• Published Date: 01/10/2019
  • by: UNDP

ถอดบทเรียนจากแคว้นบาสก์: การสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ถอดบทเรียนแคว้นบาสก์ : การสร้างนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้งจาก ‘Gorka Espiau’ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมสังคมที่เชื่อว่า ‘ความขัดแย้งลดลงได้หากเราเชื่อมั่น’

 
“คำถามสำคัญสำหรับการทำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง คือ คุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นได้ไหม ?”

‘Gorka Espiau’ คือผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมสังคม ซึ่งเป็นนักวิชาการอาวุโส จากศูนย์การศึกษาสังคมและการเมือง (The Agirre Lehendakaria Center : ALC) ที่มีความเชื่อว่า ‘ความขัดแย้ง’ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกใบนี้สามารถลดลงได้ หากพวกเราช่วยกันทั้งกำลังคนและนวัตกรรม พร้อมระลึกอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้จริง ครั้งนี้เขามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในงานสัมมนาที่ TCDC กรุงเทพฯ ในวันที่ 20 กันยายน 2562 ซึ่งจัดโดย UNDP ประเทศไทย “การสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้ง : กรณีศึกษาจากแคว้นบาสก์”

 

 
แคว้นบาสก์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสเปน เป็นเมืองที่เคยมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาก่อน มีกลุ่มชาตินิยมแคว้นบาสก์ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดทางการเมืองคือการได้รับเอกราช และการก่อตั้งเป็นประเทศบาสก์ ความรุนแรงระหว่างกลุ่มคนที่คิดต่างกันก็ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ  มีการใช้อาวุธ และปัญหายาเสพติด ค่า GDP ก็ต่ำกว่ามาตรฐานที่ EU กำหนด ทำให้ภาพลักษณ์ของแคว้นบาสก์แย่ลงไปทุกวัน จนส่งผลให้ในยุค 1980 เศรษฐกิจของแคว้นบาสก์ล่มสลาย อัตราการว่างงานสูงเป็นประวัติการณ์

 
นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาแคว้นบาสก์เริ่มต้นพลิกฟื้นประเทศด้วยการสร้างพิพิธภัณฑ์ ‘Guggenheim’ ในเมืองบิลเบา โดย Frank Gehry สถาปนิกชาวแคนาดา ซึ่งนับเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของแคว้นบาสก์

 

 
หลังจากนั้น แคว้นบาสก์เริ่มให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลง และการลดความขัดแย้งอย่างจริงจัง โดยแคว้นบาสก์ไม่ได้ใช้กระบวนการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมืองหลังจากความขัดแย้งหมดไป แต่พวกเขาใช้นวัตกรรมทางสังคมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองและสร้างสันติภาพไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งนวัตกรรมทางสังคมในที่นี้ ปกติหลายคนอาจนึกถึงเทคโนโลยี แต่จริงๆ แล้วมันหมายถึง กระบวนการหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาเดิมได้อย่างสันติ

วิธีการที่ว่า Gorka Espiau สรุปให้ฟังอย่างเข้าใจง่าย ๆ ว่า การทำงานในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง คำถามหรือหัวใจสำคัญคือ

“ทุกคนคิดว่า การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ไหม เพราะไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่แย่แค่ไหน แต่ถ้าคนในพื้นที่เชื่อว่า มันสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ มันก็จะมีหนทาง”

 
จากการถอดบทเรียนการพัฒนาในแคว้นบาสก์ การสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรมสังคมในพื้นที่ขัดแย้งมีวิธีการอยู่ด้วยกัน 5 ระดับ ได้แก่

    1. การมีส่วนร่วมชองชุมชน (Community Action)
    2. การสร้างโปรเจกต์ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง (Small / Medium Scale Projects)
    3. การสร้างโปรเจกต์ขนาดใหญ่ (Large Scale Projects) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
    4. สร้างการบริการภาครัฐใหม่ๆ (New Services)
    5. สร้างให้เกิดกฎระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ๆ (New Regulations)

 
ซึ่งทั้ง 5 ระดับเหล่านั้น ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘การฟัง’ (Listening) โดยต้องสร้างกระบวนการฟังให้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เช่น จัดพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกัน เพื่อให้บอกเล่าโอกาสและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มองหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจว่าโอกาสคืออะไร ผ่านการพูดคุย สังเกต เพราะแค่เราเริ่มถามและฟัง ก็สร้างความเข้าใจได้ หรืออาจให้ผู้ที่เห็นต่างกันมาพูดคุย เพื่อหาแรงจูงใจในการทำ (Senses Making) เพื่อดูว่าคนแต่ละคนให้คุณค่ากับอะไร อะไรที่ทำให้เขาทำแบบนั้น หรือเขามีความเชื่ออะไร จากนั้นให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน (Co-Creation)  เพื่อวิเคราะห์ปัญหา สร้างความเข้าใจกับผู้คน ทำแผนที่ประกอบ และสร้างการเรียนรู้ ตามมาด้วยการคิดนวัตกรรม ไอเดีย หรือวิธีการใหม่ๆ จากความต้องการของคนในพื้นที่ ทำต้นแบบทดลองที่เชื่อมโยงกัน (Prototype of Interconnected Projects) เพื่อทำการทดลองกระบวนการร่วมกัน จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ (Scale) ที่ไม่ใช่การยกระดับโครงการเท่านั้น แต่ต้องยกระดับทั้งกระบวนการนั่นเอง

 

 
การเปลี่ยนแปลงในแคว้นบาสก์เกิดขึ้นจากการกระทำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การฟื้นฟูภาษาบาสก์ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่กำลังจะสูญพันธ์ เพราะภาษาคือรากฐานแห่งวัฒนธรรมทั้งหมด ถัดมาคือการให้ความสำคัญกับอาหาร เพราะลึกๆ แล้วชาวบาสก์อยากชูวัตถุดิบท้องถิ่นตัวเองให้โดดเด่น จึงสร้างอุตสาหกรรมอาหารด้วยการผสมผสานเทคนิกของชาวฝรั่งเศส แล้วเปิดร้านอาหารและโรงเรียนสอนทำอาหาร ผู้ที่เรียนจบยังสามารถทำงานได้ที่ร้านอาหารได้เลย  ปัจจุบัน อาหารของบาสก์มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะเมนูยอดฮิตอย่าง พินโชส์ (Pintxos) หรือทาปาส (Tapas) และยังเป็นเมืองที่มีร้านอาหารที่ได้ดาวมิชลินต่อตารางเมตรมากที่สุดในโลกอีกด้วย

 

 
ต่อมาคือการเสริมพลังให้ภาคแรงงาน เพราะเมื่อเศรษฐกิจล่ม แน่นอนว่าเหล่าแรงงานต้องได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน มีการก่อตั้ง Mondragon หรือสหพันธ์สหกรณ์คนทำงาน เพื่อส่งเสริมกลุ่มแรงงาน ปรับนโยบายความเท่าเทียมด้านรายได้ ขยายท่าเรือ สร้างรถไฟใต้ดิน ปรับปรุงถนน และทางรถไฟ สร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมต่อกับภายนอก และดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ อะไรเหล่านั้นส่งต่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังให้ความสำคัญกับแรงงานผู้พิการ สร้างกระบวนการทำงานที่เอื้อกับพวกเขา จัดฝึกอบรมให้มีทักษะเป็นไปตามที่ตลาดต้องการ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ แคว้นบาสก์ยังส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความรู้ และสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับเยาวชน ยังมีวิธีการอื่นอีกหลากหลายข้อที่ดึงเอากระบวนการนวัตกรรมทางสังคมเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่ซึ่งส่งผลให้ความขัดแย้งลดลงอย่างเห็นได้ชัด

 

 
แคว้นบาสก์แสดงให้เห็นแล้วว่า การจะสร้างสันติภาพและการพัฒนานั้น ไม่จำเป็นต้องรอให้ความขัดแย้งหมดไปเสียก่อน เพราะสามารถทำควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ รวมทั้งบาสก์ยังสร้างความเข้าใจให้ชาวเมืองมองเห็นภาพเดียวกัน เพื่อจับมือเดินไปยังจุดหมายอย่างมุ่งมั่น จนในที่สุดแคว้นบาสก์จึงเปลี่ยนจากภาพลักษณ์ลบเป็นบวก จนได้รับความสนใจจากนานาประเทศ

การใช้นวัตกรรมทางสังคมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เรากล่าวไปข้างต้น ทำให้ทุกวันนี้ แคว้นบาสก์กลายเป็นผู้นำทั้งด้านสุขภาวะและการศึกษา ค่า GDP เพิ่มสูงขึ้น มีการส่งออกสินค้ามากถึง 75% และประชาชนชาวบาสก์ยังมีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ในยุโรปอีกด้วย

Keywords: , , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779