• Published Date: 17/02/2019
  • by: UNDP

Seeds Journey การเดินทางของเมล็ดพันธุ์

จะทำอย่างไรเมื่อองค์ความรู้เรื่องการกินอาหารตามฤดูกาล การบริโภคแบบดั้งเดิม รวมถึงการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้องนั้นอาจหายไปตามกาลเวลาหากคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญ?

กัลยา  เชอมื่อ ชนเผ่าอาข่า และ ยุทธภัณฑ์ พิพัฒน์มงคลกุล คนรุ่นใหม่ชาวปกาเกอะญอจากภาคเหนือเริ่มมองเห็นปัญหานี้ ทั้งสองคนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้ามาเรียนต่อในเมือง (เชียงใหม่) การห่างออกจากบ้านทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการกินแบบท้องถิ่นที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก ให้เป็นกินเน้นสะดวกสบาย ทำให้เกิดรอยต่อในการส่งต่อความรู้เรื่องการกินตามฤดูกาล ที่ครั้งหนึ่งเคยเรียนรู้ได้จากคุณตาคุณยาย การขาดหายไประหว่างรุ่นสู่รุ่นนี้ทำให้วัฒนธรรมอาหารที่ดีนั้นเลือนหาย วัฒนธรรมการกินตามฤดูกาลที่มากด้วยประโยชน์ เพราะเป็นรูปแบบการกินที่ทำให้สุขภาพดีและยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

กัลยาและยุทธภัณฑ์จึงตัดสินใจเริ่มต้นศึกษาจากจุดเริ่มต้น นั่นคือเริ่มที่เรื่องเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม โดยทำงานร่วมกับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการบันทึกเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์​และทำงานกับเกษตรกร เมื่อเป้าหมายแรกสำเร็จ ทั้งคู่จึงต้องการต่อยอดเป้าหมายสู่การมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงคนรุ่นเก่าเข้ากับคนรุ่นใหม่ เพราะผู้เฒ่าในหมู่บ้านนั้นคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าอาหารแต่ละชนิดนั้นกินอย่างไร เก็บอย่างไร และต่อยอดได้ด้วยการนำคนรุ่นใหม่เข้าไปเรียนรู้ในชุมชน

เพราะรู้ดีว่าเมล็ดพันธุ์คือสิ่งที่สร้างความหลากหลายให้กับอาหารการกิน ในขณะที่ชาวบ้านยังคงปลูกและทำการเกษตรด้วยวิถีเดิม คนรุ่นหลังเข้าไปเพิ่มศักยภาพและส่งต่อความรู้ด้วยการสร้างเครื่องมือที่ช่วยระบบจัดการ ขนส่งผักพื้นบ้าน โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหารต่างๆ ในชุมชน ขนส่งผักจากไร่นามาโดยตรง ต่อมาจึงได้มีการเปิดโอกาสให้เชฟจากร้านอาหารและบุคลากรจากโรงแรมต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาและลองคิดค้น ทำเมนูจากผักพื้นบ้าน เรียนรู้การกินอาหารตามฤดูกาล ตามการเติบโตของผักพื้นบ้านแต่ละฤดู

Seed Journey เป็นหนึ่งในทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ Youth Co:lab 2018 และคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอบครอง หลังจากได้รางวัลและเข้าร่วมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาโปรเจ็กต์เพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่ทั้งสองคนได้เรียนรู้คือเรื่องการเข้าศึกษาลงพื้นที่ จากการคิดคำนึงถึงเป้าหมายของโครงการเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการขยายเป้าหมายเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านในชุมชนด้วย เริ่มจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นให้มากขึ้น ทำให้จากในช่วงแรกที่กำหนดเป็นกิจกรรมตามฤดูกาลตลอดทั้งปี ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนให้มากขึ้น กิจกรรมตามฤดูกาลจึงถูกแบ่งเวลาเป็นทั้งปี อย่างเช่น เกิดเป็นกิจกรรมการแปรรูปหน่อไม้แห้งและผักกาดแห้ง เพื่อให้ผลิตได้ทันกับต้องการของร้านอาหารในชุมชน

อีกเรื่องที่เรียนรู้คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คิดว่าโครงการมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่หลังจากลงพื้นที่จึงได้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงคือชาวบ้านในพื้นที่ คนเฒ่าคนแก่ เพราะเป็นกลุ่มคนมีความเข้าใจลักษณะการกินตามฤดูกาลเป็นทุนเดิม เมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นจึงเป็นการจุดประกายไอเดียให้กับชาวบ้าน เจ้าของร้านอาหารที่เห็นความสำคัญของวัตถุดิบและยินดีที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูอาหาร รวมถึงเจ้าของโรงแรมที่เข้าใจและเสนอความร่วมมือด้วยการเปิดพื้นที่ให้นอนเป็นโฮมสเตย์เพื่อสนับสนุนสถานที่สำหรับการจัดเวิร์กช็อปให้ความรู้ หลังจากนี้ Seed Journey จึงมุ่งเน้นการทำกิจกรรมให้เป็นต้นแบบ เก็บข้อมูล รวบรวมองค์ความรู้ สื่อสารกับชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยในปี 2019 Seed Journey เริ่มจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนและยังคงมุ่งมั่นส่งต่อความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการกินตามฤดูกาลผ่านโครงการนี้ต่อไป

 

ติดตามการเดินทางของเมล็ดพันธุ์และกิจกรรมของ Seed Journey ได้ที่ https://www.facebook.com/seedsjourney/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779