรู้ดีว่าการใส่หน้ากากอนามัยมีประโยชน์เพียงใดในสถานการณ์แบบนี้ การใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นและใกล้ชิดคนญี่ปุ่นฝึกให้พวกเขาเข้าใจความจำเป็นของหน้ากากอนามัย อย่างไรก็ตามในประเทศที่ไม่ได้มีวัฒนธรรมสวมหน้ากากอนามัยก็มักเรียนรู้เกี่ยวกับการใส่หน้ากากจาก online campaign เป็นส่วนใหญ่

เมื่อคิดถึงพื้นที่อื่นของโลกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงโคลัมเบียบ้านเกิดของสองนักออกแบบ คนจะรู้จักการใส่หน้ากากอนามัยเป็นอย่างดีได้อย่างไร หากเขาเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ทั้งสองจึงนึกถึงสินค้าอุปโภคบริโภคที่เข้าถึงคนหลากหลายอย่างข้าวสารหรือกระป๋องน้ำอัดลมให้เป็นตัวกลางพาข้อความสำคัญนี้ไปยังคนอีกมากมาย ผ่านการทำกราฟฟิกเข้าใจง่ายแปะลงบนฉลากสินค้าเหล่านั้น เนื้อหาในฉลากประกอบไปด้วยการทำหน้ากากด้วยตัวเอง ไปจนถึงวิธีการล้างมือและดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากไวรัส

โปรเจ็กต์นี้อยู่ระหว่างการหาพาร์ตเนอร์เพื่อทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้

 

  1. Hello Landlord – จ่ายค่าเช่าไม่ไหว ให้เราช่วยสื่อสาร

คนที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาถึง 1 ใน 3 ไม่ได้จ่ายค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากโควิดไม่ทางใดก็ทางหนึ่งซึ่งกระทบต่อรายได้ที่พวกเขาเคยมี

พอดีกับที่รัฐบาลกลางได้อนุมัติกฎหมายที่คุ้มครองการขับไล่ผู้เช่าบ้านบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด (Care Acts) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากบริษัท SixFifty จึงได้คิดทำโปรเจ็กต์ Hello Landlord ขึ้น เพื่อช่วยร่างจดหมายให้แก่ผู้เช่าสำหรับส่งต่อเจ้าของที่ เพื่อของดเว้นการขับไล่เนื่องจากไม่ได้จ่ายค่าเช่า เพราะยังมีอีกหลายคนที่อาจไม่ทราบข้อกฎหมายนี้ หรืออาจสื่อสารเองได้ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก

ใจความในจดหมายมีสองประเด็นหลัก คือ 1.อธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้านได้ในช่วงนี้ และ 2. กฎหมายไม่อนุญาตให้เจ้าของบ้านไล่ผู้เช่าออกในช่วงนี้

ผู้เช่าบ้านที่ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้าน สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ เพียงพิมพ์เหตุผลและสถานการณ์ที่ตนเองเผชิญ ที่เหลือทาง Hello Landlord จะออกจดหมายฉบับสมบูรณ์ให้โดยผ่านระบบที่ตั้งค่าไว้โดยอัตโนมัติ

Hello Landlord บอกว่ากว่าแพลตฟอร์มนี้จะสำเร็จ พวกเขาได้ทดลองร่างจดหมายโดยใช้โทนของภาษาที่หลากหลาย เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่กระทบความสัมพันธ์ของผู้เช่าและเจ้าของบ้านในระยะยาว อีกทั้งยังใช้ความรู้เฉพาะทางด้านกฎหมายที่พวกเขามีในการสื่อสารและอธิบายเรื่องนี้ให้เข้าใจชัดเจนที่สุด

แหล่งข้อมูล:

https://www.voanews.com/covid-19-pandemic/text-message-crisis-help-line-speeds-expansion-amid-pandemic
https://www.crisistextline.org/data/bobs-notes-on-covid-19-mental-health-data-on-the-pandemic/

https://www.covidinnovations.com/home/02072020/polish-company-bike2box-introduces-temporary-bicycle-parking-boxes-to-meet-growing-demand-post-lockdown

https://bike2box.com/

https://www.instagram.com/tv/B_lGidGlfvM/?utm_source=ig_embed

https://www.fastcompany.com/90488239/cant-pay-rent-because-of-the-coronavirus-this-site-will-help-you-explain-your-rights-to-your-landlord

https://app.hellolandlord.org/

Keywords: , , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779