• Published Date: 21/03/2019
  • by: UNDP

บทบาทใหม่ของเมืองและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรม

เพราะคนของเมือง คือหน่วยที่เล็กที่สุดของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

เรากำลังอาศัยอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถูกทับด้วยกองหลักฐานของความไม่ไว้วางใจจากภาคประชาชน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เป็นไปอย่างจำกัด ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของต้นทุนหรือความสามารถในการลงมือทำ (แม้ว่าเรามักจะชอบชี้ประเด็นไปที่ความขาดแคลนเหล่านี้ก็ตาม) แต่เป็นเรื่องของความหมายในการสร้างความชอบธรรมหรือการแบ่งปันเครือข่ายระหว่างกัน เพื่อกำหนดเป็นทิศทางของเป้าหมายเมืองในอนาคต

เราจะจัดการกับความชอบธรรมอันอ่อนแอที่กำลังเติบโตมากขึ้นในบริบทที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างไร มีปัจจัยหลายส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งความสามารถการผลิต กระแสนิยม และกลุ่มผู้ขับเคลื่อน รวมถึงปัจจัยอื่นอย่างการเปลี่ยนแปลงทางประชากรครั้งใหญ่ สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ระบบอาหารที่อันตราย และผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นการสร้างผลตอบกลับแบบเป็นลูปตามมา ผลของการล้นทะลักของประชากร การขาดแผนที่ถูกวางอย่างรอบคอบ และการไม่ได้จินตนาการล่วงหน้าถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้น

เมืองคือพื้นที่ที่รวมเอาระบบที่มีความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ระบบอาหาร การขนส่ง ระบบการเงิน ระบบน้ำ สถาบันเพื่อพัฒนาคน โรงเรียน มหาวิทยาลัย และอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงระบบที่ซ่อนอยู่ในลักษณะที่ผสมผสานกันนี้ เป็นความท้าทายอันยากเย็นที่เรากำลังเผชิญอยู่และเปิดโอกาสมากมายในอนาคต ทั้งโอกาสในการลดก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์อย่างเต็มรูปแบบ ปลดปล่อยความสามารถของนวัตกรรมองค์รวมให้กับเศรษฐกิจ และสร้างสภาพอากาศที่มีคุณภาพ ทั้งหมดเหล่านี้คือระบบนวัตกรรมที่เมืองต้องการ

ความซับซ้อนนี้ (ที่รวมระบบของระบบและความต้องการทางแก้ปัญหาเชิงสังคมที่เป็นธรรม) เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดโครงสร้างใหม่ของความชอบธรรม โลกที่กำลังขยายตัวเรียกร้องกลยุทธ์สำคัญคือการกระจายอำนาจจากศูนย์กลางรัฐชาติไปสู่ภูมิภาค และเปิดพื้นที่ให้เมืองได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องที่มากไปกว่าการที่รัฐชาติจะแค่เพียงมอบอำนาจให้กับเมือง ถ้าหากเมืองเป็นกลไกที่แท้จริงของการพัฒนาบุคลากรมนุษย์ (Human Development) 2.0 ที่ที่พวกเราสามารถระบุและเอาชนะความท้าทายในสังคมเพื่อที่จะสร้างการปฏิวัติวัฒนธรรม (Industrial Revolution) 4.0 ที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบเดิมที่ติดล็อคและให้อิสระกับสิ่งที่เรียกว่า ‘การประหยัดจากขอบเขต’ (economies of scope หมายความถึงทิศทางการยกระดับศักยภาพด้วยการทำธุรกิจหลายประเภทที่มีความเชื่อมโยงกัน (Supply chain) เพื่อให้ใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น) บริบทและระบบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสร้างภาพรวมของการแก้ปัญหาที่ชอบธรรมในโลกที่ซับซ้อนนี้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องการการได้รับการพัฒนาและต้องอาศัยการสร้างจินตนาการขึ้นมาใหม่

การสร้างความชอบธรรมใหม่ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ คือการปรึกษาหารือ (ทางการเมือง) และโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการมีส่วนร่วมโดยการอภิปรายของพลเมืองและการกำหนดนโยบายของพลเมือง ความต้องการนี้เป็นมากกว่าแค่เครื่องมือของการระดมความคิดเห็น ผู้คนในเมืองมีความตระหนักที่ดีขึ้นในการจัดการปัญหาความท้าทายที่ซับซ้อนของกระบวนการในการพิจารณา เพราะถ้าหากมองข้ามทางแก้ปัญหาที่ไร้ความหมาย ก็จะไม่เกิดการแก้ปัญหาที่มีอยู่จริง อย่างที่พวกเรากำลังเป็นพยานให้กับฝ่ายการเมืองที่ปฏิเสธการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมเพื่อสภาพอากาศที่มีคุณภาพ

การจะสร้างลักษณะที่เป็นธรรมขึ้นมาใหม่ในโลกที่ซับซ้อนนี้ต้องอาศัยการปฏิรูปมหาศาล โดยตั้งอยู่บนสิ่งที่เราทำในปัจจุบัน  อยู่ภายใต้การเริ่มต้นและข้อจำกัดของประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.การกำหนดนโยบายที่วัดผลได้และนำมาใช้อย่างมีความหมาย โดยรัฐบาลแห่งชาติ สร้างพื้นที่ที่ชอบธรรมตามกฎหมายสำหรับการตอบสนองเชิงสังคมและนวัตกรรมของเมือง ในขณะที่จะต้องประคับประคองความสามารถในการรับและความสามารถในการผลิต เพื่อที่จะให้ความรู้สึก คำนิยาม การปรับเปลี่ยน และการขยายตัวของชาติ เครือข่าย และเป้าหมายที่แชร์ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ความเป็นไปได้และเครื่องมือข้อนี้ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นถึงส่วนสำคัญไว้อย่างชาญฉลาด อ่านได้ในผลงานของ Yuen Yuen Ang และหนังสือที่เธอเขียนที่ชื่อ How China Escaped The Poverty Trap คือตัวอย่างที่ยอดเยี่ยม

2.การเปลี่ยนแปลงอย่างมีวัตถุประสงค์และออกแบบการใช้งานต้นทุนเดิมของชาติให้เข้าสู่ศูนย์กลางใหม่ การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง การใช้งานเครือข่ายของเมืองที่รวมอยู่ตามภูมิภาค สนับสนุนการร่วมกันในด้านความรับผิดชอบส่วนงบประมาณและการรวมเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน

3.การกระจายความรับผิดชอบอย่างมีเป้าหมายของหน่วยงานตัวแทนนวัตกรรมแห่งชาติ ในกรณีนี้หมายถึงเมืองที่มีหน่วยงานตัวแทนนวัตกรรมนั้นจริง ให้จัดการปัญหาเรื่องระบบที่ไม่เท่าเทียมของการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและการใช้งบเพื่อวิจัยและพัฒนาอย่างเหมาะสม

4.ระบบและการใช้ระบบของกระบวนการอภิปรายทางการเมือง หมายถึงการรวมกลุ่มกันของพลเมือง คณะลูกขุนเทศบาล และมากไปกว่านั้นคือ คอมมูนิตี้ (เชิงธุรกิจ) เพื่อร่วมกันพัฒนาย่านมีมาตรฐานและเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในระบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย (ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับความท้าทายนี้)

5.สร้างวัฒนธรรมที่เป็นระบบแห่งการลงประชามติและการลงคะแนนเสียงสองเท่า (รวมความตั้งใจเข้า กับความคิดเห็น) ในขณะที่กระบวนการของการอภิปรายทางการเมืองนั้นเป็นกลไกที่ทรงพลังในการสร้างมติมหาชนใหม่ แต่เราก็จะต้องผ่านกระบวนการที่ยากเย็นและความท้าทายที่ซับซ้อน ต้องการองค์ประกอบที่ทำให้สมบูรณ์ นั่นคือความสามารถของนักการเมืองและกระบวนการอภิปรายทางการเมือง ด้วยการสร้างความสามารถที่ทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นไปอย่างชัดเจน ได้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจที่ซับซ้อนมากขึ้น สร้างโครงสร้างสำหรับการให้ข้อมูล เพราะการอภิปรายที่เป็นธรรมคือการมีโครงสร้างโปร่งใส่ การได้อิทธิพลจากภายนอก และการสร้างความเปลี่ยนแปลงเท่าที่จำเป็น

6.พัฒนาข้อพิสูจน์ (Evidence) ที่มีพื้นฐานจากการกำหนดนโยบาย เพื่อสร้างพลเมืองที่รอบรู้ (Informed Citizenship) ที่มีพื้นฐานจากการกำหนดนโยบายเช่นกัน เราต้องการการยกระดับเมืองอย่างมีโครงสร้าง เพื่อทำให้ข้อมูลและหลักฐานสามารถส่งต่อได้อย่างถูกต้อง จากโครงการในปัจจุบันของ “Evidence to Policy-makers to Politicians” หรือ “จากข้อพิสูจน์ถึงผู้วางนโยบาย จากผู้วางนโยบายถึงนักการเมือง” หมายถึงนักการเมืองจะต้องก่อตั้งฉันทามติใหม่ให้เป็นทางเลือก เพื่อให้พลเมืองได้ใช้หลักฐาน ข้อมูล ภาพต่างๆ เป็นข้อมูลในการสร้างจิตสำนึกพลเมือง (=แรงผลักดันที่จับต้องได้ อย่างเช่นเรื่องแปลงข้อมูลมลพิษทางอากาศให้เป็นภาพ หรือลดการแชร์ข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ถูกต้อง เพื่อสร้างบริบทใหม่สำหรับนโยบายที่มีความเป็นไปได้) นี่คือความจริงใหม่ ที่ว่าบทบาทของนักการเมืองมีผลต่อการสร้างฉันทามติใหม่ (บทความนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นคุณค่ารูปแบบใหม่ ลดบทบาทและการเผยแพร่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลง)

7.แฮ็กเมือง (Civic Hacking) แห่งอนาคต – ในขณะที่พวกเรากำลังยอมรับประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นระบบ ฝั่งสตาร์ทอัพก็มีบทบาทในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเปลี่ยนแปลงเมืองมากขึ้น เทคโนโลยีและผลของมันไปไกลกว่าระดับบุคคลสู่การสร้างผลในระดับของเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ไอเดียของสตาร์ทอัพจำเป็นต้องมี “พื้นที่จริง” สำหรับการทดลองนวัตกรรมที่มีความซับซ้อนให้กลายเป็นโครงสร้าง การแฮ็กเมืองเพื่ออนาคตต้องการโครงสร้างแข็งแรงที่สร้างจากด้านล่าง นั่นคือความเชื่อใจจากพลเมืองและความเป็นธรรม (อย่างที่โครงการ Sidewalk Toronto ทำได้) ในอนาคต นวัตกรรมที่มีความหมายจะต้องให้ความสำคัญกับการเปิดรับความร่วมมือและข้อปฏิบัติของพลเมืองมาเป็นที่หนึ่ง ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมระบบและเป็นส่วนขยายการลงทุน เมืองจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศและเศรษฐกิจที่หมุนเวียนจากนวัตกรรมพลเมือง จะสามารถเพิ่มความเร็วของการทดลองและการปรับใช้ในอนาคต

8.สร้างการควบคุมเมืองใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้เตือนว่าเมืองต้องการสิ่งที่มากไปกว่าการปกครองเมืองทั่วไป ทั้งการแบ่งอำนาจใหม่ (ระหว่างการทำข้อมูลให้เป็นภาพของพลเมืองและข้อมูลเชิงนโยบาย ระหว่างการผสมผสานบริการภาครัฐและการยินยอมของระบบ หรืออื่นๆ) สิ่งนี้ต้องการโครงสร้างการควบคุมใหม่ ซึ่งแสดงว่าเห็นคุณค่าของการพัฒนาเทคโนโลยีข้อมูล (อย่างเช่น อินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ) และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (เช่น ปัญญาประดิษฐ์ IoT ข้อมูล) ทั้งสองเปลี่ยนถ่ายอำนาจมาสู่มือของพลเมืองจากรัฐที่ถือไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยนำความรับผิดชอบของรูปแบบการดำเนินงานของรัฐมาปรับให้เป็นยุคดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ นำมาซึ่งระบบการจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ลดงบประมาณที่ใช้ในระบบราชการให้แทบเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ผู้คนยังสามารถเปลี่ยนข้อควบคุมต่างๆ ให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์จดจำได้ พัฒนาเป็นเครื่องมือต่อรองกับการตัดสินใจที่ซับซ้อนด้วย ข้อควบคุมที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างสม่ำเสมอ เพิ่มพลังในการรับผิดชอบกับความต้องการในมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ความจริงใหม่นี้ต้องการพลเมืองเพื่อกำหนดโครงสร้างที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรม สำหรับการกำหนดนโยบายลักษณะพิเศษและความหมายใหม่สำหรับการคัดกรองทางสังคม ที่จะไปไกลกว่ารายกงานผลกระทบการตรวจสอบภายใน ช่วงเวลานี้นำเสนอโอกาสเชิงกลยุทธ์สำหรับการสร้างโครงสร้างของความเชื่อใจใหม่หรือทำลาย/ กัดกร่อนรากฐานเดิมที่มีอยู่

9.สร้างความชอบธรรมให้กับนักการเมือง บางทีนี่ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับโลกในขณะนี้ ข้อตกลงที่ดีนั้นต้องถูกคิดค้นขึ้นมาในสถานการณ์ต่างๆ แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญนั้นคือเราต้องยอมรับว่า การควบคุมตนเองของนักการเมืองและมาตรฐานทางจริยธรรมของพวกเขานั้นไม่เพียงพอในโลกที่ซับซ้อน เพียงแค่ขั้นตอนทางจริยธรรมและการกำกับดูแลมาตรฐานกฎระเบียบและการปฏิบัติตามของนักการเมืองให้กับคณะลูกขุนที่ยืนอยู่ การประชุมพลเมืองจะช่วยปรับปรุงความโปร่งใส ความเข้าใจ ความซื่อสัตย์ และความไว้วางใจในนักการเมือง ระบบการเมืองของเราในการปฏิบัติและส่งออกไปยังโลกที่ซับซ้อน

รายการเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เป็นการจำกัดเบื้องต้นเปรียบเหมือน ‘สสารมืด’ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แยกออกจากกายภาพ วัฒนธรรม หรือช่องว่างที่เห็นชัดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรงและเมืองที่คิดถึงสังคมส่วนรวม นั่นหมายถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่างและวิธีการที่สามารถปฏิวัติผู้คนและโลกใบนี้ได้ ความพยายามของพวกเราตรงนี้จึงเป็นการตระหนักถึงความจริงที่ว่า ถ้าหากเมืองของเรานั้นเป็นหน่วยขนาดเล็กของการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเราจะสามารถทำซ้ำตามขั้นตอนอันล้าสมัยของรัฐชาติได้ พวกเราจำเป็นต้องกลายเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างใหม่แห่งการปกครองประเทศในศตวรรษที่ 21 นั่นหมายถึงการสร้างความชอบธรรมให้กับส่วนต่างๆ สร้างระบบการจัดการและส่งเสริมความสามารถของนวัตกรรมจากระดับที่เล็กที่สุดจากริมถนน สู่ใจกลางเมือง เปลี่ยนแปลงจากย่านสู่เมืองทั้งหมด

ถ้าหากอนาคตคือการวางใจในเมืองของเรา พวกเราต้องการการจินตนาการใหม่โดยมีพื้นฐานจากการปกครองเมืองและการปกครองประเทศที่เหมาะสมและสอดคล้องไปกับการพัฒนาอันศิวิไลซ์ที่กำลังท้าทายเราอยู่ในตอนนี้ ทั้งเราต้องเริ่มต้นจากการตระหนักถึงเส้นโคจรแห่งอนาคต ควบคุมกลุ่มก้อนของปัญญาในการเปลี่ยนแปลงและรู้ถึงอนาคตที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนและรักษาโลกใบนี้เอาไว้ได้

ในขณะที่เราคิดการทดลองที่ยิ่งใหญ่ คือการเปลี่ยนแปลงศาสตร์แห่งการปกครองประเทศใหม่ในสเกลเมือง “เมือง” ในฐานะอนาคตแห่งการเปลี่ยนแปลง ทางแก้ไขปัญหาสำคัญคือมีกลุ่มคนที่กล้าเริ่มต้นมากขึ้น มีการขยายคอมมูนิตี้มากขึ้น และสนับสนุนเหล่านวัตกรที่มีกลยุทธ์ทั่วโลก อย่างที่ UNDP Eurasia หน่วยงานที่เปิดตัวโครงการใหม่ City Experiments Fund มูลนิธิ McConnell Foundation กับการสนับสนุนทุนโปรเจ็กต์ Future Cities Canada และการเป็นส่วนร่วมในงาน Climate KIC ที่อยู่ภายใต้โครงการ City Transitions หรือโปรเจ็กต์ 100 Resilient Cities และ Bloomberg Philanthropies ทำงานร่วมกับเทศบาลเมืองทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เป็นการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางสู่ภูมิภาคเมืองในหลายประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักรกับโครงการ C40 Cities โครงการให้ความช่วยเหลือผู้นำระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแพลตฟอร์มใหม่ๆ และการสร้างเครือข่ายรวมที่พร้อมส่งเสริมศักยภาพของเมือง อาทิ Fab City Global Initiative, ParticipatoryCity, CivicSquare และ Co-Cities เป็นต้น

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779