• Published Date: 21/02/2022
  • by: UNDP

“ปิดตา-เปิดใจ” กับพอดแคสท์จากคนพิการทางสายตาแห่งแรกของไทย

 

บ่อยครั้งที่ผู้ตระหนักความแตกต่างในสังคมจะรู้สึกถึงความไม่แน่ใจว่าจะเรียกคนที่มองไม่เห็นว่าเป็น “คนพิการ” ทางสายตา หรือ “คนตาบอด” ดี เพราะรู้สึกถึงศัพท์ที่สะท้อนถึงการแบ่งแยกและเน้นย้ำถึงข้อจำกัดทางร่างกาย จากวงเสวนา Youth Dialogue ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อเยาวชนผู้พิการที่จัดไปก่อนหน้านี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน คำตอบที่ได้จากผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นก็คือแค่ถามว่าแต่ละคนสบายใจกับคำไหนก็ให้ใช้คำนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่ทำยากที่สุดเพราะผู้คนไม่กล้าที่จะเปิดประเด็นนี้

 

เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโครงการ Youth Co:Lab 2021 ในปีนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีคนพิการทางสายตาผ่านเข้ารอบ 5 ทีมและต้องผ่านกระบวนการเทรนนิ่งอันเข้มข้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจเพื่อสังคมโดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ตามที่ได้กำหนดธีมประจำปีเอาไว้ ทีมงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันในการหาวิธีสื่อสารเพื่อให้เยาวชนคนพิการทางสายตาได้ข้อมูลครบถ้วนและครอบคลุม รวมถึงสร้างบรรยากาศให้ได้รู้สึกเท่าเทียมกัน ซึ่งผลลัพธ์คือความประทับใจที่สมาชิกในทีมอื่นๆ ต่างช่วยกันสร้างบรรยากาศในการช่วยเหลือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้

 

“ปัจจุบันเสียงของคนพิการไม่ได้ถูกเล่าจากคนพิการโดยตรง” ประโยคนี้เป็นจุดเปลี่ยนของทีม “เราเหมือนกัน” ที่อยากจะผลิตรายการพอดแคสท์เรื่องราวเกี่ยวกับคนพิการขึ้นมา โดยเนื้อหาที่ทางทีมได้ว่าไว้คือการรวบรวมไอเดียหรือชักชวนนักออกแบบต่างๆ ที่คิดถึงเรื่อง Inclusive Design มานั่งคุยถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแต่ละอย่างขึ้นมา เช่น ผลิตภัณฑ์ สถานที่ หรืองานบริการ และมองว่ารายการนี้จะเป็นสื่อกลางสำหรับสร้างการตระหนักรู้ให้เพิ่มขึ้นด้วยว่า แต่ละคนจะออกแบบสินค้าของตัวเองในอนาคตให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนได้อย่างไรบ้าง

 

 

พลอย – สโรชา ตัวแทนกลุ่มเราเหมือนกันที่เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อนโครงการเล่าว่า เรื่องราวของคนพิการมักถูกเล่าผ่านเรื่องราวและภาพโดยการตีความของคนไม่พิการ ซึ่งอาจถูกครอบด้วยความตื่นเต้นของคนที่ไม่เคยเห็น เช่น คนตาบอดสามารถไปเที่ยวเหมือนคนปกติได้อย่างไร และในบางครั้งก็ยังผลิตซ้ำมายาคติเดิมเกี่ยวกับความสงสารซึ่งคนที่ได้รับสารนี้ไปอาจเกิดความรู้สึกอยากช่วย “สงเคราะห์” มากกว่าทำความเข้าใจเพื่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พลอยอยากให้ทุกคนรับรู้คือความธรรมดาของคนพิการที่ทุกคนต่างก็อยากจะมีกิจกรรมร่วมกันกับคนอื่นๆ ได้ มีความสนใจที่หลากหลายเหมือนคนอื่น ไม่ใช่ขยายเรื่องอย่างเกินจริงจนคนอื่นมองข้ามความธรรมดานี้ไป

 

“เราเหมือนกัน” ซึ่งเป็นชื่อทีมที่ตั้งไว้สะท้อนมาจากความปกติที่คนพิการก็มีความสนใจเหมือนๆ กับคนทั่วไป เช่น ความสวยความงาม การลงทุน หรือสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง รวมไปถึงความปกติทางด้านอารมณ์ที่พวกเขาก็รู้สึกเหมือนกัน เช่น หงุดหงิดกับการเมือง หรือสนใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเหมือนกัน โจทย์สำคัญไม่ใช่การตำหนิสังคมที่หลงลืมพวกเขาไป แต่เป็นการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างคนในสังคมเพื่ออุดช่องว่างระหว่างกัน พลอยยกตัวอย่างว่าการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน เราอาจไม่จำเป็นต้องนำเสนอปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างกันเสมอไป แต่เราสร้างสิ่งดีๆ ได้ด้วยการชื่นชมผลิตภัณฑ์ สถานที่ หรือบริการต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยคิดถึงกลุ่มคนแตกต่างหลากหลาย เช่น การที่เฟสบุ๊คทำงานร่วมกับโปรแกรมอ่านจอภาพเพื่ออธิบายภาพในรูปถ่ายออกมาเป็นข้อความให้คนตาบอดรับรู้ หรือการที่แอปพลิเคชันต่างๆ ใช้ข้อความแทนภาพคำสั่งเมนูทำให้คนตาบอดใช้งานได้ง่าย พลอยมองว่าสิ่งนี้เป็นตัวอย่างของการออกแบบโดยคิดคำนึงถึงผู้อื่น คือนวัตกรรมที่ทำให้คนพิการทางสายตาทำกิจกรรมกับคนอื่นในสังคมได้ และตอบโจทย์แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือถ้าต้องบอกเล่าถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมจริงๆ ก็เป็นการพูดถึงเพื่อชวนให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบเพื่อทุกคน

 

พลอยเห็นว่า ผู้ฟังพอดแคสท์ที่เธอกับทีมกำลังจะพัฒนาขึ้นมานั้นควรได้รู้ว่า พอดแคสท์จัดทำโดยคนพิการทางสายตา เพื่อคนฟังจะได้เชื่อถือว่าเรื่องที่พวกเขากำลังจะเล่ามาจากประสบการณ์ของคนพิการจริง

 

พวกเขาตั้งชื่อรายการนี้คือ The Thinker เพราะตั้งใจเอาไว้ว่าในช่วงแรกของโครงการ จะสัมภาษณ์นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงคนพิการว่ามีหลักการหรืออุดมการณ์ใดจนเกิดเป็นผลลัพธ์เหล่านี้ได้ อีกรูปแบบที่ทางทีมอยากดำเนินการเช่นกันคือการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเพื่ออัปเดตสถานการณ์ของคนพิการในเมืองไทยว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร มีอุปสรรคไหนในการดำเนินชีวิต หรือมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ อะไรที่อยากแชร์ให้คนพิการคนอื่นต่อเพื่อเป็นประโยชน์กับชีวิตพวกเขา ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ร่วมโครงการกับ Youth Co:Lab 2021 พวกเขาตั้งใจจะผลิตพอดแคส์ออกมาทั้งหมด 3 ตอนในหัวข้อที่แตกต่างกัน

 

พลอยเน้นย้ำว่าในปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ คนพิการทางสายตาก็หลีกหนีสิ่งเรื่องนี้ไม่ได้เช่นกันเพราะเราทุกคนอยู่ในสังคมเดียวกัน คนพิการทางสายตาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือเข้าถึงเทคโนโลยีลำบากก็จะได้รับโอกาสน้อยกว่าคนพิการทางสายตาที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ กลายเป็นปัญหาทับซ้อนกันหลายมิติที่สามารถผลักพวกเขาให้ออกไปอยู่ที่ชายขอบของสังคม และอาจถูกลืมไว้ข้างหลังไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธอคาดหวังอย่างเต็มเปี่ยมด้วยหัวใจว่าโปรเจ็คท์พอดแคสท์ The Thinker จะเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนให้ทุกคนได้เข้าใจซึ่งกันและกัน มองเห็นคุณค่าที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และจับมือกันสร้างสังคมที่ทุกคนเข้าถึงทุกโอกาสได้อย่างยั่งยืน

 

ติดตามและให้กำลังใจกลุ่ม “เราเหมือนกัน” ผ่าน “The Thinker Podcast” ได้ เร็วๆ นี้

 

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779