• Published Date: 13/09/2019
  • by: UNDP

Hate Speech = Violence เรากำลังใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า ?

Hate Speech = Violence
เรากำลังใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า ?

.

ความรุนแรง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำเท่านั้น เพราะเพียง ‘คำพูด’ หรือ ‘ข้อความ’ เพียงไม่กี่ตัวอักษรในชีวิตประจำวันหรือโลกออนไลน์ ก็เป็นชนวนสำคัญที่สร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นในสังคมได้ เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘Hate Speech’ หรือ ‘คำพูดเชิงเกลียดชัง’ ที่ผู้พูดอาจพูดอย่างตั้งใจหรือบางครั้งไม่ทันคิด แต่กลับสร้างบาดแผลราวกลับถูกยาพิษให้ผู้ฟัง กลายเป็นความเกลียดชังที่หลายต่อหลายครั้งลุกลามจนถึงขั้นความรุนแรง

Hate Speech หรือ คำพูดเชิงเกลียดชัง คือการพูดหรือการสื่อความหมายที่สร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนในสังคม โดยส่วนมากจะมุ่งไปที่อัตลักษณ์ของกลุ่มคนหรือปัจเจกบุคคลนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว เพศ อาชีพ อุดมการณ์การเมือง หรือลักษณะอื่นที่สามารถแบ่งแยกผู้คน หรือลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชัง และกลายเป็นความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากการไม่รับฟังความคิดเห็นที่ต่างออกไป

 

Cyberbullying : โลกออนไลน์แห่งการบูลลี่

โลกออนไลน์กลายเป็นพื้นที่สำหรับสร้าง Hate Speech มากที่สุด นั่นเพราะไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึง และแสดงออกความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย การบูลลี่ (bully) คนอื่นด้วยถ้อยคำต่างๆ นานาที่เต็มไปด้วยการดูถูก ตึงเครียด ไปจนถึงก้าวร้าวถูกสาดมาเกลื่อนเต็มพื้นที่ จากหนึ่งกลายเป็นสอง ขยายวงกว้างเรื่อยๆ และเกิดเป็นค่านิยมในที่สุด เช่น การวิจารณ์รูปร่างของคนอื่นในเฟสบุ๊ค การตั้ง status แขวะกัน ไปจนถึง Live ด่ากันก็มี ไม่เพียงเท่านั้น สื่อหลักหรือสื่อหน้าใหม่บ้างเจ้า ยังโหนกระแสนำเรื่องเหล่านี้ไปขยายประเด็นเพิ่มเติม จนทำให้เรื่องบางเรื่องถูกวิจารณ์กันอย่างสนุกปาก และการบูลลี่ก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยายในบางสังคม

สิ่งที่น่ากลัวสำหรับการบูลลี่ในโลกออนไลน์ คือสิ่งที่เรียกว่า ‘การล่าแม่มด’  (Witch-hunt) ที่แต่เดิมคือคำที่ใช้ไล่ล่าคนที่ถูกตรีตราว่าเป็นแม่มดหรือฝึกฝนไสยศาสตร์ในยุคกลางของยุโรป มีผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อของการไล่ล่าแม่มด การทรมาณ การประหารชีวิตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก วาทกรรมนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในโซเชียลมีเดีย โดยการจู่โจมใครสักคนหนึ่งหลังคีย์บอร์ด ขุดคุ้ยประวัติ หาข้อมูลต่างๆ มาทำให้เสียชื่อเสียง กลั่นแกล้ง และประจานกันในพื้นที่สาธารณะ

 

Labelling : ตีตราให้ค่าโดยไม่ไตร่ตรอง

หนึ่งในสาเหตุของการมี hate speech จนนำไปสู่ cyberbullying คือ การตีตรา (Labelling) ที่ผสมกับชุดวาทกรรมที่เชื่อกันแบบผิดๆ มาใช้แบ่งประเภท หรือตัดสินความเป็นคนนั้นทันที โดยที่ไม่ได้รู้จักกันดีด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การตัดสินกลุ่ม LGBTQ+ ว่าพวกเขาผิดปกติ ไม่เป็นไปตามสังคมกำหนด ทั้งยังเชื่อว่าต้องอาภัพรัก ไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวตลกในสายตาใครๆ และที่น่าเศร้าใจมากกว่านั้น คือการที่บางสื่อยังคงผลิตซ้ำความคิดเหล่านี้ จนกลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)

อีกหนึ่งกรณีที่เราอยากยกมาพูด คือการตัดสินคนผ่านถิ่นกำเนิด เช่น เป็นคนใต้ต้องตัวดำ เป็นชาวเขาต้องพูดไม่ชัดและไม่ทันโลก เป็นคนอีสานต้องกรามใหญ่ และทำอะไรเปิ่นๆ จนมีคำพูดดูถูกพวกเขาว่า ‘อย่ามาทำตัวลาวหน่อยเลย’ ดังนั้น การตีตราก่อนรู้จัก โดยไม่ได้คิด หรือไตร่ตรองให้ดี จึงกลายเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม และอาจลืมไปว่า สิ่งที่ซ่อนอยู่คือ ความเกลียดชังปะปนความรุนแรง

 

Climate Change : เพราะอากาศเปลี่ยนแปลง

สภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ส่งผลให้ความเข้าใจเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในที่นี้ หมายถึงการนำความคิดเราไปตัดสินเรื่องราวเหล่านั้น เช่น เรื่องฝุ่น PM 2.5’ ที่เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนเมืองกับผู้คนที่อยู่ในป่า นั่นคือฝั่งคนเมืองมองว่า คนในป่าเป็นคนเผ่าป่า จนสร้างฝุ่นคลุ้งเข้ามากระทบในเมือง ในขณะที่ผู้คนในป่าก็มองว่า บรรดาคนเมืองที่ทำโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากท่อไอเสีย คือผู้ที่สร้างมลพิษ โดยที่อาจลืมไปว่า เราไม่ได้เป็นเขา และเขาก็ไม่ใช่เรา

หรือในกรณีของขยะพลาสติกที่ผู้รายได้น้อยมักจะถูกเหมารวมว่า ใช้พลาสติก หรือโฟมเยอะ เพราะไม่มีกำลังทรัพย์ไปซื้อภาชนะที่สามารถย่อยสลายได้ หรือไม่เคยตระหนักคิดถึงเรื่องนี้ ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นตัวการสร้างขยะพลาสติก และไม่ว่าใครก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเรื่องสภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

 

Politics : การเมืองร้อนซ่อนความรุนแรง

‘ดร.มาร์ค เจริญวงศ์’ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวในงานสัมมนาสาธารณะ “Hate Speech บนโลกออนไลน์ บาดแผลร้ายที่ใครต้องรับผิดชอบ” จัดขึ้นโดยผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลางด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสก.) รุ่นที่ 8 สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยว่า ปัญหา Hate Speech ที่พบในประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งมีความรุนแรง คือการใช้วาจาสร้างความเกลียดชังในเรื่องการเมือง

ยิ่งการเมืองร้อนฉ่า ความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง Hate Speech ที่เกิดขึ้นยิ่งเผ็ดร้อน ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสถานการณ์ที่มีการแบ่งขั้วชัดเจน ชอบหรือไม่ชอบอีกฝ่าย คำด่าทอมากมายถูกพ่นออกมา รวมถึงการประท้วงเรียกร้อง สิ่งที่ตามมาคือความรุนแรงจนบางครั้งถึงขั้นลงไม้ลงมือ และกระทบกับสังคมโดยรอบ มากไปกว่าการใช้ Hate Speech ระหว่างคนที่มีอุดมการณ์ต่างกัน นั่นคือคนในแวดวงการเมืองเอง ที่เป็นผู้กำหนดกฎหมายยังใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือทำร้ายคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเพศ เชื้อชาติ อายุ หรือการแต่งกายที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกสภา

 

Case Study : Crying in Public, New York – U.S.A

รู้สึกอย่างไร ให้แสดงออกผ่านอิโมจิ

บางครั้ง Hate Speech อาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่คนอื่นทำ ความเห็นที่แตกต่าง หรือเกิดขึ้นจากความโมโหจนพูดจาทำร้ายจิตใจ สร้างความเกลียดชัง จนกลายเป็นความรุนแรง อารมณ์เหล่านั้นควรได้รับการปลดปล่อยหรือเยียวยา ซึ่งหลายๆ ประเทศยังขาดพื้นที่สำหรับปลดปล่อยอารมณ์และความรู้สึก

‘Kate Ray’ วิศวกรในย่านกรีนพอยท์ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขอเป็นคนหนึ่งที่จะไม่ปล่อยเรื่องนี้ไว้ สร้าง https://cryinginpublic.com/ แพลตฟอร์มในโลกออนไลน์ที่ตั้งใจให้ผู้คนมาระบายความรู้สึกในจิตใจ ที่ถูกกระทบจากแวดล้อมรอบข้าง ทั้งการใช้ชีวิต ความคิดเห็น ความสัมพันธ์ ไปจนถึงเรื่องการเมืองโดยไม่ต้องอายใคร หรือไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครเฝ้าถามเรื่องราวทุกข์ใจที่ไม่อยากพูดหรือเปล่า ผ่านการใช้อิโมจิ เช่น

ไฟ หมายถึง โดนไล่ออก

พีช หมายถึง รู้สึกไม่ปลอดภัยเวลาทำงาน

ค้อน หมายถึง มีอุดมการณ์ หรือความคิดใหม่

แมว หรืออมยิ้ม หมายถึง ระดับความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ยังมีอิโมจิอีกมากมายที่กำลังทำหน้าเศร้าและเป็นตัวแทนของเสียงร้องไห้ และเมื่อได้ระบาย ถึงแม้จะเป็นเพียงการใช้อิโมจิบนโลกออนไลน์ก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่า ความอึดอัดคับใจที่มีอยู่ล้นอกจะลดลงบ้างไม่มากก็น้อย นั่นหมายถึงว่า โอกาสที่จะเกิด Hate Speech จนนำไปสู่ความรุนแรงก็น้อยลงเช่นกัน

 

 

 

sources :

https://slate.com/technology/2018/02/crying-in-public-lets-users-map-out-things-theyve-felt-in-new-york-city.html

 https://www.amny.com/things-to-do/nyc-crying-in-public-map-1.16885669

https://mgronline.com/qol/detail/9620000055786

https://workpointnews.com/2019/06/22/pm-prayuth-social-media/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779