• Published Date: 21/06/2018
  • by: UNDP

Handican แพลตฟอร์มเพิ่มโอกาสการทำงานสำหรับคนพิการ

การพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบขององค์กรสหประชาชาติซึ่งครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ มิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17  ประการนี้ได้กล่าวถึงเรื่องของความพิการในหลายๆ ข้อโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพการศึกษา การเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน ความเหลื่อมล้ำ การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบดูแล เช่น

เป้าหมายที่ 4 ให้ความสำคัญในการศึกษาที่ครอบคลุมและเท่าเทียมตลอดจนการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 8 มุ่งประเด็นไปที่การสร้างงานที่มีคุณค่าและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำและให้โอกาสทางการเมือง เศรษฐกิจแและสังคมสำหรับทุกคน

และเป้าหมายที่17เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านทางความร่วมมือในการรวบรวมและจัดการข้อมูลเพื่อให้สามารถรับมือกับความต้องการของคนพิการได้อย่างมีคุณภาพและทันท่วงที่

อย่างไรก็ตามคำถามที่สำคัญในตอนนี้คืออีกไม่กี่ปีเราก็จะเข้าสู่ปี 2030 แล้ว เราจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้คนพิการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง?

 

Handican หนี่งในผู้ชนะการประกวดโครงการ Youth Co:Lab ของเราในปีที่ผ่านมากำลังเริ่มตอบปัญหานี้อย่างจริงจัง

Handican เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมที่สร้างโอกาสการทำงานให้คนพิการในประเทศไทย ซึ่งตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี ค.ศ. 2012 นั้นมีจำนวนผู้พิการกว่า1. 8ล้านคนและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล โดยจำนวนของผู้พิการเหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 2.17 ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย (กว่า 68 ล้านคน)  อีกทั้งในจำนวนผู้พิการ 1.8 ล้านคนนั้นยังมีจำนวนคนว่างงานถึง 455,990 คน และไม่สามารถทำงานได้ถึง 118,144 คน

ดังนั้น Handican มีความมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้กับผู้พิการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการทางด้านการมองเห็น ผู้พิการการได้ยิน หรือผู้พิการทางร่างกาย ซึ่งทาง Handican ก็ได้พูดคุยถึงประเด็นการจัดหางานให้กับคนพิการเหล่านี้กับทีมงานของ Thailand Social Innovation Platform (TSIP)

อยากให้ช่วยเล่าถึงภาพรวมของ Handican  

 (คุณภากร) จริงๆ แล้วผมได้รับแรงบันดาลใจจากวิทยากรท่านหนึ่งที่มาให้ความรู้เรื่องการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ หลังจากนั้นไม่นานผมก็ได้ลงเรียนในวิชาที่ชื่อว่า Planet and Society สอนโดยอาจารย์ Massimo  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในวิชานั้นได้ให้ความรู้หลักๆ เกี่ยวกับการจัดทำแพลตฟอร์มทางธุรกิจ เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน และหัวใจของการออกแบบ UX/UI

โดยในระหว่างการเรียนการสอนนั้นอาจารย์ได้มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งก็มีวิทยากรท่านหนึ่งได้ตั้งประเด็นคำถามว่าเราจะสามารถหาข้อมูล หรือขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้พิการในประเทศไทยได้อย่างไรเพราะแม้แต่คนไทยด้วยกันเองยังยากที่จะเข้าถึงข้อมูลของคนพิการเหล่านี้

การพูดคุยวันนั้นเองที่จุดประกายให้ผมคิดถึงปัญหาของคนพิการ และเริ่มหันมาทำการศึกษาอย่างจริงจัง โดยในตอนที่ผมเรียนอยู่ปี3 เทอม1 ผมและเพื่อนๆ ก็ได้เริ่มสร้างทีม Handican ขึ้นโดยรวบรวมคนจากคนที่เรียนวิชา Planet and Society และตอนที่เรียนอยู่นั้นทีมของเราก็ได้รับโอกาสเข้าร่วมงาน Youth Co:Lab ซึ่งจัดโดยแพลตฟอร์มนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย UNDP ตอนปี 2017 โดยในตอนนั้นเรามีเพียงแค่แนวคิดสำหรับการทำธุรกิจเพื่อสังคมเท่านั้น

อย่างไรก็ตามตลอดทั้ง 3  วันของการทำกิจกรรมในโครงการนี้ ทีมของเราได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดการทำธุรกิจเพื่อสังคม และได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในวันสุดท้ายก่อนที่จะจบงาน ซึ่งเราได้รับรางวัลเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Social Value จาก Social Value Thailand, Friendly Design Innovation Awards จาก AirAsia, Social Innovation for Young Innovative Entrepreneurs Awards จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับ TSIP, and Social Enterprise New Gen Awards จาก True

จากการเข้าร่วม Youth Co:Lab ทำให้เราเห็นความสำคัญของคนพิการ และต้องการที่จะให้คนพิการและนายจ้างมาตระหนักและเข้าถึงปัญหานี้ร่วมกัน ซึ่งในขณะนี้เราอยู่ในขั้นตอนการศึกษาหาข้อมูลและพัฒนาแพลตฟอร์มของเราให้ดีขึ้น 

 

แรงบันดาลใจให้คุณก่อตั้ง Handican คืออะไร

ในช่วงที่เราทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาคนพิการนั้น เราพบว่าจริงๆ แล้วมันมีสิ่งที่เรียกว่าช่องว่างของ “ทัศนคติต่อการทำงาน” “การเข้าถึงโอกาสการทำงาน” และ “ความสามารถในการทำงาน” ระหว่างคนพิการและนายจ้าง

เราจึงต้องการใช้แพลต์ฟอร์มของเราเป็นตัวกลางในการเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้น เพื่อให้คนพิการทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสการทำงานและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

 

คุณคิดว่าคนพิการในประเทศไทยมีทัศนคติอย่างไรต่อการจ้างงาน

การจ้างงานสำหรับคนพิการนั้นหมายถึง โอกาสที่จะให้พวกเขาได้แสดงความสามารถ และศักยภาพเพื่อให้สังคมได้รับรู้และให้โอกาสกับพวกเขา ถ้าพวกเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สถานะของพวกเขารวมถึงทัศนคติของคนในสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น

ก            ารจ้างงานจึงเป็นโอกาสที่คนพิการจะได้พิสูจน์ตัวเองและทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่าเป็นที่ต้องการของสังคม การจ้างงานยังทำให้ชีวิตประจำวันของพวกเขาดีขึ้น เนื่องจากการมีงานทำแสดงถึงศักยภาพที่เพียงพอที่จะทำประโยชน์ให้กับบริษัทของพวกเขา ซึ่งในทางกลับกันก็จะทำให้คนพิการเหล่านี้สามารถอยู่ได้ด้วยยตนเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นๆ ในสังคม

 

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการพัฒนาแพลต์ฟอร์มนวัตกรรมเพื่อสังคมสำหรับคนพิการคืออะไร และคุณก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร

 ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงความคิดหรือทัศนคติของคน คนพิการส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเขาแปลกแยกจากสังคม บางคนก็ปลีกตัวเองออกจากสังคมส่วนใหญ่และไปอยู่ในสังคมของพวกเขาเอง

ความท้าทายอีกอย่างคือ คนพิการบางคนรู้สึกกลัวกับสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คำถามคือเราจะสามารถช่วยให้พวกเขาลบความรู้สึกกลัวนี้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับสังคมของเราได้อย่างไร

ในช่วงแรกๆ ที่เราทำการศึกษาระหว่างคนพิการและนายจ้าง เราได้ข้อสรุปว่ามีความท้าทายหลักๆ 3 ข้อซึ่งเราเรียกว่าปัญหานี้ว่า 3 As ซึ่งประกอบไปด้วย  “ทัศนคติต่อการทำงาน” (Attitude)“ความสามารถในการทำงาน” (Ability) และ“การเข้าถึงโอกาสการทำงาน” (Accessibility) โดยปัญหาเหล่านี้เกิดกับทั้งตัวคนพิการและนายจ้างเอง อย่างเช่นคนทั่วไปมักจะปฏิบัติกับคนพิการไม่เหมือนคนอื่น อย่างไรก็ตามคุณควรที่จะปฏิบัติกับคนพิการเหล่านั้นเหมือนที่คุณปฏิบัติกับคนอื่น เรารู้ว่าการปรับเปลี่ยนทัศนติเหล่านี้เป็นรื่องยากที่จะสื่อสารผ่านทางออนไลน์ เราจึงมีการใช้ช่องทาง offline ในรูปแบบของการจัดกิจกรรม หรือ ในรูปแบบของการอภิปรายซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็มีคนที่เปิดใจพร้อมจะเข้าร่วม

 

โดยปกติแล้วบริษัทยินดีที่จะจ้างคนพิการหรือไม่

ปกติแล้วบริษัทก็ต้องการจ้างงานคนพิการ แต่ปัญหาคือบริษัทส่วนใหญ่หลายๆ ที่ ไม่มีช่องทางในการที่จะติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคนพิการ

 

อะไรคือวิสัยทัศน์ของ Handican และเป้าหมายที่ Handican อยากจะบรรลุในช่วงเวลา 5 ถึง10 ปีที่จะถึงนี้คือสิ่งใด

วิสัยทัศน์ของ Handican คือการช่วยให้คนพิการได้งานที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง จริงๆแล้วตอนนี้เราสนใจเรื่องการจัดหางานให้คนพิการเป็นหลัก แต่ในอนาคตเราก็อยากจะขยายขอบเขตไปถึงเรื่องการศึกษา กีฬา และอาจจะรวมถึงระบบขนส่งเพื่อที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคนพิการ

ในเบื้องต้น เราได้เริ่มให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดหางานไปแล้วเพราะเราเห็นว่าการมีงานทำนั้นจะสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และในขณะเดียวกันยังช่วยให้พวกเขาเห็นคุณค่าในตนเอง

แต่การที่เราจะทำให้คนพิการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อกับพวกเขาด้วย ดังนั้นในอีก 5-10 ปีที่จะถึงนี้ Handican จะให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมสำหรับที่เอื้อต่อคนพิการอย่างแท้จริง นอกจากนี้เราคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวแพลตฟอร์มในประเทศไทยเร็วๆ นี้ และเราหวังว่าจะขยาย Handican ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในเอเชียภายในสองสามปีที่จะถึงนี้เช่นกัน

 

แล้วคุณได้ทำอะไรแล้วบ้างเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของ Handican และเพื่อให้มั่นใจว่าจะเข้าถึงคนพิการได้ทุกคน

อย่างที่กล่าวไปว่าในเบื้องต้นว่า Handican เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการจัดหางานให้คนพิการ แต่สิ่งสำคัญที่เราได้เน้นย้ำไปตอนเข้าร่วมงาน Youth Co:Lab  คือเราต้องการที่จะให้ความสนใจกับคนพิการที่มีทักษะความสามารถก่อน เพราะเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้มีงานทำ พวกเขาก็จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนพิการคนอื่นๆ หันมาพัฒนาความสามารถของตนเองเพื่อให้มีความพร้อมในการทำงานเช่นกัน นำไปสู่วงจรการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของ Handican นั้นไม่ได้เพื่อเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจัดหางานของคนพิการที่มีทักษะเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยพัฒนาทักษะให้คนพิการคนอื่นๆ ผ่านการสร้างแรงบันดาลใจในกลุ่มคนพิการด้วยกันอีกด้วย ซึ่งในขณะนี้มีคนพิการเพียงร้อยละ 20 ถึง 30 เท่านั้นที่มีทักษะความสามารถ เราจึงอยากให้พวกเขาเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนพิการคนอื่นๆ

ถึงภาพรวมของการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้อาจจะดูไม่ง่ายนัก แต่เรามั่นใจว่าเราจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยในตอนนี้เราสามารถเข้าถึงคนพิการได้ประมาณ 400 คนผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook และผ่านช่องทางออฟไลน์อื่นๆ ซึ่งอาจจะยังเป็นจำนวนที่ไม่มากนักแต่เรากำลังพยายามที่จะเข้าถึงผู้พิการในเขตกรุงเทพและปริมณฑลให้มากขึ้น และถึงแม้คนจำนวน 400คนจะเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ในทางกลับกันพวกเขาเหล่านี้ก็เป็นแรงสนับสนุนในการปรับปรุงแพลตฟอร์มของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น

ในขณะนี้เราจะให้การช่วยเหลือกลุ่มคนพิการที่เราสามารถเข้าถึงได้ก่อนเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีงานทำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อให้ำวกเขาเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์มนี้ผ่านทางมีกลุ่มเครือข่ายคนพิการที่ปกติก็ช่วยเหลือกันและกันอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเราช่วยเหลือคนพิการกลุ่มหนึ่ง กลุ่มคนพิการอื่นๆ ก็จะรับรู้ถึงแพลตฟอร์มนี้ด้วย เราต้องการให้คนพิการทุกคนเข้าถึงแพลตฟอร์มของเราและได้รับการช่วยเหลือโดยไม่มีใครถูกทอดทิ้ง

 

ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพลตฟอร์มของ Handican

จริงๆแล้วแพลตฟอร์มเรามีฟังก์ชันในการจับคู่ระหว่างผู้จ้างงาน และคนพิการ โดยเราจะให้ทั้งสองฝ่ายกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่ต่างกัน จากนั้นเมื่อความต้องการของทั้งคู่ตรงกัน แพลตฟอร์มจะทำการจับคู่และแสดงค่าเป็นร้อยละ (%) ว่าทั้งสองฝ่ายมีความต้องการตรงกันเท่าไหร่

อีกฟังก์ชันหนึ่งที่เราสร้างขึ้นนั้นยังเปิดโอกาสให้นายจ้างสามารถค้นหาคนพิการเพื่อมาร่วมงานกับบริษัทตน โดยเราจะมีการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลล์และเว็บไซต์ทุกครั้งเมื่อคนพิการเหล่านั้นได้รับเชิญ หรือรับเข้าทำงาน

นอกจากนี้เดือนหน้าเราจะเพิ่มพวกข้อมูลที่น่าสนใจและเรื่องเล่าความสำเร็จต่างๆ ของคนพิการเหล่านี้ รวมถึงการอัพเดตกิจกรรมต่างๆ และข่าวสารสำหรับคนที่หางานอยู่บนเว็ปไซต์

 

ทัศนคติต่อการทำงาน: คุณจะเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมในการทำงานให้มีการยอมรับคนพิการมาร่วมงานมากขึ้นได้อย่างไร

ทัศนคติของนายจ้างและคนพิการนั้นจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อมีตัวอย่างของความสำเร็จในการจ้างงานคนพิการ เพราะคงไม่มีใครเชื่อเราจากคำพูดเพียงอย่างเดียวว่าคนพิการคนนี้ๆ สามารถทำงานได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้คือการให้โอกาสคนพิการเหล่านี้ในการทำงานและพิสูจน์ต่อตนเอง ต่อนายจ้าง และต่อสังคม  ทั้งหมดนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อคนพิการและการปฏิบัติต่อคนพิการไปในทางที่ดีขึ้น

ในตอนนี้เรากำลังผลักดันและสนับสนุนคนพิการที่มีทักษะพร้อมที่จะทำงานเพื่อให้คนเหล่านี้นำเรื่องราวแห่งความสำเร็จมาถ่ายทอดให้แก่คนพิการคนอื่นๆ ซึ่งเราก็ยินดีต้อนรับทุกคนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มคนเหล่านี้และต้องการที่จะมีงานทำบ้าง สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดที่คนพิการเหล่านี้จะได้รับจากการทำงานคือการที่พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และรู้สึกมีคุณค่าและเป็นที่ต้องการของสังคม

 

ความสามารถในการทำงาน: มีงานประเภทไหนบ้างที่เปิดรับคนพิการ เราจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติของนายจ้างให้เห็นคุณค่าในความสามารถของคนพิการได้อย่างไร และอุตสาหกรรมหรือวงการดที่คุณคิดว่ามันยากที่สุดในการช่วยให้คนพิการเข้าไปทำงาน 

ในตอนนี้จะมีงานพวกที่ใช้การสื่อสารเบื้องต้น อย่างเช่น Call centers  ที่เปิดให้คนพิการสามารถเข้ามาทำงานได้ แล้วเราก็กำลังจะสร้างงานที่คิดว่าจะเหมาะสมกับคนพิการอยู่

ที่จริงแล้วคนพิการสามารถทำงานในอุตสาหกรรมไหนก็ได้ แต่กฎหมายห้ามไม่ให้คนพิการทำงานในอุตสาหกรรมบางอย่าง

จริงๆ แล้วงานที่เหมาะสมกับคนพิการนั้นก็คืองานที่เขามารถใช้ความพิการด้านนั้นๆ ให้เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ มีการ จ้างกลุ่มคนที่มีอาการออทิสติกมาทำงานล้างรถ เนื่องจากพวกเขาสามารถทำงานนั้นได้ดีกว่าคนปกติเพราะอาการย้ำคิดย้ำทำของพวกเขา

ซึ่งกลุ่มคน 400 คนที่เราจะให้ความช่วยเหลือเป็นกลุ่มแรกนั้นมีความพิการทางร่างกายมากที่สุด และรองลงมาเป็นผู้พิการทางสายตา และทางการได้ยิน  โดยเราจะช่วยพวกเขาเหล่านี้ให้มีงานทำ และเมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนพิการคนอื่นๆ อีกกว่า 400,000 คน  โดยทักษะหลักๆ ที่เราต้องการให้พวกเขามีคือด้านการสื่อสาร และเมื่อนายจ้างเห็นความสามารถในการทำงานของกลุ่มคนเหล่านี้ ทัศนคติต่อการจ้างงานคนพิการก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

 

การเข้าถึงโอกาสการทำงาน: เราจะทำให้นายจ้างปรับปรุงสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อคนพิการได้อย่างไร มีแบบแผนนำร่องในเรื่องการจัดการอำนวยความสะดวกแก่คนพิการในประเทศไทยไหม

ถ้าการจ้างงานคนพิการนั้นประสบความสำเร็จและมีจำนวนมากขึ้นก็อาจจะนำไปสู่การปรับปรุงสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อคนพิการ แต่ในตอนนี้การที่เราจะไปบอกให้นายจ้างปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับการทำงานของคนพิการทันทีนั้นยังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง โดยอุปสรรคทั้ง 3As อันได้แก่  “ทัศนคติต่อการทำงาน” (Attitude)“ความสามารถในการทำงาน” (Ability) และ“การเข้าถึงโอกาสการทำงาน” (Accessibility) จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในระยะยาวภายใน 5 ถึง10  ปีนี้เมื่อคนพิการนั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงานอย่างแท้จริง

จริงๆแล้วมันไม่มีข้อเสนอแนะตายตัวว่าอะไรคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือเอื้อต่อคนพิการ แต่เราก็วางแผนกันว่าจะหาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะในการทำแผนนำร่องขึ้นมาในอนาคต

อย่างไรก็ตามในระยะสั้นนี้เราได้ร่วมมือกับบริษัทขนส่งอย่าง Grab และได้ให้สิทธิพิเศษแก่คนพิการ (promo code)  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงระบบขนส่ง นอกจากนี้แพลตฟอร์มของ  Handican ยังสามารถบอกสถานที่ในการค้นหางานโดยเฉพาะ รวมถึงมีการใช้แอพพลิเคชันอย่าง Google maps เพื่อช่วยคำนวนการสัญจรของคนพิการอีกด้วย

 

คุณมีคำแนะนำอะไรสำหรับคนที่กำลังเริ่มทำธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมสำหรับคนพิการไหม

ถ้าพวกเขามีความสนใจที่จะช่วยเหลือคนพิการอย่างแท้จริง ก็อยากเชิญชวนให้มาร่วมมือกันในฐานะมากกว่าที่จะเป็นคู่แข่งกัน

 

 

ตอนนี้แผนการจัดการของทีม Handican  เป็นอย่างไร และคุณมองหาคนแบบไหนที่จะมาร่วมงานกับ  Handican 

ตอนนี้ในทีมเรามีอยู่ทั้งหมด 8 คนซึ่งแบ่งเป็น 4 ทีมย่อยๆ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development)  การทำการตลาดบนโลกออนไลน์ (Digital marketing) การจัดงานอีเวนท์ (Event Organizing) และการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งาน (User research) ซึ่งตอนนี้เราก็ยินดีที่จะรับคนเข้ามาเพิ่มในทีมของเราเพื่อเพิ่มพูนแนวคิดใหม่ๆ และศักยภาพที่จะทำการศึกษาและพัฒนาเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ให้มากขึ้น ดังนั้นเรายินดีที่จะเปิดรับคนที่มีความสนใจและเข้าอกเข้าใจในประเด็นปัญหานี้รวมถึงสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย และแน่นอนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะรับคนพิการมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมเราด้วย

 

คุณรู้สึกอย่างไรกับสถานะของ Handican ในตอนนี้

ในตอนนี้เรากำลังอยู่ใขั้นตอนการศึกษาและพัฒนาระบบ เรารู้สึกมีพลังในการทำงานมากเพราะว่าเราได้เจอกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะช่วยเหลือจริงๆ โดยการแบ่งงานของเรานั้นขึ้นอยู่กับแรงจูงใจและลักษณะนิสัยเป็นสำคัญเพื่อให้คนๆ นั้นได้ทำงานที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่คุณภาพของงานที่ดีขึ้น เราควรเลือกว่าเลือกว่า “อยาก” จะทำอะไรไม่ใช่ว่า “จะ” ทำอะไร พวกเราในทีมอยู่กันแบบเพื่อน ไม่ได้มีใครสั่งใคร แต่เราจะใช้การคุยกันถึงกับแนวคิดใหม่ๆว่ าแต่ละคนอยากจะทำหรืออยากเรียรู้เรื่องอะไร พวกเราเลือกในสิ่งที่เรารักที่จะทำแล้วก็มีความสุขกับมัน

 

 (อาจารย์ Massimo) ในฐานะที่คุณเป็นอาจารย์และได้เห็นทีม Handican เติบโตมาได้ขนาดนี้ คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง

ในฐานะอาจารย์ ผมรู้สึกภูมิใจอย่างมาก ซึ่งพวกเขาก็รู้ว่าผมภูมิใจ นี่เป็นครั้งแรกที่นักเรียนของเราได้นำสิ่งที่เรียนไปใช้อย่างจริงจัง พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วม Youth Co:Lab

ผมพยายามจะทำให้นักเรียนสามารถนำการเรียนการสอนในห้องเรียนไปสร้างโอกาสในชีวิตที่แท้จริงได้ และถึงแม้ในตอนนี้ผมคิดว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายในการสวมบทบาทเป็นทั้งนักศึกษา นักธุรกิจ และก็ฝึกงานไปพร้อมๆ กัน แต่ผมก็มองโลกในแง่ดีว่า Handican นั้นจะยังคงความเหนียวแน่นบนมิตรภาพที่มีให้พวกเขามีให้แก่กัน

 

 

 

 

ภาพประกอบ:  Handican

ติดตาม Handican ได้ที่ [FB LOGO] https://web.facebook.com/handican.co/

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779