• Published Date: 26/05/2022
  • by: UNDP

การมีส่วนร่วมของเยาวชน: บันได 8 ขั้นสู่การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย

 

คุณเคยมีประสบการณ์การมีส่วนร่วมของเยาวชนที่แท้จริงกันหรือไม่? ???
.
เป็นที่รู้กันว่าทุกวันนี้ เยาวชนถือเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจและทุกคนต่างกระตือรือร้นที่จะพาเยาวชนมาร่วมสนทนา จัดกิจกรรมสนุก เพื่อส่งเสริมประเด็นต่างๆ สู่อนาคตที่ยั่งยืนของพวกเราทุกคน
.
แต่! จะมีสักกี่คนนะ ที่เข้าใจว่าที่ผ่านมาเรามีการจัดการมีส่วนร่วมของเยาวชนในรูปแบบไหน และแบบไหนคือสิ่งที่ควรทำให้ถึงเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่แท้จริงให้กับเยาวชน
.
วันนี้ เรามีคำตอบ ใน “บันไดแห่งการมีส่วนร่วมของเยาวชน” ทั้ง 8 ขั้น ของโรเจอร์ ฮาร์ท ในเอกสาร Children’s Participation: From tokenism to Citizenship จัดทำโดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ

หลังจากรู้จักบันได้ 8 ขั้นนี้แล้ว คอมเม้นกันมาได้นะ ว่าที่ผ่านมา แต่ละคนมีประสบการณ์อยู่ที่ขั้นไหน หรือ อยากมีส่วนร่วมในรูปแบบไหนมากขึ้นหลังจากนี้

 

มาเริ่มกันที่ ลำดับขั้นต่ำสุดของบันไดกันก่อน

ขั้นที่ 1 – การถูกบงการ: เป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ถูกออกแบบและดำเนินการทั้งหมดโดยผู้ใหญ่ เป็นงานที่จัดขึ้นและถูกนำเสนอในลักษณะที่แสร้งว่างานเกิดขึ้นโดยความตั้งใจหรือคำนึงถึงเยาวชน ทั้งที่ความจริงไม่ได้มี เด็กหรือเยาวชนมีบทบาทสำคัญอะไรในงานนั้นที่ตอบโจทย์ตอนประเด็นสำคัญของงานเลย ยกตัวอย่างเช่น การแสดงของของเด็กและเยาวชนที่นำโดยผู้ใหญ่ทั้งหมด เด็กและเยาวชนถือป้ายข้อความทางการเมืองทั้งที่ตัวพวกเขาเองไม่ได้มีความเข้าใจในประเด็นหรือเหตุผลของการกระทำดังกล่าวเลย หรือการลงข่าวเกี่ยวกับ “การลงมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากเยาวชน” ในขณะที่ในเนื้อข่าวหรือรายละเอียดของงานที่นำเสนอวิธีการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานดังกล่าว แต่กลับให้ความสำคัญถึงผู้ใหญ่จากหน่วยงานผู้ดำเนินโครงการมากกว่า

ขั้นที่ 2 – การเป็นไม้ประดับ: ในสถานการณ์ที่เด็กและเยาวชนถูกใช้งานให้ช่วยเหลือหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเด็นงานดังกล่าวโดยที่พวกเขาไม่ได้มีความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวเลย ความแตกต่างของขั้น 2 จากขั้นที่ 1 คือในขั้นนี้ ไม่ได้มีการแสร้งว่างานดังกล่าวถูกจัดขึ้นโดยเยาวชนหรือคำนึงถึงเยาวชนโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น เด็กและเยาวชนถูกเชิญไปเข้าร่วมงานหนึ่ง เพื่อทานอาหารและของว่าง ใส่เสื้อที่ทางงานมอบให้ แล้วถ่ายรูป โดยที่พวกเราไม่ได้รู้หรือเข้าใจถึงประเด็นของงานที่เข้าไปร่วมเลย

ขั้นที่ 3 – การทำพอเป็นพิธี: ขั้นนี้เยาวชนได้รับโอกาสให้ส่งเสียง ออกความคิดเห็น โดยที่มีตัวเลือกในการแสดงความเห็นที่น้อยหรือไม่มีตัวเลือกเลยในการมีส่วนร่วมกับประเด็นดังกล่าว พวกเขาแทบไม่มีโอกาสในการเตรียมตัวหรือรวบรวมความคิดเห็นได้อย่างเพียงพอ และเมื่อรับความเห็นไปแล้ว ไม่ได้มีการนำข้อเสนอของเยาวชนไปใข้ต่อในกระบวนการการตัดสินใจ หรือผู้ใหญ่ไม่ได้มีการให้ข้อเสนอแนะกลับแก่กลุ่มเยาวชนผุ้เข้าร่วมเสนอความเห็นในประเด็นดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ณ งานเสวนางานหนึ่ง ได้มีการเชิญเยาวชนผู้มีชื่อเสียงมาเข้าร่วมหารือกับเยาวชนคนอื่น ๆ เกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาประเด็นหนึ่ง แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลที่มาที่ไปของงานหรือประเด็นในการหารือในครั้งนั้น อีกทั้งไม่ได้มีการอธิบายความสำคัญและบทบาทของเยาวชนผู้แทนที่เข้าร่วมทำให้ไม่สามารถหารือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในวันต่อมา สื่อได้ลงข่าวประชาสัมพันธ์งานนี้โดยเน้นไปที่รูปภาพของเยาวชนผู้มีชื่อเสียงเท่านั้น ไม่มีการอธิบายรายละเอียดการมีส่วนร่วมของเยาวชนหรือผลลัพธ์หรือกระบวนการถัดไปจากการมีส่วนร่วมของเยาวชนในครั้งนี้

 

 

ขั้นที่ 4 – การมอบหมายและแจ้งให้ทราบก่อน: โดยในขั้นนี้เด็กและเยาวชนถูกมอบหมายให้รับบทบาทเฉพาะในงาน และได้รับการแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดความตั้งใจของโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าว ข้อมูลผู้อนุมัติและเหตุผลของเขาที่นำมาสู่การมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานนี้ เยาวชนได้รับทบาทสำคัญมากกว่าการเป็นไม้ประดับ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของหน้าที่ลงมือปฏิบัติในงานร่วม หรือในเชิงสัญลักษณ์ และเยาวชนตัดสินใจอาสาเข้าร่วมด้วยตัวเองหลังจากที่ได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับงานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เด็กและเยาวชนถูกมอบหมายให้ร่วมนำเสนอผลงานของตัวเองเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนบทสนทนาในการประชุม หรือ ส่งเสียงสนับสนุนประเด็นสำคัญเพื่อให้ได้รับความสนใจและจูงใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ เห็นความสำคัญ-ของประเด็นหรือแนวปฏิบัติดังกล่าวที่กระทบต่อพวกเขา ซึงอาจนำไปสู่การปรับใช้ข้อเสนอดังกล่าวเข้าไปในกระบวนการหารือที่เข้าร่วม

ขั้นที่ 5 – การขอคำปรึกษาจากเยาวชนและแจ้งให้ทราบก่อน: เกิดขึ้นเมื่อเด็กหรือเยาวชนได้รับการขอคำปรึกษา หรือเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้ใหญ่ ซึ่งเยาวชนรู้ว่าข้อเสนอที่ให้ไปจะได้รับการพืจารณาอย่างจริงจังผ่านกระบวนการที่ดำเนินและตัดสินใจโดยผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนถูกเชิญไปเข้าร่วมงานหารือเกี่ยวกับแผนงานด้านการขนส่งของเมือง เยาวชนได้รับการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานและประเด็นที่เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะ อีกทั้งทราบแน่ชัดถึงการใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะของเยาวชน ซึ่งเยาวชนเองได้รับเวลาเพียงพอในการเตรียมตัวทำความเขาใจประเด็นและข้อเสนอแนะของตัวเองสำหรับนำเสนอในที่ประชุม โดยหลังการประชุมจะเป็นบทบาทของผู้ใหญ่ในการรวบรวมและตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานต่อไป

ขั้นที่ 6 – ผู้ใหญ่ริเริ่มโดยมีเด็กและเยาวชนร่วมตัดสินใจร่วม: แน่นอนว่า ไม่ใช่โครงการพัฒนาชุมชนหรือสังคมทุกรูปแบบจะสามารถริเริ่มได้โดยคนจากทุกกลุ่มอายุ อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้เกิดการกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพยังถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องเกิดการส่วนร่วมจากหลายกลุ่มโดยเฉพาะ เยาวชน ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ซึ้งการมีส่วนร่วมในขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อโครงการหรือกิจกรรมได้ถูกริเริ่มโดยผู้ใหญ่ แต่เยาวชนยังได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทหนึงต้องการจัดกิจกรรมกับเยาวชนในท้องถิ่น เยาวชนได้รับเชิญเข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยในกระบวนการนี้เยาวชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องการสื่อสารและการดำเนินกิจกรรมไปพร้อมกันกับผู้ใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มาจากความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายสำหรับกิจกรรมนี้

ขั้นที่ 7 – เด็กและเยาวชนริเริ่มโดยมีผู้ใหญ่รับบทบาทในเชิงสนับสนุน: ขั้นนี้เกิดขึ้นเมื่อเด็กและเยาวชนได้ริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการด้วยตนเอง โดยมีผู้ใหญ่ทำหน้าที่ในเชิงสนับสนุนในโครงการที่นำโดยเด็กหรือเยาวชน ซึ่งโดยปกติแล้วหลายๆ ครั้ง พบว่าผู้ใหญ่มีความลำบากในรับมือโครงการริเริ่มโดยเด็กและเยาวชน เพราะบางครั้งอาจลำบากใจที่จะเข้ามาช่วย แนะนำข้อเสนอแนะที่ปลอดภัย ห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมในสายตาของพวกเขา หรือถึงขั้นเข้ามาควบคุมก็เป็นได้ ซึ่งหากไม่สามารถทำได้อย่างเหมาะสม อาจกลายเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ ส่งเสริมความกล้า และแสดงศักยภาพของตนเองรวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้ ตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ชมรมเยาวชนแห่งหนึ่งตัดสินใจที่จะจัดค่ายร่วมกับเพื่อน ๆ ที่มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายทางเพศ เด็กและเยาวชนได้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการออกแบบกิจกรรม รวมถึงแผนดำเนินการต่างๆ ซึ่งผู้ใหญ่เองได้เข้ามาร่วมสนับสนุนได้ทั้งในเชิงคำแนะนำและช่องทางการเงินหรือทรัพยากรบุคคล เพื่อให้โครงการที่นำโดยเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้จนสำเร็จ

ขั้นที่ 8 – เยาวชนริเริ่มโครงการและตัดสินใจร่วมกันกับผู้ใหญ่: นี่เป็นขั้นการมีส่วนร่วมชั้นบนสุดซึ่งเป็นการที่เยาวชนสามารถใช้แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบริเริ่มโครงการที่ต้องโจทย์วัตถุประสงค์และความต้องการของเยาวชนมากที่สุด โดยที่ยังมีผู้ใหญ่ร่วมในการตัดสินใจอยู่ในกระบวนการ การมีส่วนร่วมแบบนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่ยังเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปพร้อมกับการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ในทักษะหรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มเยาวชนได้สร้างโครงการหนึ่งเพื่อช่วยเหลือเครือข่ายเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด กลุ่มเยาวชนนี้เป็นผู้เขียนโครงการของบ และเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการ แต่ขณะเดียวกันก็ยังเชิญผู้ใหญ่เข้าร่วมเป็นทีมงานและร่วมกันตัดสินใจพัฒนาโครงการร่วมกันสู่ผลสำเร็จ ซึ่งเยาวชนเองก็ได้เรียนรู้วิธีการจัดการโครงการและจัดสรรทรัพยากรจากผู้มีประสบการณ์ รวมถึงเข้าถึงเครือข่ายใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเยาวชนต่อไปหลังจากจบโครงการดังกล่าวนี้

 

จากระดับการมีส่วนร่วมแต่ละระดับที่ได้นำเสนอไป จริง ๆ แล้วไม่ได้มีความจำเป็นเลยที่เด็กและเยาวชนจะต้องพยายามมีส่วนร่วมในระดับที่สูงโดยตลอด เพราะเด็กและเยาวชนแต่ละคนมีเวลา ความรับผิดชอบ ความชอบ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป การมีส่วนร่วมจึงต้องมีการปรับไปตามความเหมาะสมตามเวลา โอกาสที่เหมะสมสำหรับเยาวชนแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือทุกครั้งที่เราออกแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเยาวชน จะต้องพยายามออกแบบโดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เลือกเข้ามามีส่วนร่วมในระดับที่เหมาะสมกับความสามารถของพวกเขาเองตามแต่เวลาและโอกาสที่เหมาะสม

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) มีความเข้าใจในความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนและเราได้มีการทำงานกับเยาวชนในหลายประเด็นมาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งด้านการมีส่วนร่วมในด้านพลเมือง การส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ และการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การทำงานด้านเยาวชนของเราได้ที่ https://bit.ly/3BZyx7S

Keywords: ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779