• Published Date: 08/11/2019
  • by: UNDP

หลบไม่ได้ แต่ลดความเสี่ยงได้ ‘สึนามิ’ อาจไม่ใช่ภัยที่น่ากลัวอีกต่อไป

หลบไม่ได้ แต่ลดความเสี่ยงได้ ‘สึนามิ’ อาจไม่ใช่ภัยที่น่ากลัวอีกต่อไป

เนื่องในวันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก ( World Tsunami Awareness Day) ที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้เราหวนนึกไปถึงเวลาเมื่อ 15 ปีก่อนที่สึนามิซัดเข้าชายฝั่งทะเลใต้ของประเทศไทย เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ที่เกาะสุมาตรา คลื่นยักษ์ซัดเข้าชายฝั่งทะเลอันดามัน คร่าชีวิตผู้คนมากถึง 5,365 คน หลังจากประสบการณ์ครั้งนั้น ผู้คนทั่วโลกกลับมาทบทวนว่า เราจะสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสึนามิ เพื่อลดระดับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งได้อย่างไร ?

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีการคิดค้นวิธีเตือนภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดคลื่นแผ่นดินไหว ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือ GPS หรือมาตรวัดระดับน้ำเพื่อตรวจหาสึนามิ และคาดเดาวันที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนคลื่นสึนามิ จากศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิในแปซิฟิก (Pacific Tsunami Warning Center – PTWC) จะคอยติดตามระดับน้ำในทะเลเพื่อดูการก่อตัวของคลื่นในทะเล ถ้าพบว่าเป็นคลื่นที่มีระดับการทำลายล้างสูงก็จะกระจายสัญญาณเตือนภัยไปยังประเทศต่างๆ เพื่อให้เตรียมรับมือกับคลื่นสึนามิได้

นอกจากนี้ ประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบแจ้งเตือนสึนามิที่เจ๋งที่สุดในโลกอย่าง ‘ญี่ปุ่น’ สร้างระบบเตือนภัยจากอุปกรณ์ตรวจวัดสึนามิ (DART) เพื่อการหาจุดกำเนิด หรือ แหล่งที่มา และการจำลองคลื่นสึนามินอกชายฝั่งห่างไกล พร้อมมีศูนย์อุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น ( The Japanese Meteorological Agency: JMA) คอยรับผิดชอบการสังเกตการณ์การเตือนภัยแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และการปะทุของภูเขาไฟ โดยติดตั้งจุดตรวจวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว 627 จุดทั่วประเทศ JMA มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโตเกียว และมีสำนักงาน 6 แห่งในระดับภูมิภาค ได้แก่ เมืองซับโปโร เซนได โตเกียว โอซาก้า ฟูกูโอกา และ นาฮา ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม แม้แต่นักเรียนชั้นประถมก็ต้องฝึกซ้อมหนีภัยและเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายของสึนามิ Hitoshi Kozaki ผู้อำนวยการฝ่ายองค์การระหว่างประเทศจากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า

“สิ่งสำคัญที่สุดในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติ คือการสร้างความเข้าใจถึงอันตรายของสึนามิ รวมถึงการรับมือที่เหมาะสมแก่ประชาชนโดยเฉพาะเด็กๆ”

สำหรับประเทศไทยเอง ที่เคยได้รับผลกระทบรุนแรงจากเหตุการณ์สึนามิ ก็ไม่ได้นิ่งเฉย มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิ ซึ่งประกอบไปด้วยฐานเก็บบันทึกข้อมูลใต้ทะเลลึก และทุ่นลอยส่งสัญญาณผิวทะเล 2 แห่ง และมีการใช้คอมพิวเตอร์จำลองรูปแบบเพื่อทำนายแนวโน้มของการเกิดคลื่นสึนามิจากข้อมูลที่ได้มา แล้วแจ้งให้ศูนย์เตือนภัยตามชายฝั่งทะเลต่างๆ ทราบ เพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนในท้องถิ่นเตรียมตัวอพยพหนีภัยได้ทันเวลา นอกจากนี้ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) คือหนึ่งองค์กรที่ไม่ละเลยเรื่องนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายอันรุนแรง จึงดำเนินโครงการระดับภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิกใน 18 ประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในการพัฒนาแนวทางอพยพหนีภัยสึนามิในโรงเรียนกว่า 90 แห่งทั่วภูมิภาค รวมถึงประเทศไทยที่มีโรงเรียนนำร่องทั้งหมด 5 แห่งในจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดที่เคยได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับของระบบเตือนภัยสึนามิในญี่ปุ่นที่ Centre for Public Impact .

โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีแผนการเตรียมพร้อมหรือเส้นทางอพยพที่ปลอดภัย จึงต้องเริ่มต้นจากการทำงานร่วมกับคุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภากาชาดไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของแต่ละโรงเรียน พร้อมทั้งปรับแผนการเตรียมพร้อมรับมือและการอพยพอย่างปลอดภัย อีกทั้งให้ความรู้และฝึกอบรมคุณครู เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและฝึกอบรมนักเรียนในการเตรียมความพร้อมรับมือสึนามิได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญคือไม่มองข้ามนักเรียนผู้มีความพิการทางร่างกายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเมื่อมีการอพยพ ตามแนวคิดที่ว่าต้องไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ นักเรียนยังจะได้ฝึกขั้นตอนปฏิบัติ CPR หรือวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีการซ้อมอพยพหนีภัยอยู่เสมอ

ที่มา

https://medium.com/undp-in-asia-and-the-pacific/13-years-later-is-thailand-better-prepared-for-tsunamis-ff1cc45dffdf

https://www.asia-pacific.undp.org/content/rbap/en/home/presscenter/articles/2018/01/12/phang-nga-schools-hold-evacuation-drills-for-tsunami-preparedness.html

https://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/japan/9920042/Tsunami-two-years-on-Japan-finally-gets-warning-system-that-would-have-saved-hundreds-of-lives.html

 

How To Solve Japan’s “Tsunami Problem”?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779