• Published Date: 22/10/2019
  • by: UNDP

‘เพราะคนในพื้นที่คือหัวใจสำคัญของการพัฒนา’ ถอดบทเรียนจากเวิร์กชอป Training of Trainers for Social Innovation and Social Enterprise Localization

แปลจากบทความภาษาอังกฤษเขียนโดย Haidy Leung จาก ChangeFusion

 

เวิร์กชอป Training of Trainers (ToT) for Social Innovation and Social Enterprise Localization ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับ ChangeFusion และมี Tandemic เป็นผู้นำกระบวนการ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 คน จากทั่วทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ อุดรธานี ขอนแก่น  เลย พะเยา นครศรีธรรมศรีราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

 

ที่มาที่ไป

เมื่อปีที่แล้ว UNDP ได้ให้ ChangeFusion จัดทำรายงานการลงทุนทางสังคมและภูมิทัศน์นวัตกรรมการเงินในประเทศไทย (Social Impact Investment and Innovative Finance Landscape Mapping Report) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาช่องว่างและโอกาสในการลงทุนทางสังคม ที่จะสามารถพัฒนาและขยายนวัตกรรมสังคมและความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมออกไปในวงกว้าง ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญก็คือการสนับสนุน ‘นักสร้างการเปลี่ยนแปลง’ หรือ changemaker ในท้องถิ่น การพัฒนาแบบกระจายอำนาจ เช่น การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะในพื้นที่ (local incubation hub) และการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการทางสังคมที่เน้นแฟ้น จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์รวมในประเทศเร็วขึ้น และทำให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) บรรลุผลได้ตั้งแต่ในระดับรากหญ้า

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีโครงการบ่มเพาะ (social incubation program) เกิดขึ้นมาจำนวนมาก แต่การจัดกิจกรรม การสนับสนุน การให้ความรู้ หรือการรวมตัวกันในด้านนวัตกรรมสังคมและความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมยังคงกระจุกตัวอยู่เพียงแค่ในกรุงเทพฯ ระยะทางยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนที่มีความสามารถในจังหวัดอื่น ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาเข้าร่วม นอกจากนี้ เนื้อหาหรือการดำเนินกระบวนการบางอย่างที่ใช้ในกรุงเทพฯ อาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้กับบริบทของพื้นที่อื่น ๆ

 

อย่างไรก็ตาม  ยังมีข้อมูลความรู้ วิธีการ และกระบวนการดี ๆ อีกมากจากผู้บ่มเพาะในปัจจุบันที่สามารถแบ่งปันกับนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ก่อนที่จะจัดเวิร์กชอป ToT ในครั้งนี้  UNDP ได้นำองค์กรที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการบ่มเพาะทางสังคม ทั้ง ChangeFusion School of Changemaker SEED Good Factoty และอื่น ๆ อีกมากมายมาเจอกัน เพื่อแสดงความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ และพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึก วิธีการ และเครื่องมือที่ใช้ต่าง ๆ ซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นก็ได้ถูกรวบรวมออกมาเป็น ‘The Social Incubation Playbook’ และนำมาใช้ในเวิร์กชอปเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการพัฒนาโครงการบ่มเพาะของผู้เข้าร่วมแต่ละคน

 

 

เกิดอะไรขึ้นใน 3 วันของการเวิร์กชอป?

วันที่ 1:

เริ่มต้นจากพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ผู้เข้าร่วมเรียนรู้การประมวลผล วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมาย (ผู้ที่จะรับการบ่มเพาะ) เพื่อทำความเข้าใจถึงแรงบันดาลใจในชีวิตและความต้องการที่แท้จริงของเขา


 

วันที่ 2:

หลังจากที่ได้โจทย์ปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ผู้เข้าร่วมก็เรียนรู้วิธีการะดมสมอง คิดไอเดีย และพัฒนาต้นแบบจำลอง (prototype) โดยมีการใช้การเล่นบทบาทสมมติ (Role Play) เพื่อทดสอบต้นแบบของแต่ละทีม

 

วันที่ 3:

ผู้เข้าร่วมได้ทดลองออกแบบแผนโครงการให้มีความยั่งยืน รู้จักวิธีการหารายได้ การสื่อสาร และการวัดผลกระทบทางสังคม ตามด้วยการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมาทั้งหมดว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละคนได้อย่างไร

 

สิ่งที่เราได้เรียนรู้และเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมโครงการ

 

1. กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าไปสนับสนุนและบ่มเพาะในพื้นที่อาจเป็นได้ทั้งนักกิจกรรมสังคม นวัตกรสังคม ผู้ประกอบการทางสังคม หรือทั้ง 3 แบบรวม ๆ กันก็ได้

ทุกคนมีอิสระในการเลือกกลุ่มเป้าหมายของตนเองตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะบ่มเพาะกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญ หรือไม่เคยมีประการณ์ในด้านนั้น ๆ มาก่อน ก็ต้องหาความร่วมมือจากผู้ที่จะช่วยเราได้ เช่น หากต้องการบ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม แต่พื้นหลังความถนัดของเราเป็นนักกิจกรรมสังคมมาโดยตลอด เราอาจต้องหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจมาเติมเต็มช่องว่างที่ขาดไป


 

2. เครื่องมือที่รวมรวบมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่พบว่าเครื่องมือที่ช่วยสกัดข้อมูลเชิงลึกมีประโยชน์มากกับการทำงานพัฒนา เนื่องจากมันทำให้เข้าใจทั้งความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ขึ้น ซึ่งโดยมากก็จะเป็นกลุ่มเยาวชนและนักเรียนในพื้นที่ เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ที่สอนในเวิร์กชอปยังช่วยในการสะท้อนสิ่งที่ทำ กับเป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่


 

3. ต้องนำเครื่องมือไปปรับใช้และลองทำซ้ำไปวนมาบ่อย ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้น ๆ

การใช้เครื่องมือใน playbook ให้ได้ผล ผู้ใช้ต้องรู้จักเอาไปทดลองทำบ่อย ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และค่อย ๆ ปรับให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อที่จะหาวิธีการพัฒนาที่มีประสิทธิมากที่สุด

 

4. มีโอกาสอย่างมากที่จะจัดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (cross-learning session) กันได้ในอนาคต

แม้ผู้เข้าร่วมในครั้งนี้จะมาจากหลากหลายพื้นที่ มีที่มาที่ไปที่ต่างกัน แต่ว่าแต่ละคนก็มีประสบการณ์และพบเจอปัญหาที่คล้ายกันหลายอย่าง เพียงแค่ต่างบริบทกันเท่านั้น ตัวอย่างเช่น จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตใกล้กับประเทศลาวและเวียดนาม กับ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคลายคลึงกันในเรื่องของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดน เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเห็นว่าเป็นการดีที่จะจัดเวิร์กชอปขึ้นอีกครั้งเพื่อติดตามผลหลังจากที่แต่ละคนได้ลองกลับไปประมวล ทดลอง และริเริ่มโครงการของตัวเอง เพื่อนำกลับมาแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้นั้น และหาโอกาสในการทำงานร่วมมือกันระหว่างภูมิภาค

 

Keywords: , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779