• Published Date: 02/04/2019
  • by: UNDP

ยุคใหม่ของนวัตกรรมทางกลยุทธ์

ปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0: มองดูนโยบายในอนาคตของเอเชีย

เนื่องในโอกาสการเปิดตัวโปรแกรมการพัฒนาใหม่ขององค์การสหประชาชาติ Regional Innovation Center ในกรุงเทพฯ เราได้ทำการสะท้อนให้เห็นว่า ทวีปเอเชียในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับที่น่าเหลือเชื่อ ทศวรรษต่อไปของการ “กำหนดแนวทางสำหรับสิ่งที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน directed improvisation” จะสามารถสร้างผลจากการเปลี่ยนแปลงที่แน่ชัดต่ออนาคตของมนุษย์ เครื่องจักร และธรรมชาติที่อยู่อาศัยร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว

“มีจำนวนประชากร 5 พันล้านคน มีเมืองใหญ่ 2 ใน 3 ของโลก ครอบครอง 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก (ประมาณ 42%) มี 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกที่เติบโต บริษัท 30 แห่งติดฟอร์จูน 100 มี 6 ใน 10 ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุด มี 8 ใน 10 ของกองทัพที่ใหญ่ที่สุด มี 5 แหล่งพลังงานนิวเคลียร์ แหล่งเทคโนโลยีนวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ มีกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ที่สุดติดอันดับโลก นอกจากนี้ เอเชียยังเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมมากที่สุดในโลกนี้ แม้สำหรับคนเอเชียเอง ทวีปแห่งนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะสำรวจได้หมดจดอย่างถ้วนถี่”

ไม่ว่าคุณจะประเมินโดยประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ หรือว่าใช้มาตรวัดอื่นๆ เอเชียนั้นก็พร้อมแล้วที่จะถูกนำเสนอเป็นอนาคตของโลกนี้

ประโยคที่กล่าวโดย ปาราค คานนา (Parag Khanna) ผู้เขียนหนังสือ The Future Is Asian: Global Order in the Twenty-first Century

ความหลากหลายอันมหัศจรรย์ทั่วทั้งทวีปนี้หมายถึงการที่ผู้คน สถานที่ และวัฒนธรรมทั้งเอเชียนั้นมีบางอย่างเหมือนกันอยู่ นั่นหมายถึงพวกเราแบ่งปันความจริงร่วมกันอยู่ 2 อย่าง หนึ่งคือ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ทั้งในการเป็นเมือง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรมนุษย์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ สองคือ รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับรัฐที่ยังคงเชื่อในเจตนา พลัง และบทบาทในการควบคุมสถานการณ์ ประกอบเป็นรูปเป็นร่างด้วยความมั่นใจและเร่งการพัฒนา การทำตลาด และเป้าหมาย ไม่ว่าจะผ่านการพัฒนาโครงสร้างกายภาพพื้นฐาน โครงสร้างตลาด หรือนโยบายด้านการศึกษา ท่ามกลางความจริงที่ว่าสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การขยายตัวทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรม  ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรข้างต้นที่จะไม่ถูกนำมาพิจารณาเลย

นั่นหมายความว่า เมื่อต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่และหลักการในการจัดการกับเศรษฐกิจใหม่ เอเชียต้องต่อสู้กับชุดความคิดเดิมและกระโดดข้ามไปให้พ้นความเป็นตะวันตก ผู้เล่นอย่าง DJI ซึ่งครองตลาดโดรนกว่า 70% หรือประเทศอย่างจีนที่เปิดพื้นที่ต้อนรับสุดยอดพลังของ AI ก็ได้กลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยแห่งการปฏิวัติเทคโนโลยีครั้งที่ 4 บ่อยครั้งที่จีนได้ท้าทายนวัตกรรมจนเอาชนะความเป็นตะวันตก มองดูทั่วเอเชีย การเข้าสู่ระบบหุ่นยนต์ทำให้การผลิตนั้นรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เอเชียในวันนี้ มีการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตคิดเป็น 65% ของทั้งโลก เกาหลีใต้และญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ชั้นนำของโลก ในขณะที่แอปพลิเคชันส่งข้อความในมือถืออย่าง WeChat นั้นก็เพิ่มความสามารถให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลได้ ยกระดับการผสมผสานได้ดีมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแอปฯ ที่มาจากตะวันตก เปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในอนาคตสามารถขายสินค้าและสร้างระบบการผลิตที่เป็นดิจิทัลได้มากขึ้น ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเฉพาะถึงการผสมผสานที่ทรงพลังของสตาร์ทอัพด้านพลังงาน ที่เริ่มเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม สามารถขยายขนาดกำลังการผลิตและการสนับสนุนด้านการลงทุน ขยายตลาดฝั่งนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยความกระตือรือร้นของพลเมืองที่จะได้เห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป แม้ว่าจะมีมนุษย์นับล้านคนถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน

นี่คือด้านกลับของความก้าวหน้าที่ชวนเวียนหัว เอเชียกำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากของสิ่งที่ยังไม่รู้ว่ากลยุทธ์นั้นมีความเสี่ยง ส่งผลมาจากเทรนด์โลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอาหารหรือการเสื่อมสลายของดิน ญี่ปุ่นหันไปพึ่งพาหุ่นยนต์ในการรับหน้าดูแลผู้สูงอายุ จาการ์ต้าเผชิญกับอุทกภัยจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมถาวร หรือปัญหาฝุ่นพิษในประเทศจีนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และในอนาคตอันใกล้นี้ บางมุมมองของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution) (อย่างเช่น การที่ตะวันตกนำการผลิตกลับไปยังประเทศของตัวเอง ทำให้อัตราการส่งออกของเอเชียนั้นเพิ่มความไม่แน่นอนมากขึ้น) ทำให้เป็นการลดกำลังการผลิตของเอเชีย เพื่อจะรับมือกับปัญหาที่เลวร้ายนี้ รายงาน Development 4.0 จากองค์การสหประชาชาตินี้จึงเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงพลวัตบางอย่างที่ปรากฏขึ้นมา

การไหลมารวมกันของกำลังการผลิตนวัตกรรมที่เพิ่มมากขึ้นและการเพิ่มขึ้นของความท้าทายที่ต้องแบ่งปันร่วมกันนี้ หมายความว่า สังคมหลายสังคมในเอเชียนั้นไม่สามารถจำกัดตัวเองเพื่อที่จะเน้นไปที่การเติบโตด้านเทคโนโลยีได้ ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิต นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ B2C หรือ B2B อาจจะได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในเอเชียนั้นจะไปได้ไกลและต้องไปให้ไกล ไกลกว่าแค่การทำซ้ำหรือการอัพเกรดเครื่องจักรใหม่ ต้องมีการปรับแต่งเชิงโครงสร้างและสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการหากจะปกครองของเทคโนโลยีใหม่ ปรับปรุงระบบนิเวศการพัฒนาของมนุษย์ และกำหนดเงื่อนไขสำหรับการพัฒนามนุษย์ใหม่ พร้อมกับที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงทั้งหลายเกี่ยวกับระบบนิเวศและแสดงถึงความเสี่ยงมากมาย ทั้งมลพิษทางอาการและน้ำทะเลที่เป็นกรด ทั้งยังต้องสร้างเส้นทางที่เหมาะสำหรับทุกคน เพื่อทำให้การเข้าถึงนั้นเป็นไปได้อย่างประชาธิปไตย สร้างการมีส่วนร่วม และนวัตกรรมในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งต่อไปด้วยตัวเอง ปาราค คานนา พูดถูกเรื่อง ‘เอเชียเป็นปัจจุบันแล้ว และเป็นอนาคตอย่างแน่นอน’ และถ้าหากเอเชียประสบความสำเร็จในการจัดการกับการรวมความท้าทายทั้งหลายเหล่านี้ เอเชียจะเป็นอนาคตที่ทั้งโลกต้องการและสังคมที่มีความหลากหลายนั้นจะเป็นที่ต้อนรับ

อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว แต่ว่า…

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสะท้อนให้เห็นรูปแบบการพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของเอเชียตะวันออกในปัจจุบัน พวกเขาแสดงให้เห็นในหลายวิธีการ อย่างที่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดัง วิลเลี่ยม กิบสัน (William Gibson) เคยกล่าวไว้ “อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว แต่ว่าการกระจายนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก”

พวกเราเห็นได้ชัดจากตัวอย่างนวัตกรรมที่แตกต่างและไปไกลกว่ากระบวนการเทคโนโลยีและการสร้างวิวัฒนาการเชิงเกี่ยวกับระบบ

ตัวอย่างเช่น ระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมในเมืองใหญ่ของอินโดนีเซีย PetaJakarta คือแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้พลเมืองเป็นผู้นำในการเตือนภัย สนับสนุนโดยตัวแทนเมืองที่กระตือรือร้นในการจัดการภาวะฉุกเฉิน ในสิงคโปร์ เมื่อ Future Economy Council นั้นมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนการสร้างประโยชน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพัฒนาการให้บริการภาครัฐในอนาคต โครงสร้างในการสร้างความมีส่วนร่วมใหม่ได้นั้นถูกสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน OneService ที่สร้างขึ้นบนการแลกเปลี่ยน API ที่แชร์ร่วมกัน ในเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีคนใหม่ที่เพิ่งได้รับเลือกได้ก่อตั้งPeople’s Transition Office ที่ให้สัญญาว่าประชาชนจะมาเป็นที่หนึ่ง คัดเลือกโครงร่างข้อเสนอกว่า 200,000 หัวข้อใน 49 วันแรก โดยจากการนำเสนอทั้งหมด กว่า 1,700 โครงร่างจะได้รับการรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ที่อินเดียนั้นไปไกลกว่า รัฐบาลก่อตั้งแพลตฟอร์ม MyGov platform ที่ที่พลเมืองจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดนโยบายชาติ สร้างเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของขอบเขตงานที่รัฐประกาศ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ในส่วนของภาคเอกชน ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมประมงอย่าง Thai Union ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง ได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการพัฒนา Fishcoin เพื่อที่จะสร้างห่วงโซ่กระบวนการผลิตที่มีความยั่งยืนมากขึ้นและลดการสร้างของเสีย นวัตกรรมนี้ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจ่ายเงินรายย่อยที่ทำให้เป็นดิจิทัล ห่วงโซ่กระบวนการผลิตที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ตลาดพลังงานแบบเครือข่าย การเปลี่ยนแปลงอย่างไร้ขอบเขตในการใช้หุ่นยนต์ในการขนส่งและการมีส่วนร่วมของพลเมืองอัจฉริยะที่จะสามารถปลดล็อคให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ตลาดได้ดีมากขึ้น การจัดการของส่วนรวมที่ยั่งยืน เพิ่มความสามารถในการผลิตในอุตสาหกรรม และการบริการจากภาครัฐที่เป็นไปอย่างเฉพาะรายบุคคล คาดการณ์ได้ และสร้างการมีส่วนร่วม

การถกเถียงถึงอนาคตที่ว่านี้ โดยส่วนมากแล้วเกิดขึ้นจากความต้องการที่จะลงทุนให้กับการเติบโตทางเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะผ่านการให้เงินสนับสนุนจาก VC การลงทุนในสงครามปัญญาประดิษฐ์ระดับโลก การเปิดห้องทดลอง fab lab หรือแซนด์บ๊อกซ์เพื่อทดลองอนาคตของธุรกิจ แต่พวกเราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความฟุ่มเฟือย อย่างน้อยก็เพื่อ 4 เหตุผลนี้

ข้อแรก ในหลายประเด็นปรากฏให้เห็นเรื่องความเสี่ยงทางจริยธรรม กับการปรับใช้กลยุทธ์ในระยะยาวสำหรับความหลากหลายทางความคิด ความยืดหยุ่น และความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง การควบคุมที่เพิ่มมากขึ้นและความจริงเรื่องยุคหลังความเป็นส่วนตัว (post-privacy) ที่ปรากฏขึ้นมาลางๆ นั้นกำลังขยายครอบคลุมถึงการรวมกลุ่มทางความคิดของพวกเรา อย่างที่ Crispr Babies ได้เข้ารหัสด้วยกลไกทางพันธุกรรมในเรื่องความไม่เท่าเทียม ในระดับของสังคม มันเป็นเรื่องที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วกับระบบการให้เครดิต Sesame ที่ถูกใช้อย่างอดทนอดกลั้น ถ้าหากระดับคะแนน ‘ทางสังคม’ ของผู้คนนั้นแปรผัน ‘คู่ควรกับการไว้วางใจ’ คะแนนถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยชุดคำสั่ง หรือเอาจริงกับการจำกัดทางเลือกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน มากไปกว่านั้น กรณีอย่างการเฝ้าดูคลื่นสมองของพนักงานในบริษัท (ด้วยการใช้เซนเซอร์ไร้สายและชุดคำสั่งจากปัญญาประดิษฐ์) อาจยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่องและสวัสดิการพนักงาน แต่ก็มาพร้อมความไม่ปลอดภัยและความรู้สึกเป็นอันตราย การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดกับกระบวนการทำงานทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเติบโตอันน่าตื่นตาตื่นของการผลิตเชิงเทคโนโลยีนั้นเป็นดาบสองคม

สองคือ ถ้าหากข้อมูลคือสกุลเงินใหม่ เรากำลังมองไปที่มิติของความไม่เท่าเทียมที่เกิดความเสี่ยงจะทิ้งผู้คนหลักพันล้านไว้เบื้องหลัง ลองดูตัวอย่างนี้ ลูกจ้างมากกว่า 60% ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนามนั้นกำลังอยู่ในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะถูกทดแทนได้ด้วยเครื่องจักร ในจีนและอินโดนีเซียมีพลเมืองจำนวนเกือบๆ 900 ล้านคน ส่วนมากเป็นผู้หญิง ไม่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ การแบ่งให้เป็นดิจิทัลนี้ได้ขับเคลื่อนให้เกิดช่องว่างของรายได้ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สามคือ เป็นความท้าทายใหม่ที่จะทำงานร่วมกันกับความไม่เท่าเทียมที่ไม่ถูกนำมาพิจารณาหรือสร้างข้อตกลงร่วมและพลวัตที่ไม่เสถียร ตัวอย่างเช่น การไม่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์ขับเคลื่อนให้ผู้ว่าจ้างจำนวนมากมองหาพื้นที่ทำงานที่มีค่าแรงต่ำสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต และนี่กำลังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในเอเชีย อย่างที่กำลังขับเคลื่อนผู้ผลิตจากตะวันตกเข้ามาในเอเชีย เป็นที่แน่ชัดในวันนี้แล้วว่าสัญญาณของความซบเซาด้านค่าแรงในภาคอุตสาหกรรมแบบเดิมนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศจีน

สี่คือ อุปสรรคต่อเศรษฐศาสตร์มหภาคและเสถียรภาพในสังคม (รวมอยู่ด้วย แต่ไม่จำกัดแค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ การเสื่อมสลายของระบบนิเวศ และการล้มเหลวของภาครัฐ) สองสิ่งที่เกี่ยวข้องกันนี้กำลังเพิ่มระบบการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยการจัดเก็บภาษีอากรขาเข้าให้สูงสำหรับสินค้าที่เป็นคู่แข่งในประเทศตะวันตก การลดความเสี่ยงในกระบวนการทางเทคโนโลยีของภูมิภาค สร้างข้อตกลงร่วมกับความไม่แน่นอนทั้งหลายเหล่านี้ และหลีกหนีให้พ้นไปจาก “กับดักรายได้ปานกลาง” เอเชียกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมือนกันกับที่สังคมตะวันตกต้องเผชิญกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1

ระบบและสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมมาก่อน: เขตแดนอันยุ่งเหยิง

กำหนดบริบทของความรุ่มรวยทางโอกาสและความเสี่ยงระดับขีดสุด เขตแดนต่อไปของนวัตกรรมนั้นไปไกลกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขนส่ง แต่เป็นสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างคนกับหุ่นยนต์ เขตแดนต่อไปของการปฏิวัติจึงว่าด้วยระบบ

ทฤษฎีการพัฒนาระบบนั้นดูเหมือนว่าจะได้รับการถกเถียงอย่างดุเดือดอยู่เสมอในปัจจุบัน ในแง่หนึ่ง ก็เป็นมุมมองแบบดั้งเดิมว่าระบบนั้นคือเงื่อนไขสำหรับความสำเร็จด้านความยั่งยืน สำหรับ แดรอน เอซโมกลู (Daron Acemoglu) และ เจมส์ โรบินสัน (James Robinson) การขาดแคลนระบบนั่นคือ เหตุผลที่ทำให้ชาติล้มเหลว นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและศาสตราจารย์ประจำ London School of Economics คาร์โลตา เปเรซ​ (Carlota Perez) เขียนในหนังสือของเธอ Technological Revolutions and Financial Capital ว่าการตอบรับของระบบเท่านั้นที่จะเป็นกุญแจสร้างความแตกต่างเมื่อเกิดฟองสบู่หรือวิกฤติ ถ้าหากตัวเลือกที่ถูกต้องนั้นเกิดจากการสร้างให้ตลาดสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน ตามทฤษฎีแล้ว รัฐบาลและภาคเอกชนนั้นทำงานร่วมกันอย่างเป็นลำดับ สังคมจะมีความสามารถในการใช้งานนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมและแพร่หลาย ผลลัพธ์ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคงและเติบโตอย่างรุ่งเรือง ซึ่งคาร์โลตาเรียกว่า “ยุคทอง”

ในอีกด้านหนึ่ง หนังสือเล่มล่าสุด How China Escaped the Poverty Trap ของเหยือน เหยือน แอง (Yuen Yuen Ang) กลับมีมุมมองที่แตกต่างออกไปในเรื่องบทบาทระหว่างระบบและการพัฒนา เธอแสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่แตกต่างกันระหว่างการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจีน เป็นไปได้เพราะรับผลประโยชน์จากระบบที่อ่อนแอ ในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนา “ความคลุมเครือ” และนโยบายที่กำกวมนั้นเปิดโอกาสให้กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง นวัตกรรมที่เน้นบริบทเป็นศูนย์กลาง ถูกตั้งชื่อว่า กำหนดแนวทางสำหรับสิ่งที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน เหยือนสรุปใจความสำคัญว่า การเริ่มต้นปลดเปลื้องให้เป็นอิสระจากล่างขึ้นบนภายในกลุ่มชนชั้นกลางขนาดใหญ่ในจีนนั้นทำได้อย่างไร ภูมิภาคทั่วไปในจีน “รวมกลุ่มกันแสดงออกโดยไม่ได้เตรียมมาก่อนอย่างหลากหลาย รูปแบบของการพัฒนาที่สามารถเฉพาะเจาะจงไปตามเงื่อนไขและความต้องการของท้องถิ่น”

ขัดแย้งกับมุมมองที่มีอยู่ทั่วไป ว่าถ้าไม่มีระบบที่เข้มแข็งในช่วงก่อนเริ่มต้น นวัตกรรมใดๆ ก็เป็นการพร้อมล้มเหลว มุมมองนี้ได้รับสนับสนุนอย่างเข้มแข็งโดยนักคิดจากตะวันตกที่มีพื้นฐานเฉาพะกับประวัติศาสตร์ตะวันตก มุมมองนี้มาจากตลาดสหวิวัฒนาการและความสามารถของระบบ คือการสนับสนุนให้พวกเราได้ชื่นชมกระบวนการที่ยุ่งเหยิงกว่าว่าสามารถประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ได้

เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะว่าถ้าหากขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่พวกเรากำลังเผชิญกันอยู่นั้นเหมือนกันในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 2 หรือ 3 สิ่งที่จะต่างออกไปในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือจังหวะการเปลี่ยนแปลงที่สูงขันในภาวะอันเร่งด่วนนี้ พวกเราจะต้องเผชิญกับปัญหาขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเชิงระบบที่จะเรียกร้องความสามารถของพวกเราในการอยู่อาศัยบนโลกที่สมบูรณ์นี้ และความสามารถของพวกเราในการอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ตลอดไปในทางที่จะปรับปรุงมนุษย์อย่างพวกเราให้เก่งกาจมากขึ้น การยกระดับโครงสร้างในการรวมผสมมนุษย์เข้ากับหุ่นยนต์ หมายความว่า เราต้องคิดเกี่ยวกับระบบ กฎหมายแรงงาน กรอบแนวคิดเรื่องการควบคุมและระบบสวัสดิการเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ใหม่ทั้งหมด ในขณะที่ตลาดสหวิวัฒนาการเข้ากับระบบที่กำลังคิดค้นใหม่ของเรา ที่ที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้า (และการสร้างรากฐานทางสถาบันที่เกิดขึ้นมาตามหลัง) ใช้เวลานานหลายทศวรรษ เราไม่ได้มีเวลาเป็นต้นทุนอีกต่อไป

 “การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ในเอเชียจะต้องไปไกลกว่า เป็นเรื่องจำเป็น ต้องไปให้ไกลกว่าการทำซ้ำและการอัพเกรดเครื่องจักรใหม่ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ใหม่อีกครั้ง”

การทดลองเชิงสถาบันในโลกที่เป็นอิสระ

นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการคิดและปฏิบัติอย่างชัดเจน รุ่นต่อไปของระบบนั้นไม่สามารถสร้างอย่างช้าหรือจะเอามาจากตะวันตกแล้วใช้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่สามารถนำเข้า “วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด” หรือออกแบบในสภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ พวกเราไม่ขึ้นอยู่กับระดับอำนาจของเอเชียหรือภาคเอกชนผู้กล้าหาญที่ได้แต่ลงมือกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจะต้องมีระบบที่เป็นประชาธิปไตย ในศตวรรษที่ 21 นี้ คือโลกแห่งการเป็นอิสระมากที่สุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทฤษฎีแห่งการเปลี่ยนแปลงของเราจะต้องไปไกลกว่าคำอุปมาของสตาร์ทอัพที่ล้มล้างระบบแบบทั่วไป หรือคำประเภทว่าเอเชียคือซิลิคอล วัลเล่ย์แห่งใหม่ ทั้งนโยบายสูตรสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน สิ่งที่พวกเราต้องการมากที่สุดคือการทดลองร่วมมือกันในเชิงลึกและระดับถึงรากถึงโคน ต้องการการมีส่วนร่วมของนวัตกรรมที่มีศักยภาพจากพลเมืองและองค์กรที่เกี่ยวกับเมือง เคียงข้างรัฐบาล นักเทคโนโลยี และตลาดขนาดใหญ่

เกิดคำถามขึ้นมาว่า “เราจะสร้างสถาบันที่สามารถสนับสนุนการทดลองขนาดนี้ได้อย่างไร?” หลักการ 2 ข้อที่สำคัญนี้จะเป็นคำตอบได้ หนึ่งคือ สร้างด้วยการลงมือทำ (Building by doing) และสองคือ กลยุทธ์เน้นปริมาณหลายเท่า (Multi-scalar tactics)

  • สร้างด้วยการลงมือทำ จากข้อมูลเชิงลึกที่เหยือนและคนอื่นๆ บอกกล่าวมา เราไม่สามารถคาดหวังได้ว่า สมรรถภาพของระบบนั้นจะได้รับการจัดการอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ประสิทธิภาพ (โครงสร้างของโปรเจ็กต์ต่างๆ สะท้อนให้เห็นผ่านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การค้นหาแนวโน้มสำคัญเพื่อที่จะปลูกฝังทักษะใหม่ให้กับผู้คน) จะต้องสร้างด้วยการลงมือทำ (เปิดพื้นที่ควบคุมแซนด์บ็อกซ์ การตอบรับกับพฤติกรรมตลาดใหม่) ในกระบวนการอันยุ่งเหยิงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับเส้นแบ่งที่ไม่ควรก้าวข้ามและพื้นที่สีเทาอันคลุมเครือ
  • กลยุทธ์เน้นปริมาณหลายเท่า สิ่งนี้ต้องการทำให้เกิดขึ้นทั้งระดับประเทศและระดับเมือง (หรือภูมิภาค) ในระดับเมือง แม้จะเกิดความล้มเหลวของรัฐบาลที่จับต้องได้ในปัจจุบัน แต่ด้วยการให้ความสนใจไปกับทุนมนุษย์ การถ่ายโอนความชอบธรรมของรัฐ และความสามารถในการสร้างการตอบสนองบริบทในเชิงลึกผ่านการร่วมมือกันของผู้มีส่วนร่วม สร้างภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง ทั้งหมดนี้ในเวลาเดียวกัน เราต้องการการยกระดับประเทศในเชิงลึก โดยเฉพาะเรื่องของสวัสดิการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทั้งสองระดับ พวกเราจะต้องค่อยๆ พัฒนาทั้งเชิงเทคนิคและเชิงความสามารถในการจัดการกรอบการทำงาน การขับเคลื่อน และทุนสนับสนุน การทดลองประเภทที่จำเป็น ทำอย่างรอบคอบและตั้งใจ ในขณะที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนรู้ใหม่และหาหนทางที่จะเปลี่ยนการทดสอบแซนด์บ็อกซ์ให้กลายเป็นข้อปฏิบัติการควบคุมได้อย่างเต็มตัว การลงทุน และการร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบ ในกรณีของประเภทของโครงสร้างระบบที่สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว คำแถลงที่ว่า องค์กรใหญ่บางครั้งต้องทำตัวเหมือนกับสตาร์ทอัพก็ดูเหมือนจะปรับใช้ได้ในกรณีเดียวกัน (แม้ว่าพวกเขาต้องการเครือข่าย สตาร์ทอัพที่เน้นระบบ คัดค้านกับเป้าหมายเพื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการเดียว)

เราแนะนำการทดลองดังนี้

1. สร้างการเป็นผู้นำตลาดผ่านการจัดจ้างของรัฐ

เราควรให้ความสนใจไปที่บทบาทการจัดจ้างงานของรัฐบาล ในฐานะผู้มีอำนาจแห่ง “ภารกิจ” เพราะไม่ได้เป็นเพียงผู้จัดหาบริการเท่านั้น ภารกิจเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฟื้นฟูเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงอาหารจากพืชที่คาร์บอนต่ำ หรือนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย สามารถขับเคลื่อนได้โดยการกำหนดกรอบควบคุมสถานการณ์ของสิ่งที่ภาครัฐตั้งเป้าหมายในการจัดซื้อ งานที่มีอิทธิพลของ มาเรียนา มาซซูคาโต (Mariana Mazzucato) และสถาบันนวัตกรรมและเป้าหมายสาธารณะ UCL ระบุว่า ภาครัฐสามารถที่จะเร่งความเป็นไปได้ตามการจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรก อย่างเช่น การทำให้การจัดการการผลิตแบบต้นจนจบเป็นระบบดิจิทัล (สำคัญมากสำหรับการขับเคลื่อนความยั่งยืน) และระบบบัญชีสังคม (เพื่อทำให้ระบบการป้องกันและดูแลสุขภาพนั้นแข็งแรงจากล่างขึ้นบน) นี่คือโครงสร้างที่จะสร้างอนาคตที่พวกเราต้องการ แต่ข้อนี้อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมีข้ออื่น

2. สร้างตลาดเชิงลึกผ่านการพัฒนาคน

เราจะต้องปฏิวัติการพัฒนาคน สังคมอุตสาหกรรมเจนเนอเรชันต่อไป ที่ที่ไม่มีมนุษย์คนไหนที่จะเห็นบทบาทความเชื่อมโยงระหว่างคนกับหุ่นยนต์เป็นของตาย ทุกภาคส่วนต้องการวิธีการที่จะพัฒนาความสามารถอันเฉพาะตัวของมนุษย์ทุกคน อย่างเช่นงานฝีมือ ลองจินตนาการและคิดค้นอนาคตที่ต้องการมีและเป็น ลองฝันและขับเคลื่อนศักยภาพของพวกเรา ลองทำงานข้ามสาขา ลองบ่มเพาะลักษณะและความสามารถส่วนตัวของมนุษย์ในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในสุนทรพจน์ของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ ธนาคารแห่งชาติประเทศอังกฤษ แอนดี้ ฮาลเดน (Andy Haldane) ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงการบ่มเพาะทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ สังคม ความเข้าอกเข้าใจ และความฉลาดทางเทคโนโลยี “หัวใจ” “มือ” และ “สมอง” เราต้องอัพเกรดระบบนิเวศการพัฒนามนุษย์ ทั้งด้วยการสร้างเครือข่ายสถาบัน (อย่างเช่น สถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย องค์กรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ผ่านการสนับสนุน การเพิ่มความเป็นเมือง และสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมมากขึ้น นี่หมายถึงว่า พวกเราจะต้องเร่งให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลง เหมือนกับว่าที่เกิดขึ้นแล้วกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่นๆ ลองจินตนาการถึงการพัฒนาสถาบันแข่งขันเพื่อเปลี่ยนรูปแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ ฮาลเดนเรียกสิ่งนี้ว่า “multiversities”

การสร้างตลาดอนาคตนั้นต้องการสิ่งต่างๆ เหล่านี้

3. สร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบ

เราต้องการการคิดค้นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่พัฒนาระบบให้แข็งแรงจากข้างล่าง นั่นหมายความว่า เราต้องพิจารณาถึงการทำข้อตกลงการค้าข้ามชาติใหม่ ที่จะไปไกลกว่าการตอบสนองของกระแสการค้า (trade flow) เพื่อรวมเอาระบบัญชีสำหรับสังคมองค์รวมและความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เราต้องการการคิดใหม่เรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเพื่อให้เป็นเจ้าของร่วมกันอย่างเป็นสัดส่วน และคิดประเภทใหม่ของการใช้ใบอนุญาต ในฐานะส่วนหนึ่งของตลาดรากหญ้าที่จะปลดล็อคความเป็นไปได้และลดทอนอำนาจการผูกขาดของผู้มีอำนาจในทรัพย์สิน เราต้องเริ่มต้น “การเชื่อใจในข้อมูลพลเมือง” เพื่อสร้างภาพรวม กรอบการทำงานที่เชื่อใจได้ จะช่วยให้ผู้ใช้ร่วมกันผลิตข้อมูลขึ้นมาเพื่อประโยชน์ด้านการจัดการเมืองโดยไม่ต้องมีการเหยียบย่ำไปที่สิทธิมนุษยชน และถ้าหากเราปลดล็อคการพัฒนาขนาดใหญ่ในการเผยแพร่โรงงานและเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ เราต้องกำหนดกรอบการควบคุมใหม่เกี่ยวกับสิทธิ์ของผู้บริโภคและการยืนยันผู้ผลิตแบบโอเพ่นซอร์ส สินค้าที่สามารถแฮ้กได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นภาพเท่านั้น

4. สร้างเส้นทางการเปลี่ยนแปลง

เรายังจะต้องสร้างกลุ่มของความตระหนักรู้ ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดนั้นจะสามารถยกระดับเชิงโครงสร้างของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับระบบในเชิงลึก โดยการจัดการภาษาใหม่และการนำเสนอเพื่อล้มล้างระบบเดิม เพื่อทำให้แน่ใจว่า การแพร่กระจายของเทคโนโลยีนั้นเป็นไปเพื่อสนับสนุนผู้คน พวกเราต้องคิดใหม่ถึงโครงสร้างหลักการของข้อเสนอนโยบายในสาขาอย่างหลากหลาย ตั้งแต่สังคมสงเคราะห์จนถึงการออกกฎหมาย อย่างที่ระบุข้างต้น เราต้องจริงจังกับการทดลองที่เพิ่งเริ่มในสาขา เรื่องรายได้ครองชีพขั้นพื้นฐาน (Universal Basic Income หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Universal Basic Share แต่ไม่ควรมองข้ามว่าต่างไปจาก UBI) เพื่อได้ตระเตรียมความมั่นคงในการเผชิญกับเศรษฐกิจล้มเหลว และตอนนี้คือเวลาของความก้าวหน้าของโครงสร้างสำหรับการทำให้เป็นรัฐดิจิทัลอย่างแท้จริง ด้วย “กฎหมายเท่ากับโค้ด” เปลี่ยนวิธีการซึ่งนักกฎหมายมีบทบาทในตอนแรก เพื่อสร้างการกำหนดนโยบายและการปรับใช้การควบคุมที่เหมาะสมสำหรับศตวรรษที่ 21 ก้าวแรกเริ่มนั้นเป็นไปอย่างหลากหลายแต่ประเด็นโครงสร้างที่เท่าเทียม จะแสดงให้เห็นว่าถนนมุ่งหน้าไปสู่การยกระดับโครงสร้างทั้งหมด แม้จะเกิดความฉงนไปด้วยสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจ อาจเกิดการโต้ตอบทางการเมือง หรือการดื้อรั้นของชนชั้นกลาง ในบางครั้งเราเลยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเส้นทางที่สามารถเพิ่มอำนาจให้เราจินตนาการถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และเขียนแผนที่ให้เราไปถึงเป้าหมายได้ในท้ายที่สุด

5. สร้างความสามารถของสถาบัน

จินตนาการสุดโต่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องการความสามารถของระบบใหม่ ภายใต้ผู้กำหนดนโยบายและพันธมิตรของพวกเขาในภาคเอกชนและพื้นที่เมือง ในยุคของความเชื่อใจที่ล้มเหลว การเชื่อถือในหลักฐานที่มีพื้นฐานจากการกำหนดนโยบายจึงไม่ได้เป็นคำตอบเดียว เราต้องการยุคใหม่ของการทดลองเพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง ที่ๆ เราสามารถเจริญติบโตอย่างมีเป้าหมายด้วยความสามารถทางเทคนิค ในการรับรองและเรียนรู้จากการทดลอง ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดไปมากกว่าการมีคำตอบสุทธิอันสมบูรณ์แบบ ในโลกที่ไม่แน่นอนนี้ โลกที่ความน่าจะเป็นและเรื่องราวที่มีอยู่ก่อนนั้นล่มสลาย ในฐานะเครื่องมือช่วยตัดสินใจ คำถามคือตอนสุดท้ายอะไรสำคัญที่สุด คำตอบคือคุณภาพ ไม่ใช่แค่เพียงปริมาณและการค้นพบไอเดียในขอบของความสามารถในการมีชีวิตในปัจจุบันเท่านั้น และในพื้นที่สีเทาอันคลุมเครือของระบบการกำกับควบคุม ซึ่งอย่างที่เหยือนได้แสดงให้เห็นไว้อย่างชัดแจ้ง ศิลปะที่บอกเป็นนัย นี่ไม่ใช่กลยุทธ์ระยะสั้นที่เกิดแล้วจบไป แต่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการกำหนดกรอบของสิ่งที่ไม่ได้ตระเตรียมมาก่อน ที่จะได้ผลกับการออกแบบอย่างครอบคลุมเพื่อรองรับความแตกต่าง การทดสอบเฉพาะบริบท ตามด้วยการจัดเรียงการควบคุม และการสร้างเจนเนอเรชั่นต่อไปของการทดลองและการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดอย่างมีทิศทาง

ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ทำให้รู้สึกกลัว นั่นก็เพราะมันเป็นอย่างนั้น แต่เราไม่มีทางเลือกแล้ว ในการสร้างความก้าวหน้า ไอเดียและระบบต้องการกันและกัน ถ้าหากเกิดการต่อสู้กับอดีตในภายหลัง นั่นเพราะว่าเราจำเป็นต้องปรับไอเดียของเราบนความหมายที่แท้จริงของ “การรักษาระดับ” ให้สมดุล เราจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ระบบได้เริ่มต้นใหม่อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถที่จะจัดการผลงานของตัวเลือกที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ปรับใช้อย่างง่ายๆ และขยายขนาดเพียงครั้งเดียว หรือแค่เป็นทางออกที่ง่ายดายสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน

จากทศวรรษที่ผ่านได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้นั้นอาจเกิดขึ้นได้จริง ระดับต่อไปของการกำหนดแนวทางสำหรับสิ่งที่ไม่ได้เตรียมมาก่อนในเอเชียจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อย่างที่มนุษย์ หุ่นยนต์ และสิ่งแวดล้อมจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว นี่คือเส้นทางการเรียนรู้ที่กำลังท้าทาย และ Regional Innovation Center ซึ่งก่อตั้งโดย UN Development Programme และรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ พร้อมแล้วที่จะเริ่มดำเนินการเป็นพันธมิตรกับภูมิภาคนี้

 

บทความนี้เขียนร่วมกันระหว่าง Alex Oprunenco Giulio Quaggiotto Joost Beunderman Chloe Treger และ Indy Johar เผยแพร่ครั้งแรกที่นี่ 

 

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779