- Published Date: 29/11/2021
- by: UNDP
6 วิธีปฏิบัติต่อคนข้ามเพศ
“ทำไมพูดเรื่องนี้ทีไรแล้วเซนซิทีฟไปหมด”
“ก็ไม่เคยมีใครมาบอก มาสอนเรื่องทรานส์เจนเดอร์นี่”
“แล้วสรุปจะให้ปฏิบัติตัวอย่างไรกับคนข้ามเพศ”
นี่เป็นเพียงคำถามจากบทสนทนาเพื่อปิดท้ายประเด็น “คนข้ามเพศ” ส่วนหนี่งจากการพูดคุยที่คนทั่วไปมักได้ยินเป็นประจำ อันที่จริง ประเด็นเรื่องคนข้ามเพศที่ควรถูกสอนตั้งแต่เนิ่น ๆ ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็เป็นอีกเนื้อหาที่ถูกรัฐไทยมองข้าม อาจด้วยอคติทางเพศและความหวาดระแวงต่อความละเอียดอ่อนของเนื้อหาที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากขาดการใช้งานทั้งงานวิจัยและงานสำรวจเชิงวิชาการที่มีอยู่ในมือ จนกลายเป็นความไม่เข้าใจตามมา
.
#ก็ลืมเรื่องเพศไปสิ – วิธีการแนะนำเช่นนี้เข้าค่ายการลบอัตลักษณ์ (identity erasure) ที่ท้ายที่สุดทำให้ปัญหาเฉพาะตัวทางเพศถูกมองข้ามและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันควัน ผู้หญิงตรงเพศย่อมมีปัญหาเฉพาะตัวบางอย่างที่ไม่เหมือนกับผู้ชายตรงเพศและอัตลักษณ์อื่น ฉะนั้นแล้ว จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเจาะลึกปัญหาของแต่ละอัตลักษณ์โดยเฉพาะ และ ร่วมกันแกัปัญหาก่อนจะปะทุไปมากกว่าที่เป็นอยู่
.
และแล้วก็เดินทางมาถึง ep. สุดท้ายกับซีรีส์ “เยาวชนข้ามเพศ” ในท้ายนี้ ทาง GendersMatter ร่วมกับ UNDP Thailand เนื่องในสัปดาห์แห่งการรับรู้ตัวตนคนข้ามเพศ (Transgender Awareness Week) โดยในวันนี้จะเป็นการแนะนำ “6 วิธีปฏิบัติต่อคนข้ามเพศ” ได้แก่
.
1. เคารพสรรพนามของคนข้ามเพศ ไม่เรียกชื่อเดิม
2. เคารพการใช้พื้นที่สาธารณะของคนข้ามเพศ
3. หยุดเลือกปฏิบัติกับคนข้ามเพศ
4. ช่วยรณรงค์กฎหมายที่เกี่ยวกับ LGBTQ+
5. อะไรที่ไม่กล้าถามคนตรงเพศ ก็อย่าถามคนข้ามเพศ
6. รับฟังให้มากขึ้น
1. เคารพสรรพนามของคนข้ามเพศ ไม่เรียกชื่อเดิม
.
โดยทั่วไป พ่อและแม่มักจะตั้งชื่อลูกโดยไม่ได้คำนึงว่าลูกอาจเป็นคนข้ามเพศ และเมื่อชื่อและสรรพนามเดิมยึดโยงกับเพศกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริง ก็อาจจะกระตุ้นสะกิด (trigger) ให้คนข้ามเพศบางคนหวนคิดถึงวันวานซึ่งอาจเป็นความทรงจำอันเลวร้ายได้
.
นอกจากนี้ การเรียกชื่อและสรรพนามใหม่ยังถือเป็นการให้เกียรติและยอมรับตัวตนที่คนข้ามเพศเป็นอยู่ ถือเป็นการเคารพต่อหลักการกำหนดตัวตน (autonomy) ที่ว่าไม่มีผู้ใดสามารถกำหนดและบอกได้ว่าตัวเราคือใคร หากแต่เป็นตัวเราเองเท่านั้นที่จะบอกเล่าได้ว่า แท้จริงแล้ว เราเป็นใครและมีอัตลักษณ์อย่างไร
.
โดยทั่วไป พ่อและแม่มักจะตั้งชื่อลูกโดยไม่ได้คำนึงว่าลูกอาจเป็นคนข้ามเพศ และเมื่อชื่อและสรรพนามเดิมยึดโยงกับเพศกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริง ก็อาจจะกระตุ้นสะกิด (trigger) ให้คนข้ามเพศบางคนหวนคิดถึงวันวานซึ่งอาจเป็นความทรงจำอันเลวร้ายได้
.
นอกจากนี้ การเรียกชื่อและสรรพนามใหม่ยังถือเป็นการให้เกียรติและยอมรับตัวตนที่คนข้ามเพศเป็นอยู่ ถือเป็นการเคารพต่อหลักการกำหนดตัวตน (autonomy) ที่ว่าไม่มีผู้ใดสามารถกำหนดและบอกได้ว่าตัวเราคือใคร หากแต่เป็นตัวเราเองเท่านั้นที่จะบอกเล่าได้ว่า แท้จริงแล้ว เราเป็นใครและมีอัตลักษณ์อย่างไร

2. เคารพการใช้พื้นที่สาธารณะของคนข้ามเพศ
.
#ห้องน้ำกับคนข้ามเพศ – เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่โด่งดังมาก หลายคนแสดงความเห็นต่อต้านโดยกลัวว่าจะมีคน “แฝง” ตัวโดยอ้างว่าเป็นคนข้ามเพศเพื่อเข้าไปใช้ห้องน้ำของเพศตรงข้ามเพื่อคุกคาม จริง ๆ แล้ววิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดที่แฝงอคติทางเพศอยู่ว่า เพศหนึ่ง ๆ เป็นเพศที่รุนแรงและมีแนวโน้มจะทำลายเพศอื่น
.
อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยที่คุ้นชินกับคนข้ามเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงข้ามเพศ จึงถือเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะไม่สามารถพูดได้ว่า ใครเป็นคนข้ามเพศจริง และ ใครแค่แสดงเป็นคนข้ามเพศ นอกจากนี้ เรื่องการคุกคามก็สามารถเกิดได้กับทุกเพศทั้งในฐานะผู้คุกคามและผู้ถูกคุกคาม การกีดกันไม่ให้คนข้ามเพศใช้พื้นที่สาธารณะตามที่เขาเหล่านั้นสบายใจจึงน่าจะมาจากอคติต่อบุคคลข้ามเพศเสียมากกว่า
.
#ห้องน้ำกับคนข้ามเพศ – เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่โด่งดังมาก หลายคนแสดงความเห็นต่อต้านโดยกลัวว่าจะมีคน “แฝง” ตัวโดยอ้างว่าเป็นคนข้ามเพศเพื่อเข้าไปใช้ห้องน้ำของเพศตรงข้ามเพื่อคุกคาม จริง ๆ แล้ววิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดที่แฝงอคติทางเพศอยู่ว่า เพศหนึ่ง ๆ เป็นเพศที่รุนแรงและมีแนวโน้มจะทำลายเพศอื่น
.
อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยที่คุ้นชินกับคนข้ามเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงข้ามเพศ จึงถือเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะไม่สามารถพูดได้ว่า ใครเป็นคนข้ามเพศจริง และ ใครแค่แสดงเป็นคนข้ามเพศ นอกจากนี้ เรื่องการคุกคามก็สามารถเกิดได้กับทุกเพศทั้งในฐานะผู้คุกคามและผู้ถูกคุกคาม การกีดกันไม่ให้คนข้ามเพศใช้พื้นที่สาธารณะตามที่เขาเหล่านั้นสบายใจจึงน่าจะมาจากอคติต่อบุคคลข้ามเพศเสียมากกว่า

3. หยุดเลือกปฏิบัติกับคนข้ามเพศ
.
#Discrimination – หรือ การเลือกปฏิบัติถือเป็นการไม่เคารพ รวมไปถึงการไม่ให้เกียรติต่อบุคคลอื่นเยี่ยงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องเกลียดคนคนหนึ่งเพียงเพราะอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างของพวกเขา และถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับวิถีการใช้ชีวิตของคนข้ามเพศ แต่ก็ไม่จำเป็นอย่างใดที่จะต้องเกลียดชังจนถึงขั้นเลือกปฏิบัติ
.
#Discrimination – หรือ การเลือกปฏิบัติถือเป็นการไม่เคารพ รวมไปถึงการไม่ให้เกียรติต่อบุคคลอื่นเยี่ยงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องเกลียดคนคนหนึ่งเพียงเพราะอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างของพวกเขา และถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับวิถีการใช้ชีวิตของคนข้ามเพศ แต่ก็ไม่จำเป็นอย่างใดที่จะต้องเกลียดชังจนถึงขั้นเลือกปฏิบัติ

4. ช่วยรณรงค์กฎหมายที่เกี่ยวกับ LGBTQ+
.
หนึ่งในวิธีการเป็นภาคีที่ดีก็คือ การร่วมสนับสนุนให้ชีวิตของคนข้ามเพศและอัตลักษณ์ทางเพศอื่นที่ไม่ถูกนำเสนอในกระแสหลักมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ส่วนบุคคล รวมไปถึงการผลักดันให้การข้ามเพศเป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น
.
เพราะเพื่อนที่ดีจะไม่ปฏิเสธ
ที่จะเห็นเพื่อนมีชีวิตที่ดีขึ้น
.
หนึ่งในวิธีการเป็นภาคีที่ดีก็คือ การร่วมสนับสนุนให้ชีวิตของคนข้ามเพศและอัตลักษณ์ทางเพศอื่นที่ไม่ถูกนำเสนอในกระแสหลักมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ส่วนบุคคล รวมไปถึงการผลักดันให้การข้ามเพศเป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น
.
เพราะเพื่อนที่ดีจะไม่ปฏิเสธ
ที่จะเห็นเพื่อนมีชีวิตที่ดีขึ้น

5. อะไรที่ไม่กล้าควรคนตรงเพศ ก็อย่าถามคนข้ามเพศ
.
“ผ่าหรือยัง”
“ขอลองจับได้ไหม”
“เหมือนของจริงหรือเปล่า”คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่คนข้ามเพศควรก้มหน้ารับแต่อย่างใด การยุ่งกับเนื้อกายคนอื่นถือเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะการบกพร่องทางมารยาทอีกแบบหนึ่งที่ใครก็ไม่ควรกระทำ ฉะนั้น หากคำถามอะไรที่ไม่ควรถามคนตรงเพศ ก็อย่าใช้ไว้ถามคนข้ามเพศ
.
“ผ่าหรือยัง”
“ขอลองจับได้ไหม”
“เหมือนของจริงหรือเปล่า”คำพูดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่คนข้ามเพศควรก้มหน้ารับแต่อย่างใด การยุ่งกับเนื้อกายคนอื่นถือเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะการบกพร่องทางมารยาทอีกแบบหนึ่งที่ใครก็ไม่ควรกระทำ ฉะนั้น หากคำถามอะไรที่ไม่ควรถามคนตรงเพศ ก็อย่าใช้ไว้ถามคนข้ามเพศ

6. รับฟังให้มากขึ้น
.
หนึ่งในสิ่งที่คนข้ามเพศแทบทุกคนต้องประสบ โดยเฉพาะในสังคมที่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่แพร่หลาย ก็คือ ความทุกข์จากความรู้สึกที่ว่าต้องกักเก็บความเจ็บปวดไว้กับตัว และไม่สามารถระบายให้ใครฟังได้ ฉะนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะเป็นเพื่อนกับคนข้ามเพศก็คือ รับฟังให้มากขึ้น
.
เพราะทุกคนไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกัน ฉะนั้น การรับรู้ประสบการณ์ร่วมก็ต่างกัน
ถ้าการออกความเห็นมีลักษณะของการตัดสินก็ควรจะเก็บไว้กับตัวเท่านั้น
.
หนึ่งในสิ่งที่คนข้ามเพศแทบทุกคนต้องประสบ โดยเฉพาะในสังคมที่ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่แพร่หลาย ก็คือ ความทุกข์จากความรู้สึกที่ว่าต้องกักเก็บความเจ็บปวดไว้กับตัว และไม่สามารถระบายให้ใครฟังได้ ฉะนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะเป็นเพื่อนกับคนข้ามเพศก็คือ รับฟังให้มากขึ้น
.
เพราะทุกคนไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกัน ฉะนั้น การรับรู้ประสบการณ์ร่วมก็ต่างกัน
ถ้าการออกความเห็นมีลักษณะของการตัดสินก็ควรจะเก็บไว้กับตัวเท่านั้น