• Published Date: 12/08/2021
  • by: UNDP

เรื่องราวที่ไม่ถูกเล่าของเยาวชนชาติพันธุ์ ณ วงสนทนากับเยาวชนชาติพันธุ์ เนื่องในวันเยาวชนสากล 2021

 

ณ วงสนทนากับเยาวชนชาติพันธุ์ เนื่องในวันเยาวชนสากล 2021

จำนวนหนึ่งในสามของประชากรทั่วโลกในปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่หลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศไว้ว่าจะบรรลุให้ได้ในปี 2030 หรือ อีกเพียงแค่ประมาณ 10 ปีนับจากนี้ นั้นก็คงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากว่าเราจะไม่นับรวมกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอนาคต

และถึงแม้ว่าเราสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ทั้ง 17 ข้อ จะถือว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เกิดขึ้นแล้วจริงหรือไม่? อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ เพราะแก่นของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ผลลัพธ์อย่างเดียวว่าเราพัฒนา “อะไร” แต่รวมไปถึงว่าเราจะพัฒนา “อย่างไร” สิ่งสำคัญมากกว่าคือเราควรตั้งคำถามกับกระบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้นว่าสร้างการมีส่วนร่วม และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กับทุกคนหรือไม่? หรือการพัฒนาของเราจะนำไปสู่การทิ้งใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้ข้างหลังหรือเปล่า? “การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” จึงเป็นหัวใจที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน

แล้วใครกันบ้างล่ะ ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง? เราอาจจะนึกถึงคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เข้าไม่ถึงโครงการพื้นฐาน นึกไปถึงคนไร้สัญชาติที่เข้าไม่ถึงสิทธิ สวัสดิการขึ้นพื้นฐาน นึกถึงผู้พิการที่เข้าไม่ถึงการเดินทาง โอกาสทางการศึกษาและอุปกรณ์หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม นึกถึงคนจนเมืองที่เข้าไม่โอกาสทางเศรษฐกิจ หรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ถูกกีดกันในโอกาสการรับบทบาทบางอย่างในสังคม ฯลฯ อะไรที่ทำให้เขาถูกหลงลืมในการพัฒนา?

ปัจจัยพื้นฐานของการถูกกีดกันมักมาจากตัวตนที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็น ชาติพันธุ์ เพศ อายุ ร่างกาย ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม แต่จะว่าไปแล้วทุกคนก็ย่อมมีอัตลักษณ์เหล่านี้อยู่ในตัว เพียงแต่เราเคยนึกถึงปัจจัยเหล่านี้หรือไม่ ว่าปัจจัยอัตลักษณ์ต่าง ๆ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง?

กิจกรรม Online Youth Dialogue on Leave No One Behind เป็นกิจกรรมวงสนทนาเยาวชน 4 วงที่ชวนเยาวชนมารู้จักกับ “กลุ่มเปราะบาง” กลุ่มต่าง ๆ ที่มักถูกสังคมหลงลืมไว้ข้างหลังด้วยอัตลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วงสนทนากับเยาวชนชาติพันธุ์ วงสนทนากับเยาวชนจากชุมชนชายฝั่ง วงสนทนากับเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ และวงสนทนากับเยาวชนพิการ โดยเบื้องหลังของกิจกรรมนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าการสร้างพื้นที่พูดคุย เพื่อทำความรู้จัก เป็นเพื่อนกัน และได้มีพื้นที่ในการถามคำถามเพื่อเข้าใจถึงวิถีชีวิต ตัวตน และความต้องการที่แท้จริง จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การสร้างสังคมที่เข้าถึงทุกคน เนื่องในวันเยาวชนสากล 2021 เราจึงได้นำส่วนหนึ่งของ “วงสนทนากับเยาวชนชาติพันธุ์” มาเผยแพร่ เพื่อชวนทุกคนมารับรู้ “เรื่องราวที่ไม่ถูกเล่า” ของเยาวชนชาติพันธุ์ไปด้วยกัน

 

1. เมื่อชาติพันธุ์มีความเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสัญชาติ จึงนำไปสู่อุปสรรคในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ

เมื่อชาติพันธุ์ไม่เป็นเพียงชาติพันธุ์ แต่มีความเกี่ยวข้องกับอีกปัจจัยหนึ่งคือสัญชาติ เยาวชนชนเผ่าหลาย ๆ คนมักถูกตั้งคำถามในการได้รับสัญชาติ เนื่องจากชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่าง รวมไปถึงที่อยู่อาศัยที่มีความห่างไกล ทำให้หลาย ๆ คนไม่ได้สัญชาติไทยตั้งแต่เกิด แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการขอสัญชาติซึ่งใช้เวลาหลายปี ทำให้เยาวชนชนเผ่าหลายคนต้องอยู่ในสถานะ “บุคคลไร้สัญชาติ” ซึ่งสถานะนี้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงโอกาสอีกหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น สิทธิ สวัสดิการพื้นฐาน ข้อจำกัดในการเดินทาง ในวัยของการคนหาตัวตน เรียนรู้โลกกว้าง แต่พวกเขากลับถูกจำกัดการเดินทางให้อยู่ได้เพียงในจังหวัดที่อยู่อาศัย รวมไปถึงโอกาสในการศึกษาและอาชีพ เมื่อไม่มีสัญชาติ ทำให้ไม่อาจเลือกประกอบอาชีพบางสายงานได้ ถึงแม้จะได้เรียนในสายนั้นก็ตามเยาวชนไร้สัญชาติต้องเผชิญกับการไม่มีตัวตน ไม่มีสิทธิ และไม่มีโอกาสที่จะออกแบบชีวิตที่ตนเองต้องการได้อย่างเต็มที่ แม้จะอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่เกิด

นอกจากนี้การไม่มีสัญชาติยังนำไปสู่ปัญหายิบย่อย ทำให้เยาวชนชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัวในการเข้าสังคม เช่น บางคนไม่มีนามสกุล และต้องตอบคำถามเหล่านี้ซ้ำๆ ว่าทำไมถึงไม่มีนามสกุล ยังไม่รวมไปถึงการถูกเพื่อนล้อ เกิดเป็นความรู้สึกแตกต่าง และถูกด้อยค่าจากการไม่มีสัญชาติ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความรู้สึกของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

นี่คือเรื่องราวที่ “สุชาติ” เยาวชนไทใหญ่บอกเล่าให้กับเพื่อน ๆ ในวงสนทนา แม้วันนี้เขาจะยังไม่ได้รับสัญชาติไทย แม้จะเข้ากระบวนการขอสัญชาติมาแล้วเป็นเวลากว่าสิบปี และยังมีเพื่อนพี่น้องของเขาอีกหลายคนที่ต้องเผชิญปัญหาเดียวกัน แต่สุชาติก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ในการหาทางออก ด้วยการสร้างเพจ “ตี่ตาง” เพื่อเป็นพื้นที่ในการให้ข้อมูลและช่วยเหลือคนไร้รัฐไร้สัญชาติให้เข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ และกระบวนการขอสัญชาติ ด้วยหวังว่าวันหนึ่งคนในสังคมจะรับรู้และเข้าใจประสบการณ์ที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติต้องเผชิญ และมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ เพื่อให้ทุกคนในไทยเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการที่เท่าเทียมมากขึ้น

 

2. เยาวชนชนเผ่ากับวิถีชีวิตแบบ Hybrid

หากพูดถึงชนเผ่า เราอาจจะมีภาพจำของการอยู่อาศัยในชุมชน และมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า แต่รู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว เยาวชนจำนวนมากไม่ได้อยู่อาศัยที่ชุมชนอีกต่อไป นี่เป็นคำบอกเล่าจาก “น้ำ” เยาวชนอาข่าที่บอกกับวงสนทนา น้ำเล่าให้ฟังว่า เธอจำวัยเด็กของเธอได้ที่อาศัยอยู่กับแม่เฒ่าและจำได้ถึงความหลากหลายของพืชพันธุ์ท้องถิ่นในชุมชนที่ถูกเอามารังสรรค์เป็นเมนูต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย แต่เมื่อโตขึ้น เยาวชนชนเผ่าต้องออกจากหมู่บ้านของตนเองเพื่อเข้าสู่การศึกษาในระบบ เมื่อเรียนจบและได้กลับมาที่หมู่บ้านของตนเอง ก็ค้นพบว่าวิถีชีวิตและทรัพยากรท้องถิ่นนั้นหายไปมาก อีกทั้งความเป็นเยาวชนชนเผ่าที่ไปเติบโตในเมือง ก็เป็นความหลากหลายของประสบการณ์ในตัวเองที่ทำให้ต้องกลับมาทบทวนอัตลักษณ์และความเป็นตัวตนของตัวเองในฐานะเยาวชนชนเผ่าเช่นกัน แต่ด้วยความทรงจำวัยเด็กของน้ำที่ผูกพันกับทรัพยากรในท้องถิ่น น้ำจึงตัดสินใจทำกิจกรรม Seed Journey กิจกรรมท่องเที่ยวที่ชวนบรรดาเชฟมาเรียนรู้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นในชุมชน เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน รวมไปถึงเป็นการรังสรรค์เมนูใหม่ ๆ จากทรัพยากรในชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรท้องถิ่น

หากเราพูดถึงเยาวชนชนเผ่าในทุกวันนี้ จึงอาจจะไม่ใช่ภาพจำของเยาวชนที่เติบโตมาในชุมชนแบบแยกขาดจากเมืองอีกต่อไป แต่เป็นเยาวชนที่มีส่วนผสมของการรับรู้รากเหง้าภูมิปัญญาท้องถิ่นและการซึมซับองค์ความรู้ มุมมองและเทคโนโลยีจากประสบการณ์ที่ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง ซึ่งบางครั้งอาจจะนำไปสู่การต้องทบทวนความเป็นตัวตน แต่ขณะเดียวกัน ก็นำไปสู่การประยุกต์และทำให้เกิดการวิวัฒน์ต่อยอดภูมิปัญญาของชนเผ่าให้คงอยู่ต่อไปในบริบทปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน

 

3. กะเหรี่ยงกับวิถีชีวิตที่อาจจะไม่เท่ากับการทำไร่หมุนเวียนและการทอผ้าเสมอไป

หากพูดถึงชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” เราอาจจะนึกถึงวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับของคนกับป่า ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่หมุนเวียน มีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดปี หรือการทอผ้าด้วยมือที่เป็นเอกลักษณ์จากทรัพยากรในชุมชน แต่ “ศิริ” เยาวชนลาวอีสานที่เติบโตมากับครอบครัวกะเหรี่ยงได้มาบอกเล่าในวงสนทนาว่ามันไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป เพราะชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่แม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เป็นชุมชนของพี่ ๆ น้อง ๆ ของเธอนั้นเป็นชุมชนชาติพันธุ์ที่ต้องประสบกับภัยสงครามบริเวณชายแดน ต้องอพยพกันหลายครั้งหลายครา ทำให้ไม่สามารถปักหลักในการทำไร่หมุ่นเวียนดั่งภาพจำที่เรามักคุ้นชินได้ อีกทั้งภูมิประเทศที่เป็นขั้นบันได ก็ไม่เอื้อต่อการทำไร่หมุนเวียน และเมื่อต้องหนีภัยสงครามกันตลอดเวลา ก็ทำให้วิถีชีวิต ภูมิปัญญาเลือนหายไป และทดแทนเข้ามาด้วยปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปากท้อง ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการศึกษา ฯลฯ ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งทำให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วถูกขยายขึ้นไปอีก ศิริและเพื่อนๆจึงทำโครงการผ้าทอสีรุ้ง เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มผู้หญิง นอกจากนี้การออกแบบด้วยสีรุ้งยังเป็นการสร้างการตระหนักเรื่องความหลากหลายทางเพศให้กับคนในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในการทำความเข้าใจอีกด้วย

อย่างไรก็ตามการทำผ้าทอของผู้หญิงแม่สามแลบนั้นก็ไม่ได้ง่าย เนื่องจากผู้หญิงในชุมชนสูญเสียความรู้ในการทอผ้ามานานจากการย้ายถิ่นฐานและเปลี่ยนอาชีพ จึงต้องใช้เวลาอย่างมากในการเริ่มรื้อฟื้น โดยน้องศิริและเพื่อน ๆ ต้องเดินทางไปเรียนรู้วิธีการทอผ้าในชุมชนจังหวัดอื่น ๆ และกลับมาสอนผู้หญิงในชุมชน (ไม่สามารถพาผู้หญิงในชุมชนออกไปดูงานการทอผ้าได้ เพราะผู้หญิงในชุมชนไม่มีสัญชาติจึงทำให้การเดินทางข้ามจังหวัดเป็นเรื่องยาก) แต่ผลผลิตผ้าทอสีรุ้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ทำให้ผู้หญิงในชุมชนมีรายได้ เป็นการหนุนอำนาจให้กับผู้หญิงในครอบครัวให้ทัดเทียมกับผู้ชายที่เป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว อีกทั้งเมื่อมีคนสนใจซื้อผ้าทอสีรุ้งเพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ ก็ทำให้คนในชุมชนตระหนักถึงการเปิดรับความหลากหลายทางเพศในสังคมอีกด้วย

ความเป็นชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ที่ทุกคนต่างก็มีในตนเอง

เรื่องราวเหล่านี้เป็นหนึ่งใน “เรื่องราวที่ไม่ถูกเล่า” ของเยาวชนชนเผ่าที่ถูกนำมาเล่าในวงสนทนากับเยาวชนชาติพันธุ์ ทำให้เยาวชนอื่น ๆ ได้รู้จักกับวิถีชีวิตของเยาวชนในมุมที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ทุกคนยังได้ตั้งวงแลกเปลี่ยนกันถึง “อัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์” ในตัวเอง ว่าอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของแต่ละคนนั้นส่งผลต่อชีวิตประจำวันในเรื่องต่าง ๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อาหาร การเดินทาง การศึกษา สิ่งที่ชอบ ความเชื่อ ความรัก ฯลฯ ซึ่งเราก็ได้เห็นความเป็นชาติพันธุ์ที่ทั้งส่งผลให้เกิดความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในความชอบ ความผูกพันกับวิถีชีวิตหรือการเข้าถึงโอกาส เราค้นพบว่า บางครั้งชาติพันธุ์ที่แตกต่างก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่แบ่งแยกเราจากกัน เราก็ยังมีอาหารบางชนิดที่ชอบเหมือน ๆ กัน มีความสนใจบางอย่างที่แชร์กันอยู่ หรือมีความฝันต่อสังคมที่มองเห็นร่วมกัน

“ความเป็นชาติพันธุ์” นั้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้คนบางกลุ่มถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แต่ถ้าเราตระหนักได้ว่าความเป็นชาติพันธุ์ก็เป็นเพียงอัตลักษณ์หนึ่งที่ทุกคนต่างก็มีในตนเอง หากเราตระหนักถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เราได้รับจากชาติพันธุ์ของเรา เราอาจจะเห็นช่องว่างความไม่เท่าเทียมของการพัฒนาที่เกิดขึ้น และหากเราเข้าใจว่าความหลากหลายของชาติพันธุ์นั้นเป็นเรื่องปกติในสังคม เราอาจจะมองหานวัตกรรมในการพัฒนาที่เข้าถึงทุกคนได้มากขึ้นก็เป็นได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชาติพันธุ์ที่หลากหลายได้ที่ www.you-me-we-us.com

Keywords: , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779