• Published Date: 29/11/2021
  • by: UNDP

อัตลักษณ์ทับซ้อนกับเยาวชนข้ามเพศ

“ผมสู้ค่ารถไม่ไหวครับ ถ้าต้องไปกลับบ่อย ๆ ก็คงหนักเหมือนกัน” ‘ภูมิ’ ชายข้ามเพศอายุ 22 ปีเล่าให้ฟัง ภูมิเริ่มเข้ารับฮอร์โมนส์ตั้งแต่อายุ 18 ปีโดยไม่มีการขัดขวางจากที่บ้านแต่อย่างใด แต่ที่ไม่มีการขัดขวาง ไม่ใช่เพราะว่าภูมิมีครอบครัวที่อบอุ่น แต่เป็นเพราะภูมิไม่มีครอบครัวเลยต่างหาก ทั้งพ่อและแม่ของเขาแยกทางกัน พ่อส่งภูมิไปต่างจังหวัดเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับความตึงเครียดในฐานะลูกเลี้ยงกับครอบครัวใหม่ นั่นคือสาเหตุว่าทำไมภูมิจึง ‘ไม่ได้มีครอบครัว’ แต่อย่างใด
.
การกระจายตัวของคลินิกสุขภาพทางเพศที่ให้บริการการข้ามเพศที่ไม่เพียงพอนับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ทับซ้อนในหมู่คนข้ามเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนข้ามเพศ เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นผู้หารายได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้น เมื่อจะรับฮอร์โมนส์ก็ต้องทั้งขอความยินยอม ทั้งตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองจะต้องแบกรับในอนาคตอีกจนกว่าจะสามารถหาเลี้ยงตนเองได้ ยิ่งประจวบกับต้องจ่ายค่าเดินทาง ยิ่งเรียกว่าทับทวีปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
.
เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แห่งการรับรู้ตัวตนคนข้ามเพศ (Transgender Awareness Week) เพจ GendersMatter ร่วมกันกับ UNDP Thailand จึงขอร่วมมือกัน ขจัดความเข้าใจผิดที่มีต่อคนข้ามเพศ และวันนี้ หัวข้อที่จะพูดถึงก็คือ “อัตลักษณ์ทับซ้อน และ เยาวชนคนข้ามเพศ”
.
#Intersectionality – หรือ #อัตลักษณ์ทับซ้อน คือการที่คนคนหนึ่งอยู่กับการกดทับในสังคมมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น เป็นบุคคลข้ามเพศที่ยากจน (ทำให้จากที่ยิ่งเข้าถึงการรับบริการทางสุขภาพด้านการข้ามเพศยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะขาดทุนทรัพย์และแหล่งรายได้ที่มั่นคง) หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล (เพราะทุกการเดินทาง ถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขาดการศึกษา ชาติพันธุ์ที่โดนกดทับ และศาสนาที่ไม่ยอมรับบางอัตลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอัตลักษณ์ทับซ้อนทั้งสิ้น
.
#แล้วสำคัญอย่างไร – ปกติ เวลารับสื่อที่มีการปรากฏตัวของคนข้ามเพศในประเทศไทย ภาพที่ถูกฉายออกมามักจะเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นชนชั้นกลางทั้งสิ้น แม้คนเหล่านี้จะมีอัตลักษณ์ทับซ้อนแบบอื่น แต่ก็ห่างไกลกับความยากจนและการเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์ที่ยากลำบาก เมื่อเทียบกับคนข้ามเพศที่อยู่นอกเขตเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีการนำเสนอภาพที่แตกต่างจากชนชั้นกลาง หลายครั้งคนข้ามเพศอื่นก็ถูกมองว่าแปลกแยกจากความคาดหวังของสังคม
.
ฉะนั้น จึงมีคำถามตามมา ไม่ว่าจะเป็น “ทำไมเป็นทรานส์ แต่ไม่เทกฮอร์โมนส์” หรือ “ปกติ คนข้ามเพศกันเรียนเก่งอยู่แล้ว ทำไมเธอถึงเรียนไม่เก่งเลยล่ะ” คำถามเหล่านี้ล้วนมาจากการเหมารวมที่เกิดจากการนำเสนอของสื่อด้านเดียวเท่านั้น คนข้ามเพศก็คือมนุษย์คนหนึ่ง แน่นอนว่าสามารถตกไปอยู่ในสภาวะที่ยากจน ลำบาก ไร้การศึกษา ไร้อำนาจทางเศรษฐกิจ เป็นชาติพันธ์ หรืออยู่ในศาสนาที่กดทับอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศได้เช่นเดียวกันกับมนุษย์คนอื่น ๆ ทั่วไป
.
นี่จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมเวลาทำความเข้าใจกับคนข้ามเพศจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในแง่มุมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศเท่านั้น เพราะทุกเรื่องต่างก็เชื่อมโยงกันไปหมด แม้การเป็นคนข้ามเพศในพื้นที่ที่ขาดแคลนทั้งความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศและบริการสุขภาพเพศจะเป็นปัญหาหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สำคัญเท่าปัญหาอื่นอย่างเรื่องปากท้องหรือการบกพร่องการเข้าถึงแหล่งการศึกษาที่มีคุณภาพแต่อย่างใด
.
อย่างกรณีของ เด็กข้ามเพศ ก็ถือเป็นอีกอัตลักษณ์ทับซ้อนหนึ่งด้วยตัวเอง เพราะเป็นเรื่องปกติที่เยาวชนจะไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยตนเอง เนื่องจากยังอยู่ในการดูแลและควบคุมของพ่อแม่อยู่ และ การข้ามเพศในประเทศที่เรื่องเหล่านี้ไม่ถูกให้ความสำคัญจนเป็นสวัสดิการของรัฐก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ฉะนั้น การเป็นเด็กข้ามเพศจึงมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาอย่างอื่นตามมา (เช่น ปัญหาด้านสุขภาพจิต) เนื่องจากสภาวะดังกล่าวได้
.
จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเราทุกคน
จะใส่ใจและฟังกันให้มากขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779