• Published Date: 25/03/2021
  • by: UNDP

Mindventure ตามหาตัวตน ความฝัน ความสัมพันธ์ที่สูญหายผ่านการสร้างพื้นที่รับฟัง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้สึกสับสนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง

ความรู้สึกสับสนที่ว่าบ้างก็เกี่ยวพันกับการเรียน บ้างก็การทำงาน บ้างก็เกี่ยวโยงกับชีวิตและความสัมพันธ์ สิ่งที่คาดคิดไว้ว่าน่าจะทำให้มีความสุขกลับไปไม่สุดแบบที่ควร 

ความรู้สึกทำนองนี้เกิดขึ้นกับแกงส้ม-ชนากานต์ ขจรเสรี เช่นกัน เมื่อย้อนไปในวัยมัธยมศึกษาปีที่หกในปี 2016 ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอะไรหลายๆ อย่าง

“เราไม่ชอบตัวเอง เราว่าสิ่งที่เราเป็นมันไม่โอเค เราไม่เหมือนคนอื่น เราไม่ดีพอ คนไม่ยอมรับ เราก็เลยเงียบๆ เก็บตัวและไม่ค่อยได้เล่าความรู้สึกของตัวเองให้ใครฟัง” เธอนึกย้อนไปในวันวานก่อนที่จะพบจุดเปลี่ยนของตัวเองเป็นการเข้าร่วมค่ายที่ใช้ศาสตร์การฟังเป็นกระบวนการหลัก หลังจบกระบวนการเธอพบตัวเองเป็นคนที่อยากยอมรับตัวเองได้ “เราเลยรู้ว่าการฟังเป็นของขวัญที่ไม่ต้องซื้อ แต่แค่มีทักษะ แล้วถ้าการฟังช่วยเราได้มันน่าจะช่วยคนอื่นๆ ได้เหมือนกัน”

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แกงส้มอยากส่งต่อประสบการณ์ผ่านการทำค่ายที่มีแก่นหลักใกล้เคียงกันโดยใช้การฟังเป็นเครื่องมือ ในช่วงมหาวิทยาลัยเธอ เพื่อนๆ และน้องสาวจัดค่าย Gen Mind ที่เน้นส่งเสริมให้เด็กมัธยมรู้จักดูแลจิตใจตัวเอง ต่อเนื่องมาจนถึงการก่อตั้งชมรมในมหาวิทยาลัยที่เป็นพื้นที่ให้เพื่อนรับฟังเพื่อน และเมื่อเธอจบจากรั้วมหาวิทยาลัยไอเดียเรื่องการเข้าใจตัวเองจากภายในยิ่งเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เธอเริ่มปลุกปั้นธุรกิจเพื่อสังคมมาในช่วงตุลาคม 2019 ชื่อ Mindventure ก่อนที่จะพัฒนาต่อยอดใน Youth Co:Lab ร่วมกับน้องสาว น้ำหวาน-กันตพร ขจรเสรี และเพื่อนๆ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนระหว่างทาง นอกจากนี้ยังมีอาจารย์จากคณะจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์อีก 3 ท่านที่คอยให้คำปรึกษาเพื่อให้โครงการนี้ตอบโจทย์ผู้เข้าร่วมทั้งในเชิงหลักการและการปฏิบัติจริง 

 

จากความชอบสู่อาชีพ

พอจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ แกงส้มจึงสะสมองค์ความรู้เพิ่มเติม เธอเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้รับการรับรองสอน Search Inside Yourself หลักสูตรพัฒนาผู้นำ สติ และความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นโดย Google ส่วนน้ำหวานก็เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการเข้าใจตัวเองและจิตบำบัด อย่างนพลักษณ์ (Enneagram) และซาเทียร์ (Satir)เพื่อที่จะมีความรู้ไปออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

หากเปรียบความเข้มข้นของภาวะทางอารมณ์เป็นกราฟหนึ่งแท่ง ให้ด้านซ้ายสุดคืออาการซึมเศร้าส่วนด้านขวาสุดคือการมีความสุขที่สุด กลุ่มคนที่ Mindventure มุ่งทำกระบวนการด้วยคือกลุ่มคนที่อยู่ตรงช่วงกลางๆ ไปจนถึงขวาสุด

“เราอยากช่วยป้องกันและส่งเสริมให้พวกเขา[มีสุขภาพจิต]ดีขึ้น เพราะ informal health and self care ในประเทศไทยยังมีช่องว่างอยู่ สิ่งที่เราทำจึงคือการลดความเสี่ยงของการเป็นซ้ายสุด” แกงส้มอธิบายการทำงานของ Mindventure ทั้งนี้ก่อนเริ่มกระบวนการทางทีมจะมีแบบประเมินจากกรมสุขภาพจิตให้ทำ หากพบว่าผู้เข้าร่วมมีสัญญาณหรือมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าก็จะแนะนำช่องทางการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกต่อหนึ่ง

“สิ่งที่เราทำมองว่าเป็นการป้องกัน เราทาร์เก็ตไปที่ปัญหาเลย เราหาเครื่องมือสร้างปัจจัยส่งเสริมให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ให้ความรู้ว่าจริงๆ แล้วไฟของคนเรามาจากไหน ไฟแบบไหนถึงจะยั่งยืน เราพากลับไปป้องกันที่ต้นเหตุเลย”

 

จิตใจที่ดีของทุกคน

ที่ผ่านกลุ่มเป้าหมาย Mindventure มุ่งเน้นมาที่เด็กมัธยมโดยตลอด แม้จะมีผู้ใหญ่มาถามอยากเข้าร่วมแต่ด้วยบริบทที่ต่างกันจึงไม่ได้จัดรวมกลุ่มในทันที ทั้งนี้ทุกวันนี้ทางทีมสนใจผู้เข้าร่วมที่หลากหลายมากขึ้นเพราะความรู้สึกสับสนอาจไม่ได้เกิดโดยมีช่วงอายุกำกับเสมอไป

“คนที่มีบาดแผลจากเรื่องนี้อาจไม่ได้จำเป็นต้องจำกัดอายุไหม อายุ 25, 35 หรือ 45 ก็ยังอาจประสบเรื่องนี้ได้ เราเลยพยายามระเบิดกล่องคิดเดิมๆ แล้วดูว่ามีความเป็นไปได้แบบไหนอีกบ้าง” น้ำหวานเล่าต่อว่าสาเหตุของความรู้สึกสูญหายนั้นอาจมาจากกิจวัตรประจำวันในชีวิต

“คนเราแต่ละวันตื่นมาก็ไปเรียน ทำตามครู พอวนลูปแบบเดิมเยอะๆ ก็หมดแรงบันดาลใจ คล้ายกันกับคนทำงานที่ตื่นมา กินข้าว ทำงาน กลับบ้านกินข้าว ดูซีรีส์ และนอน” น้ำหวานอธิบายโดยมีแกงส้มเสริมว่าปัจจัยคนรอบข้างก็มีส่วนสำคัญ หากความสัมพันธ์ระหว่างคนใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือพ่อแม่ไม่ราบรื่น ขาดพื้นที่ปลอดภัย ไม่รู้จะคุยให้ใครฟังก็อาจรู้สึกสับสนได้ง่ายๆ นอกจากนี้โซเชียลมีเดียหรือการเสพสื่อที่ไม่ได้คัดกรองยังคืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต เพราะการบริโภคข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่บนหน้าจอมากอาจนำไปสู่การเปรียบเทียบชีวิตเรากับคนอื่นได้ง่ายๆ และส่งผลให้มองว่าตัวเองยังไม่ดีพอ

ที่ผ่านมา Mindventure เวิร์กช็อปใช้วิธีเก็บค่าเข้าร่วมกิจกรรมจากผู้เข้าร่วมเอง แต่นับแต่เธอเข้าร่วมเวิร์คช็อป Youth Co:Lab เธอเริ่มมองหาวิธีใหม่ๆ ให้โอกาสการเข้าถึง Mindventure เป็นไปได้มากขึ้น 

“เราอยากให้เครื่องมือการเรียนรู้แบบนี้เข้าถึงทุกคนได้ ไม่อยากกีดกั้นจากฐานะเลยพยายามหา business model ใหม่ๆ อยู่” เมื่อ MindVenture มีทุนในการเทสเวิร์คช็อปหนึ่งในข้อคนพบคือ ยิ่งเก็บค่าสมัครแพง ยิ่งมีคนสมัครน้อย ยังไม่นับรวมว่าหากอยากให้เด็กทั่วประเทศเข้าถึงสิ่งนี้ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่จับต้องได้คือเรื่องจำเป็น

“เราเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าลูกค้ากับยูเซอร์อาจจะคนละคนกัน เราดูว่าตลาดมีใครได้อีกบ้าง เรากำลังปรับมุมมองใหม่ๆ มากขึ้น” โมเดลที่น้องมัธยมไม่ต้องเป็นคนจ่ายเงินคือสิ่งที่แกงส้มกำลังมองหา “เราอยากหาคนที่สปอนเซอร์ได้ อาจเป็นบริษัทหรือเป็นใคร นี่กำลังเป็นโจทย์ใหม่” เธอเสริมว่าหรืออาจปรับเอาโมเดลรองเท้า TOMS มาใช้ที่ทุกๆ ครั้งที่มีคนจ่ายเงินเพื่อเข้าร่วมโครงการ จะมีอีกคนที่จำเป็นและต้องการการสนับสนุนจะได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการโดยไม่ต้องเสียเงิน

วัดผลและขยายผล

เมื่อผ่านการเข้าร่วมเวิร์คช็อปผู้เข้าร่วมมักมีความรู้สึกที่ดีขึ้น ผ่อนคลายยิ่งขึ้น การประเมินผลเหล่านี้ทราบจากแบบประเมินหลังเรียน นอกจากนี้ยังมีการสุ่มโทรพูดคุยกับผู้เคยเข้าร่วมในสามและหกเดือนหลังจากจบเวิร์กช็อป

“พอเข้าร่วมเวิร์กช็อป Youth Co:Lab เรามีอีกไอเดียในการประเมินผล เราพยายามปรับตัวชี้วัดให้จับต้องได้มากยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นเรื่องเวลาที่ใช้บนหน้าจอมากขึ้นหรือลดลงบ้างหรือไม่” แกงส้มยกตัวอย่าง

มาถึงตรงนี้ เราอดสงสัยไม่ได้ว่าการใช้รูปแบบค่ายในการแก้ปัญหาเรื่องตัวตนและคุณค่าของชีวิตจะทำให้อิมแพ็กที่สร้างได้เป็นไปอย่างช้าๆ หรือไม่ 

“มันยังมีวิธีที่จะขยายผลอีกหลายแบบ เราสามารถทดลองให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (self-learning) ในประเด็นนี้ก็ได้ หรือจะเซ็ตมาตรฐานเนื้อหาขึ้นมาแล้วให้คนอื่นไปสอนต่อๆ กันก็ได้” แกงส้มอธิบายว่าเธอยังเห็นหนทางไปต่ออีกมาก เพียงแต่ตอนนี้เธอโฟกัสกับเรื่องการหาตลาดอยู่ เธอเสริมว่าก่อนนี้เธอเคยจัดค่ายที่เน้นเสริมทักษะการเป็นกระบวนกรและทักษะการฟังเพื่อนำไปใช้ต่อยอดได้กับคนอื่นๆ ด้วย

“ในอดีตที่ตัวเองเคยมีความทุกข์แล้วเราเรียนรู้จากกระบวนการแบบค่าย เราก็ทุกข์น้อยลง พอมันเปลี่ยนเราได้ ส้มเลยคิดว่าการจัดกระบวนการเหล่านี้ให้ผู้อื่นต่อก็จะเป็นประโยชน์มาก มันเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก ไม่ใช่แค่เรียนจากการคิดอย่างเดียว แต่ได้เปลี่ยนจากภายในจิตใจ มุมมองโลก และพฤติกรรมการดำรงชีวิต แต่เราก็ไม่ได้ยึดติดว่าต้องทำแค่สิ่งนี้เป็นหลัก เราก็กำลังค้นหาวิธีการอื่นๆ อยู่เรื่อยๆ เหมือนกัน” แกงส้มทิ้งท้าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779