• Published Date: 16/09/2019
  • by: UNDP

เรียนรู้ที่จะ ‘ป้องกัน’ ก่อนเกิดความรุนแรง

 

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ยังมีภาพของความยากจน การกีดกัน ความไม่เท่าเทียม ไปจนถึงความอยุติธรรมปรากฏอยู่ ซึ่งอาจเป็นเงื่อนไขที่สร้าง ‘แนวความคิดสุดโต่งที่รุนแรง’ (Violent Extremism) ในระดับสังคม ประเทศ และโลก สิ่งที่สำคัญคือจะยับยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรงแบบสุดโต่งนั้นได้อย่างไร  ‘การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง’ (Preventing Violent Extremism) ต้องอาศัยเครื่องมือแบบไหนบ้าง  เพื่อไม่ให้เรื่องราวน่าเศร้าใจเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

 

            การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง ไม่ใช่การหยิบอาวุธครบมือขึ้นมาล้อมหน้าล้อมหลังกัน แต่คือวิธีการค้นหา และระบุถึงสาเหตุของปัญหา เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขด้วยสันติวิธี ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของภาครัฐไปจนถึงองค์กรระดับท้องถิ่น และการลงมือทำงานร่วมกับประชาชน

            ถึงแม้ในระเทศไทยเองยังไม่มีความรุนแรงถึงขั้นสุดโต่งปรากฎให้เห็นชัดนัก แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรงขั้นนั้นได้ นั่นเพราะประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่มากพอให้คนทุกภาคส่วนแสดงออกทางความคิด หรือพูดคุยเรื่องราว และปัญหาต่างๆ รวมถึงประเด็นอีกหลายต่อหลายข้อที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น ไม่เปิดพื้นที่มากพอให้ผู้หญิงแสดงออกความเห็น ความไม่เท่าเทียมทางเพศในสังคมไทยที่ยังมีให้เห็นอย่างชัดเจน หรือความไม่เสมอภาคของโอกาสในการเข้าถึงด้านต่างๆ

            ดังนั้นการทำความเข้าใจหรือรับรู้เรื่องราวขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่ควรเริ่มทำ เรามีโอกาสพูดคุยกับ ‘ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ’ อาจารย์สาขาวิชาการระหว่างประเทศ ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็น ‘การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง’ (Preventing Violent Extremism) ในประเทศไทย

 

(photo credit : นิตรสาร GM ฉบับเดือนมกราคม 2560)

PVE คำนี้คืออะไร

            ผศ.ดร.จันจิรา : PVE หรือ Preventing Violent Extremism หมายถึง การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงโดยอ้างอุดมการณ์หรือฐานความคิดอันสุดโต่ง โดยมุ่งเป้าไปยังกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายซึ่งใช้ความรุนแรงเห็นว่าเป็น “ศัตรู” และอะไรที่ทำให้สังคมของตน “ไม่บริสุทธิ์” การป้องกันความรุนแรงเช่นนี้ต้องกลับไปดูที่โครงสร้างและวัฒนธรรมที่ผลิตผู้ใช้ความรุนแรงสุดโต่ง โดยมากคนเหล่านี้เป็นอยู่ในความขัดแย้งระดับสังคมโดยผู้ที่อยู่ในวังวนความขัดแย้งมักมีความคับข้องใจ (Grievance)  เช่นไม่ได้รับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เจอกับความเหลื่อมล้ำ มีช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนเยอะ หรือหลายคนถูกเลือกปฏิบัติ เพราะนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือมีเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งในสังคม

            บางคนอาจจะรู้สึกว่า นโยบายของรัฐไม่ได้ให้โอกาสตัวเองในการศึกษาเท่าเทียมกับคนอื่น มันก็มีสาเหตุของการเกิดความคับข้องใจต่างกัน ดังนั้นการสร้างการป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง ต้องเข้าไปศึกษาและเข้าใจความคับข้องใจเสียก่อน ว่าอะไรคือแรงขับเคลื่อนของความคับข้องใจจนนำไปสู่ความขัดแย้ง

 

PVE ในบริบทสังคมไทย

             ผศ.ดร.จันจิรา : นิยามของคำว่าความรุนแรงสุดโต่งที่ใช้กันตอนนี้มาจากประสบการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านเรา เช่นอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ รวมหลายประเทศในตะวันออกกลาง และโลกตะวันตก ซึ่งอาจไม่ใช้ประสบการณ์ของสังคมไทยเสียทีเดียว เท่าที่ได้คุยกัน คำนิยาม violent extremism สังคมไทยยังไม่ลงตัว แต่ละฝ่ายเข้าใจต่างกันไปตามแต่ประสบการณ์และจุดยืนในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เจอ เช่นเวลาเราคุยกับภาคประชาสังคม ก็จะได้ข้อมูลว่า รัฐเป็นปัญหา เป็นผู้ใช้ความรุนแรงกับประชาชน ฉะนั้นเป็นสาเหตุของ violent extremism ส่วนรัฐก็จะมองว่า violent extremism เกิดกับประชาชนบางกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงกับประชาชนกลุ่มอื่น ซึ่งมีอัตลักษณ์ต่างจากตน ดิฉันเลยคิดว่า คำหรือการให้ความหมายน่าจะปรับให้เข้ากับบริบทเฉพาะของสังคมไทยมากขึ้น เช่น ดูจากเงื่อนไขของปรากฏการณ์ violent extremism ในมิติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งรูปแบบต่างๆ มากกว่าจะดูว่าใช้เป็นผู้ใช้ความรุนแรง

 

การทำงานเพื่อป้องกัน

             ผศ.ดร.จันจิรา : การทำงานเพื่อป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่งของ UNDP มีหลายส่วน ซึ่งเราแบ่งพื้นที่เป็น 2 พื้นที่ใหญ่ คือ

             1.  ในพื้นที่ความขัดแย้งรุนแรงสามจังหวัดชายแดนใต้ มีการจัดโครงการต่างๆ ที่ดูแลเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมความขัดแย้งรุนแรง เช่น โครงการที่ดูเรื่องขันติธรรมระหว่างชุมชนชาวพุทธกับคนไทยมุสลิม หรือส่งเสริมให้จัดการเสวนาคุยกันข้ามศาสนา เพื่อสร้างความเข้าใจ

             2. พื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย ทำงานจากการหาสาเหตุของความคับข้องใจว่าไปปรากฎที่ไหนบ้าง ไม่ว่าจะเหนือ อีสาน กลาง ใต้ หาว่าผู้กระทำมีแรงกระตุ้นในการสร้างความรุนแรงอันสุดโต่งอย่างไร

             นอกจากนี้ UNDP ยังมีทีมมอนิเตอร์เรื่องราวของ hate speech หรือการใช้คำพูดสร้างความเกลียดชังภายในประเทศ วิเคราะห์บทสนทนาต่างๆ ในโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก ว่ามีบทสนทนาหรือหัวข้ออะไรบ้างในโลกโซเชียลที่หมิ่นเหม่จะใช้ถ้อยคำเกลียดชังต่อชนกลุ่มน้อยในสังคม  และเรายังร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มุ่งป้องกัน violent extremism

 

 

การรับรู้ของภาคประชาชน

              ผศ.ดร.จันจิรา : ถ้าพูดในมุมของสาธารณะ คนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้เรื่องการป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่งเท่าไหร่ เพราะจริงๆ แล้ว PVE มีคอนเซ็ปต์มาจากที่อื่น เช่น มาจากสังคมที่มีผู้ที่ก่อความรุนแรง ดังนั้นตอนนี้ เรากำลังพยายามทำงานกันอยู่เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนทั่วไป

             อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่ต้องดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้าใจต่อไป โดยเน้นการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่เอกชน องค์กร และที่สำคัญคือภาคประชาชน ผ่านแนวทางการจัดแผนยุทธศาสตร์ ทำงานวิจัย หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง’ (PVE) ในสังคมไทย

 

Sources :

– ผศ.ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ’ อาจารย์สาขาวิชาการระหว่างประเทศ ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

– สหประชาชาติและธนาคารโลก 2018 “วิถีสู่สันติ: แนวทางครอบคลุมเพื่อป้องกันความขัดแย้งรุนแรง” บทสรุปผู้บริหาร ธนาคาร วอชิงตัน ดีซี. ใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ซีซีโดย 3.0 ไอจีโอ

–  http://www.asia-pacific.undp.org/content/rbap/en/home/programmes-and-initiatives/extremelives.html?fbclid=IwAR3G9xDf15DZCyru0BvszNMAL5rcdITCcR4YdKIPrmfT8JmzxIEAaz5QFzo

https://www.undp.org/content/undp/en/home/2030-agenda-for-sustainable-development/peace/conflict-prevention/preventing-violent-extremism.html

https://www.undp.org/content/undp/en/home/blog/2019/new-approaches-to-preventing-violent-extremism.html

Keywords: , , , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779