• Published Date: 10/05/2021
  • by: UNDP

Peace of Art พื้นที่ปลอดภัยสร้างได้ผ่านกิจกรรมทำอาหารทางเลือก

โควิด-19 กำลังกลับมาอีกครั้ง เช่นกันกับความเครียดและกังวลใจที่พ่วงมาด้วยกับสถานการณ์เช่นนี้

รุส-รุสลีนา มูเล็ง ยังจำความรู้สึกช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ได้ดีว่าโรคระบาดแห่งยุคสมัยสร้างผลกระทบให้คนมากมายขนาดไหน ยิ่งเป็นช่วงล็อกดาวน์การจำกัดพื้นที่ยิ่งเท่ากับจำกัดกิจกรรมเข้าไปอีก

              “ตอนแรกเราสนใจศิลปะบำบัดความเครียด เราเห็นภาพว่าเป็นการวาดเขียน วาดเส้น ระบายสี” ความเครียดที่เธอว่านอกจากเรื่องโควิด-19 แล้ว เธอยังนึกถึงความกดดันทั่วๆ ไปในชีวิต รวมถึงความตึงเครียดสะสมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เธออยู่ แต่พอเธอได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อได้เข้าร่วม Youth Co:Lab เธอเริ่มมองศิลปะในมุมที่กว้างขึ้น ว่าอะไรคนถึงจะสนใจเป็นพิเศษ “ศิลปะอาจไม่ได้มีคนสนใจมากขนาดนั้น เราเลยทำการบ้านว่าจะทำอะไรดี เรานึกถึงการปั้นดินน้ำมัน งานคราฟต์ และการทำอาหาร มันน่าสนใจตรงที่อาหารทำให้เราคลายเครียดได้”

             ท่ามกลางหลากหลายทางเลือกที่เธอมองหา รุสบอกว่าการทำอาหารโดดเด่นที่สุด

             “อาหารเป็นอะไรที่ทุกคนเข้าถึงและลงมือปฏิบัติได้” ในช่วงล็อกดาวน์รอบแรก รุสสังเกตเห็นว่าการเข้าครัวกลายมาเป็นกิจกรรมของใครหลายๆ คน และท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจซบเซา ธุรกิจหลายแขนงปิดตัวก็มีอาหารนี่แหละที่คงอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเห็นร้านอาหารใหม่เกิดขึ้นบ้างด้วย

“เราเลยสังเกตพฤติกรรมของคนวัยรุ่นวัยมหาลัย เราเห็นว่าเขาชอบเช็คอิน ชอบถ่ายรูปลงโซเชียล เราเลยคิดลองจัดกิจกรรมทำอาหารที่เขาได้ทั้งทำเองและถ่ายรูปลงได้ด้วย มันน่าจะสร้างคุณค่าได้มากกว่าการซื้อแล้วถ่ายลงโซเชียล”

Peace of Art มีคอนเซ็ปต์กว้างๆ ว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและการมีกิจกรรมทางเลือกเพื่อลดความเครียดจึงก่อร่างสร้างตัวขึ้น

  


ปั้นโปรเจ็กต์

              รุสทดลองทำเวิร์คช็อปโดยให้เป็นส่วนผสมระหว่างการทำอาหารและการบำบัดความเครียด การทำอาหารของเธอไม่ได้จำเป็นว่าต้องรสชาติดีเด่น แต่เน้นความเป็นตัวเองและความคิดสร้างสรรค์

              เวิร์คช็อปแรก Peace of Art ชัดเจนตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ว่าจะเป็น Cooking Therapy

              “ปรากฏคนส่วนใหญ่คิดว่าเราจะสอนทำอาหารจริงจัง” ที่เป็นเช่นนั้นรุสมีสมมติฐานว่าอาจเป็นเพราะคอนเซ็ปต์ของการทำอาหารเพื่อการบำบัดยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในพื้นที่จังหวัดยะลา ทั้งนี้สิ่งที่บรรจุลงไปในเวิร์คช็อปครั้งแรกของเธอผสมสาระทั้งด้านอาหารและด้านการเข้าใจความเครียดไว้ด้วยกัน โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารควบคู่ไปด้วย แต่แทนที่จะให้ทุกคนทำตามสูตรทีละขั้นทีละตอนแบบเป๊ะๆ การทำอาหารในเวิร์คช็อปของเธอกลับเป็นไปในทางตรงข้าม เพราะไม่ได้มีสูตรตายตัว

“เราเห็นว่าเวิร์คช็อปที่จัดขึ้นมันมีพื้นที่พูดคุยมากกว่าการทำอาหารทั่วๆ ไป เพราะอาหารของเราไม่ได้เน้นรสชาติ แต่เน้นความสร้างสรรค์ เน้นความเป็นตัวคุณเข้าไปเลย” 

การจัดกิจกรรมครั้งแรกผ่านไปได้ด้วยดี มีผู้เข้าร่วมแปดคน รุสถอดบทเรียนสิ่งที่อยากแก้ไขและพัฒนาในครั้งต่อไป

“เราพบว่าไม่ใช่ทุกคนแก้ความเครียดด้วยวิธีนี้ พอเราดูลึกลงไปเราพบว่าคนจะแก้ความเครียดด้วยวิธีไหนก็ได้ จะไปเที่ยว ออกกำลัง และไม่ใช่ทุกคนชอบทำอาหาร แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นประโยชน์ชัดจากการจัดเวิร์คช็อปคือเขาต้องการพื้นที่ปลอดภัย ให้เขาได้เจอตัวเอง ได้ระบายตัวเองออกมา”

รุสยังเสริมอีกว่าหลายๆ คนไม่ได้สื่อสารหรืออาจไม่ได้สังเกตว่าตัวเองมีความเครียดมากน้อยแค่ไหนอย่างตรงไปตรงมา การจัดเวิร์คช็อปเพื่อผ่อนคลายความเครียดโดยตรงจึงอาจยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเท่าที่ควร แต่การสร้างพื้นที่ปลอดภัยต่างหากที่รุสเห็นว่าจำเป็นมากในสถานการณ์แบบนี้

 


จากแก้เครียดสู่สร้างพื้นที่ปลอดภัย

 เมื่อ Peace of Art ได้รับทุนไปพัฒนาโปรเจ็กต์รอบที่สองเธอจึงบิดชื่อเวิร์กช็อปว่า “คิดเช่นกันไหม” ทั้งเป็นการเชิญชวนคนให้เข้าครัว และเป็นคำพ้องเสียง เป็นไปดั่งที่คาดคิด พอเปลี่ยนวิธีประชาสัมพันธ์เธอได้คนสมัครเข้าร่วมเวิร์คช็อปมากยิ่งขึ้น โดยรุสเก็บความตั้งใจเรื่องสร้างพื้นที่ปลอดภัยไว้เป็นประเด็นหลักของเวิร์คช็อปผ่านอาหารครั้งนี้ โดยรุสให้ทุกคนแนะนำตัวผ่านอาหารจานโปรด

“เราเซ็ตไว้ว่าจะไม่รู้จักฉันไม่รู้จักเธอ ให้แนะนำตัวผ่านอาหารที่ชอบ ตลอดกิจกรรมเราจะไม่เรียกด้วยชื่อตัวเอง” เธออธิบายกิมมิกเล็กๆ น้อยๆ ที่มีนัยยะสำคัญ

ครึ่งแรกของเวิร์กช็อปทั้งหมดว่าด้วยการละลายพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึก

“เรามีกิจกรรมที่เรียกว่ากระจกที่ไม่สะท้อนกลับ ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่กันเพื่อพูดและฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ต้องตอบโต้ ไม่ตัดสิน” รุสอธิบายว่าในกิจกรรมมีกระบวนกรที่ตั้งหัวข้อมาชวนพูดคุย เช่น สิ่งที่อยากปรับปรุง เรื่องที่อยากให้กำลังใจตัวเอง โดยพูดให้กับอีกคนฟังซึ่งอีกฝ่ายมีหน้าที่เพียงฟังอย่างตั้งใจเท่านั้น “ส่วนใหญ่เวลาเราพูดอะไรมักจะถูกตัดสิน ผู้ฟังมักให้ความเห็นตามประสบการณ์ที่ตัวเองเคยเจอมา แต่จริงๆ แล้วแต่ละคนใส่รองเท้าไม่เหมือนกัน เจอเรื่องราวมาไม่เหมือนกัน เราเลยอยากให้การฟังที่เกิดขึ้นในเวิร์กช็อปเป็นการฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ต้องการการตอบกลับ คล้ายๆ กับพูดให้ตัวเองฟังมากกว่า เป็นการให้กำลังใจตัวเองดังๆ”

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเบาๆ ชวนละลายพฤติกรรมระหว่างผู้เข้าร่วมโดยใช้อาหารเป็นหัวข้อในการพูดคุย เช่น ชวนกันแบ่งปันสูตรเฉพาะแต่ละบ้านในเมนูสุดมาตรฐานอย่างไข่เจียว เป็นต้น

พอผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนและเริ่มรู้สึกปลอดภัยกับพื้นที่นี้ ถัดมาจึงเป็นการเข้าครัวจริง โดยแต่ละคนได้รับเซ็ตตกแต่งเค้กคนละกล่อง มีครีม มีโยเกิร์ต และอื่นๆ ตามเลือกสรร อาหารที่นำเสนอใน Peace of Art เป็นอาหารที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ ไม่ต้องเคร่งเครียดกับสูตร แต่เน้นความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวเอง

“เราอยากให้ทุกคนได้อยู่กับตัวเอง โดยแต่ละคนรังสรรในแบบฉบับตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง จะใส่อะไรก็ได้ที่เป็นตัวเอง” รุสอธิบายต่อว่าการทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ และให้เวลากับตัวเองแบบนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนตัวตนผ่านสิ่งที่ทำ

“บางคนละเอียดนุ่มนวลมันก็สะท้อนจากการที่เขาใส่อย่างหนึ่งก่อนอีกอย่างหนึ่ง” เมื่อจบเวิร์คช็อปรุสก็มีแบบสอบถามให้กับผู้เข้าร่วมว่ารู้สึกอย่างไรกับเวิร์คช็อปครั้งนี้ ผลโดยรวมเป็นที่น่าพอใจ

“สุดท้ายคือผู้เข้าร่วมไม่เครียด สนุกสนาน สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนกัน และที่สำคัญที่สุดคือมีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยและคลายเครียด”


ต่อยอดกิจกรรม

หากมีโอกาสจัดกิจกรรมลักษณะนี้ขึ้นอีกหรือได้พัฒนาโครงการต่อ รุสบอกว่า Peace of Art สนใจจัดต่อแบบครั้งที่สองตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ไปจนถึงตัวกิจกรรม การทำให้พื้นที่ตรงนี้มีคนทุกเพศเข้ามาคือความท้าทายที่เธออยากก้าวข้ามให้ได้ เพราะที่ผ่านมามีเพียงผู้เข้าร่วมเพศหญิงเท่านั้น 

และในระยะยาวเธอคิดต่อยอดถึงขั้นเปิดเป็นคาเฟ่

“ถ้าจะทำให้โดดเด่นเราอาจทำเป็นคาเฟ่คลายเครียด จะมีเซ็ตอาหาร DIY ที่ได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ตัวเมนูอาจเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยแบ่งอาหารออกเป็นหลายประเภททั้งสายเฮลตี้และสายทั่วไป” รุสเล่าต่อว่าเธออยากสร้างความภูมิใจง่ายๆ ให้กับทุกคนซึ่งการได้ลงมือตกแต่งหรือปรุงอาหารด้วยตัวเองก็เป็นหนึ่งในวิธีสร้างคุณค่าให้ตัวเองได้
ไม่เพียงเท่านี้เธอยังคิดว่าจะจัดเวิร์กช็อปรายเดือนเพื่อให้มีกิจกรรมบำบัดความเครียดเสริมเข้ามาด้วย รวมถึงมีคอร์สพิเศษสำหรับคนที่รู้สึกอยากผ่อนคลายความเครียดผ่านการทำอาหารแบบเดี่ยว

และหากคาเฟ่เป็นจริงเธอยังนึกถึงไอเดียตั้งต้นเรื่องศิลปะบำบัดมาดัดแปลงผ่านการใช้สีจากอาหารมาวาดภาพด้วย

ทั้งนี้รุสเล่าว่าจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของเธอที่ลองส่งโครงการเข้าร่วม Youth Co:Lab สิ่งที่เธอได้เรียนรู้รับว่ามาไกลมาก โดยเฉพาะมุมมองด้านธุรกิจผ่าน Business Model Canvas ที่เธอไม่เคยเรียนรู้มาก่อน รวมถึงการทำหาอินไซต์ที่ทำให้เธอออกแบบงานได้ตรงโจทย์ความต้องการของผู้เข้าร่วมและเดินต่อได้ถูกทางมากยิ่งขึ้น มีเครื่องมือไปใช้กับผู้เข้าร่วมได้หลากหลายยิ่งขึ้น

Keywords: , , , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779