• Published Date: 17/10/2019
  • by: UNDP

จากแนวคิด ‘Circular Economy’ สู่โมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

ในปัจจุบันเราต่างเผชิญกับ ‘ปัญหาขยะ’ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ ถุงพลาสติกหนึ่งใบเราอาจใช้งานไม่ถึง 10 นาที แต่ต้องใช้เวลาถึง 450 ปีกว่าจะย่อยสลาย ทุกวันนี้ทั่วโลกผลิตขยะพลาสติกประมาณ 6,300 ล้านตัน และกว่า 79% ถูกทิ้งไว้ในธรรมชาติ ที่ผ่านมาเราแก้ปัญหาด้วยกระบวนการ 3R ได้แก่ ลดใช้ ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ดังนั้นเราจึงต้องย้อนกลับไปที่ต้นน้ำก็คือ ‘ผู้ผลิต’

เมื่อก่อนเรามีระบบเศรษฐกิจเส้นตรงที่เรียกว่า ‘Linear Economy’ หรือการผลิตแบบใช้แล้วทิ้ง (make-use-dispose) ซึ่งใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทั้งยังสร้างขยะและปล่อยมลพิษออกสู่ระบบนิเวศ ทางออกของโลกในตอนนี้คือ ‘Circular Economy’ หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่นำวัตถุดิบจากสินค้าที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (make-use-return) โดยเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้ซ้ำ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากด้านเศรษฐกิจ เมืองที่จะยั่งยืนได้จำเป็นต้องยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อม (Built Environment) เช่น รูปแบบอาคาร โครงสร้างพื้นฐาน เขต และเมือง, ระบบพลังงาน (Energy Systems) อย่างพลังงานทดแทน เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล, ระบบขนส่งในเมือง (Urban Mobility System) อย่างขนส่งสาธารณะพลังงานไฟฟ้า, เศรษฐกิจชีวภาพในเมือง (Urban Bio Economy) เช่น การใช้วัสดุทดแทน และการจัดการขยะอาหารให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์, ระบบการผลิตท้องถิ่น (Local Production System) เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน, กฎหมายและนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Legislation and Policies) อย่างการจัดเก็บภาษีและเงินสนับสนุน, การสร้างความตระหนักรู้ การศึกษา และการวิจัย (Awareness, Education and Research) เผยแพร่ความรู้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

ประเทศไทยมีการปรับตัวเพื่อสู้กับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม อย่างนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ตามแนวทางการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าด้วยเรื่องการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

ไม่ใช่แค่ภาครัฐเท่านั้นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก องค์กร หรือตัวบุคคล ก็มีส่วนร่วมในการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจจากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้สรุปไว้ 5 แนวคิด ดังนี้

1. Circular Design : การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน และสามารถใช้ซ้ำได้ อย่าง YETI แบรนด์แก้วคูลเลอร์ขนาดกระทัดรัด ด้วยคุณภาพที่ทนทาน และเก็บน้ำเย็นได้ดีเยี่ยม

2. Circular Supplies : การพัฒนาวัสดุทดแทน อย่างเทคโนโลยีวัสดุชีวภาพ (Bio-based materials) และวัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ ไปจนถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต อย่าง Nike ที่มีโปรแกรม Reuse-a-Shoe นำรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลเป็น Nike Grind นำไปผลิตสินค้าใหม่ๆ รวมถึงพื้นผิวสนามกีฬา พื้นลู่วิ่ง และสนามเด็กเล่น เป็นต้น

3. Product as a service : การบริการในรูปแบบให้เช่า หรือจ่ายเมื่อใช้งาน (pay-for-use) แทนการซื้อขาด อย่าง Media Markt บริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ในบ้านที่เยอรมนี มีบริการให้เช่าสินค้าเพื่อใช้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น เทศกาล หรือฤดูกาลต่างๆ

4. Sharing Platform : การใช้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น Airbnb ที่เปลี่ยนบ้านเป็นที่พักรองรับนักท่องเที่ยวชั่วคราว หรือ Uber ที่ให้บริการรถแท็กซี่โดยอาศัยสมาร์ทโฟน

5. Resource Recovery : การออกแบบให้มีระบบนำกลับ (Take-Back system) เพื่อนำวัตถุดิบเหลือใช้ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ยังใช้งานได้ กลับเข้าสู่กระบวนการ อย่าง M*lkman ที่เดลิเวอรีนมที่ผลิตจากถั่วส่งตรงถึงบ้าน เมื่อดื่มแล้วเพียงวางขวดแก้วเปล่าไว้หน้าประตูบ้านก็จะมีรถจากบริษัทมารับขวดกลับไป

นอกจากระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังช่วยภาคธุรกิจลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มรายได้จากเทคโนโลยีที่ใช้วัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการลงทุนธุรกิจใหม่ๆ และสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

ที่มา:
https://bit.ly/317rtmO
https://bit.ly/2Mu8WMw
https://bit.ly/2K8Nn2A
https://bit.ly/2OFi43E
https://bit.ly/2pahoZi
https://bit.ly/2OFA4dY
https://bit.ly/2oA7P5L

#UNDP #UCxUNDP #CircularEconomy

Keywords:
Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779