• Published Date: 12/08/2020
  • by: UNDP

โควิด-19 และสุขภาพจิต: มิติด้านสุขภาพที่เยาวชนต้องการการสนับสนุน

โควิด-19 และสุขภาพจิต: มิติด้านสุขภาพที่เยาวชนต้องการการสนับสนุน

ผลกระทบทางสุขภาพจากโควิด-19 ไม่ได้มีเพียงแค่ผลกระทบทางสุขภาพกายที่ผู้สูงอายุต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิต ซึ่งเด็กและเยาวชนถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดกลุ่มหนึ่ง

การสำรวจเรื่องผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนที่จัดทำโดยสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย UNICEF UNDP และ UNFPA ที่มีผู้ร่วมทำแบบสอบถามกว่าหกพันรายพบว่า เด็กและเยาวชนกว่า 7 ใน 10 ได้รับผลกระทบทางสภาพจิตใจจากโควิด-19 โดยพวกเขามีความเครียด วิตกกังวลและเบื่อหน่าย โดยความกังวล 3 อันดับแรก คือ การเงินของครอบครัว การศึกษา และการติดไวรัส ตามลำดับ

ความเครียดความกังวลของพวกเขามีลักษณะเฉพาะอย่างไร ทางออกของพวกเขาอยู่ตรงไหน ร่วมสำรวจจิตใจเยาวชนไปด้วยกัน

 

เรื่องเงินเรื่องใหญ่

ปัญหาเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปัญหาสุขภาพจิตใจของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยและกลุ่มที่ต้องทำงานสนับสนุนด้านการเงินตัวเอง

เพราะเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐาน เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหาจึงทำให้ความกังวลในด้านอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น ความกังวลเกี่ยวกับปากท้องในชีวิตประจำวัน โอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่มีแนวโน้มว่าจะหันมาเป็นออนไลน์ยิ่งขึ้นทำให้เด็กกลุ่มนี้อาจเข้าไม่ถึงเท่าที่ควร ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจยังสืบเนื่องต่อไปถึงความสามารถในการสรรหากิจกรรมทางเลือกสำหรับพัฒนาศักยภาพและค้นหาตัวตนของเด็กและเยาวชนภายใต้ข้อจำกัดด้านพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลต่อทักษะการเข้าสังคมและทางอารมณ์ได้อีกด้วยไม่เพียงเท่านี้ ความไม่มั่นคงทางการเงินยังอาจนำมาซึ่งการตกงานของผู้ปกครองที่แบกรับความเครียดและไม่ได้ออกไปไหน สถานการณ์ที่บังคับให้ทุกคนต้องอยู่ร่วมชายคาเดียวกันแทบตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ลูกมีโอกาสซึมซับรับความเครียดนั้นมาด้วยหากพ่อแม่จัดการกับความเครียดได้ไม่ดีพอ

 

อยู่แต่บ้านสร้างกังวล

หลายความเห็นสะท้อนผ่านแบบสอบถามว่าการอยู่บ้านทำให้รู้สึกเบื่อ บั่นทอน และเครียด โดยอาการเหล่านั้นมาจากหลายสาเหตุ

การใช้เวลาอยู่ในบ้านกับสมาชิกครอบครัวนานขึ้นเป็นหนึ่งในนั้น เด็กและเยาวชนบางรายรู้สึกกดดันเพราะรู้สึกถูกตรวจสอบ ถูกจ้องมองอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถแสดงออกตัวตนของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยแบบสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าร้อยละ 4 ของเยาวชนที่ตอบแบบสอบถามกังวลเรื่องเพศสภาพที่ถูกกดดันมากขึ้นเพราะไม่สามารถแสดงอัตลักษณ์ต่อหน้าครอบครัว และเข้าถึงฮอร์โมนที่ตนเองรับอย่างต่อเนื่องได้ลำบากขึ้น

ในทางตรงกันข้าม เยาวชนบางคนมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากการที่สมาชิกในครอบครัวยังคงต้องออกไปทำงานหรือไปธุระข้างนอก เพราะกลัวว่าจะนำโควิด-19 กลับมาที่บ้านด้วย

อีกหนึ่งประเด็นหลักที่สร้างผลลบต่อสุขภาพจิตจากการอยู่บ้านเป็นเวลานานคือความเครียดจากการเสพข่าว ในช่วงโควิดระบาดหนักเนื้อหาจากสื่อในแทบทุกแพลตฟอร์มล้วนนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับโควิด-19 โดยมีทั้งข่าวจริงและข่าวเท็จ

ลำพังการรับรู้ข้อมูลโรคระบาดอย่างต่อเนื่องก็ส่งผลต่อจิตใจได้แล้ว แต่มากไปกว่านั้นคือเยาวชนกลุ่มหนึ่งสะท้อนใกล้เคียงกันว่าได้รับข่าวหรือข้อมูลตามกรุ๊ปไลน์ที่ส่งมาจากญาติผู้ใหญ่ หลาย ๆ ครั้งเป็นข่าวปลอมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนแสดงความกังวลและตั้งคำถามคือประเด็นเรื่องความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการจัดการ แก้ปัญหา และเยียวยาผลกระทบของรัฐบาล

 

การศึกษาที่พร่ามัว

เพราะการศึกษาคือเรื่องใหญ่ของเด็กและเยาวชน ช่วงโควิด-19 ระบาดหนักตรงกับช่วงปิดภาคเรียนพอดี แต่กว่าที่จะรู้ว่าวันเปิดเทอมและแผนการต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษา เยาวชนหลายคนก็อดที่จะกังวลไม่ได้

บางความคิดเห็นสะท้อนว่า แม้จะอยู่บ้านก็เรียนได้ผ่านช่องทางออนไลน์ แต่แผนหลาย ๆ อย่างก็ไม่เป็นไปตามที่ได้วางไว้ โดยเฉพาะเด็กที่กำลังจะจบมัธยมและจะเข้าศึกษาต่อระดับชั้นอุดมศึกษา พวกเขากังวลว่านี่อาจนำไปสู่การเสียโอกาสในระยะยาว

ส่วนกลุ่มนักเรียนที่ใกล้จบการศึกษาในระดับชั้นมหาวิทยาลัยมีความกังวลว่าโปรแกรมการฝึกงานอาจยกเลิกในหลายที่ ซึ่งก็จะส่งผลให้พวกเขาขาดประสบการณ์การทำงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานและอาจหางานไม่ได้ในที่สุด

 

เมื่อจิตใจต้องการที่พึ่ง

ในสถานการณ์เช่นนี้สิ่งที่แต่ละคนต้องเผชิญอาจหนักหนาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่กับเยาวชนบางรายที่มีภาวะทางจิตอยู่แล้ว พวกเขากังวลเป็นพิเศษกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บางรายสะท้อนว่าสถานการณ์เช่นนี้ทำให้พวกเขาเข้าถึงการรักษาหรือการให้คำปรึกษาจากนักวิชาชีพยากขึ้น และบางคนมีความคิดอยากฆ่าตัวตายในช่วงที่ออกไปไหนไม่ได้ด้วย

สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศอังกฤษที่จัดทำโดย Youngminds องค์กรที่ทำงานสนับสนุนสุขภาวะทางจิตของเยาวชน งานชิ้นนี้เก็บข้อมูลในช่วงที่ทางการเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ โดยเก็บจากเยาวชนกว่าสองพันคนที่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่แล้ว ผลการศึกษาพบว่าในช่วงโควิด-19 คนหนุ่มสาวจำนวนมากยังคงต้องการเข้าถึงการรักษา แต่พวกเขากลับเข้าถึงได้น้อยลงหรือเข้าไม่ถึงเลย อีกทั้ง 80% ของกลุ่มเป้าหมายตอบว่าโควิด-19 ทำให้สภาพจิตใจของเขาย่ำแย่ลง

สำหรับเยาวชนไทยที่ตอบแบบสอบถามของยูนิเซฟจำนวนไม่น้อยแสดงความกังวลว่าสถานการณ์ที่เผชิญอยู่อาจพาเขาไปถึงจุดที่เป็นโรคซึมเศร้าได้หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

นอกจากนี้เยาวชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 ใน 4 ยังตอบว่ามีความสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการความเครียดและซึมเศร้าอีกด้วย

ปัญหาด้านสุขภาพจิตในเยาวชนคือเรื่องไม่เล็กและไม่ควรมองข้าม หลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ดีและมีการออกข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการและช่องทางช่วยเหลือเยาวชนในเรื่องนี้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 อย่างรวดเร็วที่สุด

สำหรับในประเทศไทย ความพยายามให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในเรื่องนี้มีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น ยูนิเซฟร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (Path2Health) จัดคลินิกออนไลน์ 24 ชั่วโมง ชื่อ เลิฟแคร์ สเตชั่น www.lovecarestation.com เพื่อให้คำปรึกษาแก่วัยรุ่น หรือรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแอพลิเคชัน HERO เพื่อดูแลสุขภาพจิตนักเรียนช่วงเปิดเทอม หรือกรมสุขภาพจิตร่วมกับสสส.ผลิตรายการ “บ้าน-พลัง-ใจ” ทางช่อง Thai PBS เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพจิต เป็นต้น ทั้งนี้การเข้าถึงและความมีประสิทธิภาพของช่องทางเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป

 

อ้างอิง:
https://www.bbc.com/news/education-52721132

https://youngminds.org.uk/about-us/reports/coronavirus-impact-on-young-people-with-mental-health-needs/

https://www.dailynews.co.th/politics/782393

https://www.unicef.org/thailand/press-releases/8-10-youth-worried-about-their-family-income-due-covid-19

 

รูปภาพอ้างอิง:
https://www.freepik.com/free-photo/young-asian-woman-working-late-using-laptop-desk-living-room-home_5503828.htm#page=1&query=young%20asian%20women%20working%20late&position=39

Keywords: , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779