• Published Date: 17/02/2019
  • by: UNDP

ความยั่งยืนในงานวันเดอร์ฟรุ้ต Wonderfruit

นอกเหนือจากบรรยากาศแห่งความสนุกที่มาพร้อมกับเสียงดนตรีแล้ว สิ่งหนึ่งที่เทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ตยึดถือเป็นหลักการสำคัญเลยก็คือเรื่องของ “ความยั่งยืน” วันเดอร์ฟรุ้ตจึงไม่ได้เป็นเพียงเทศกาลดนตรีที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เป็นแพลทฟอร์มส่วนกลางที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นต้นแบบของแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาติในหลากหลายเป้าหมายอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็น SDGs ข้อที่ 6 รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ด้วยการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หรือข้อ 2 บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านการการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และสนับสนุนกำลังการผลิตของเกษตรกรรมขนาดเล็ก

และนี่คือตัวอย่างของความยั่งยืนในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในวันเดอร์ฟรุ้ต

ศิลปะและงานสถาปัตยกรรม: การออกแบบของแต่ละเวทีรวมถึงโครงสร้างต่างๆ นั้นล้วนแต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ ด้วยการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นและใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิม เพื่อได้ผลลัพธ์เป็นโครงสร้างที่ทั้งแข็งแรงและยั่งยืน

Eco Pavilion พื้นที่นั่งที่ร่มเย็นด้วยเฉดเงาจากร่มผ้าฝ้ายทำมือสีแดงสด พื้นที่นั่งแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยไม้ไผ่

Solar Stage ออกแบบโดย Gregg Fleishman โครงสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ประกอบเข้ากันด้วยการใช้ระบบโครงสร้างโมดูลาร์ตามรูปแบบเรขาคณิต นำแผ่นไม้มาวางขัดกันโดยไม่พึ่งพาน็อตยึด ทุกคนสามารถปีนป่ายไปส่วนต่างๆ ได้ตามใจชอบ เลือกจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตื่นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าหรือนั่งชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น

น้ำ: ระบบน้ำของเทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ตในปีนี้นั้นน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการย้ายพื้นที่จัดงานใหม่ จึงมีการนำน้ำจากทะเลสาบธรรมชาติภายในพื้นที่ ไม่มีการนำเข้าน้ำจากแหล่งอื่น เพื่อเป็นลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ที่เกิดจากการขนส่ง

Bath House บ้านลอยน้ำที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีกรรมการอาบน้ำของญี่ปุ่นและไทย Bath House จึงออกแบบมาเพื่อเป็นโอเอซิสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อนภายใน โครงสร้างทั้งหมดทำจากไม้ไผ่ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาได้เรียนรู้วัฒนธรรมเกี่ยวกับน้ำที่แตกต่างกันและได้รับพลังงานบวกกลับออกไป ออกแบบโดย Ab Rogers

ของเสีย: หลายคนที่มีโอกาสได้สัมผัสกับประสบการณ์ในเทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ต ภาพที่เห็นกันจนชินก็คือการที่ทุกคนภายในงานต่างพกพาขวดหรือกระติกน้ำเป็นของตัวเอง เพื่อลดขยะให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในปีนี้เราเห็นกระแสที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นนั้นคือการเห็นภาชนะต่างๆ ภายในงานส่วนมากนั้นผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้อย่างมันสำปะหลังหรืออ้อย เพื่อสามารถรียูสกลับไปเป็นกระเบื้องมุงหลังคาได้จากขยะที่ใช้งานแล้ว

ทำงานร่วมกับสามพรานโมเดล ผู้เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคแบบ peer-to-peer เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก โดยการเชื่อมโยงผู้ปลูกผลไม้กว่า 300 ราย ผู้ผลิตเครือข่ายจึงเข้ามาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

แก้วกระดาษที่ผลิตจากวัสดุอย่างมันสำปะหลังและอ้อย สามารถย่อยสลายได้ใน 180 วัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดและสร้างขยะพลาสติกให้ได้มากที่สุด

  • Published Date:
  • by: UNDP

แนะนำนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่มากขึ้น

เพื่อเป็นการเตรียมตัวรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นหลายรูปแบบในปี 2019 ทั้งนักออกแบบ นวัตกร นักกิจกรรรม ผู้ประกอบการทางสังคม และทุกๆ คนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และคิดค้นหนทางแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่คำนึงถึงความหลากหลายของทุกคนได้มากขึ้น

Thailand Social Innovation Platform แนะนำตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้เลยในวันนี้

1. สตาร์บัคส์เปิดสาขาใหม่ที่วอชิงตัน “Signing Store” คำนึงถึงลูกค้าที่มีข้อจำกัดทางการได้ยิน โดยที่ตั้งอยู่ข้างมหาวิทยาลัย Gallaudet ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในโลกที่ก่อตั้งมาเพื่อให้นักศึกษาที่หูหนวกหรือมีข้อจำกัดทางการได้ยิน โดยสตาร์บัคส์สาขานี้มีพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษามือได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งภาพวาดและแก้วกาแฟภายในร้านก็ยังวาดขึ้นโดยศิลปินหูหนวกอีกด้วย ความน่าสนใจคือการสร้างพื้นที่แบบ “DeafSpace” ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะกับลูกค้าที่หูหนวกหรือได้ยินยาก ทั้งการสั่งเมนูด้วยการเขียนหรือการมีหน้าจอขนาดใหญ่เพื่อติดตามรายการเครื่องดื่มที่สั่งจากชื่อของเรา นอกจากนี้ พนักงานที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนสีเขียวที่ปักคำว่า “Starbucks” ด้วยรูปภาพภาษามือ แต่พนักงานอื่นๆที่ไม่ได้มีความบกพร่องจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนมาตรฐานของ Starbucks โดยติดเข็มกลัดเขียนคำว่า “I Sign”

2. แผงเล่นเกมจาก xbox ที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์ที่พิการหรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ Xbox Adaptive Controller โดยแผงวงกลมที่มาเป็นพื้นฐาน เป็นลักษณะแผงแบนแนวราบ เพื่อให้สามารถวางบนตัก (ในกรณีที่ผู้เล่นนั่งวีลแชร์) ทำให้เล่นเกมได้อย่างสะดวก โดยสามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสวิตช์หรือจอยสติ๊กได้ตามใจชอบ โดยไมโครซอฟต์ทำงานร่วมกับองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ อย่าง The AbleGamers Charity หรือ The Cerebral PalsyFoundation เพื่อร่วมกันพัฒนาให้ตอบรับกับความต้องการของเหล่าเกมเมอร์ทุกคน โดยไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป 

3. อิโมจิที่มีความหลากหลาย คำนึงถึงหัวใจของผู้พิการ นับเป็นข่าวดีเมื่อแอปเปิ้ลได้นำเสนอโครงการไปยัง Unicode Consortium หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอิโมจิก่อนเผยแพร่เพื่อใช้งานจริง โดยมีการเพิ่มเติมอิโมจิใหม่จำนวน 13 รายการ อย่างเช่นรูปคนนั่งวีลแชร์ สุนัขนำทาง หูที่มีเครื่องช่วยฟัง เพื่อแสดงให้เห็นว่าแอปเปิ้ลนั้นคำนึงถึงความหลากหลายของคนทุกคนในสังคม โดยอิโมจิชุดใหม่นี้มีแผนจะเปิดตัวในครึ่งหลังปี 20194. Joint Data Center องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เก็บบันทึก สะสมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัย ที่กำลังเป็นวิกฤติไปทั่วโลก ริเริ่มโดย ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ร่วมมือกับธนาคารโลก วิเคราะห์ข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจสังคม รวมถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเพศ อายุ รายได้ ทักษะ และสุขภาพ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ลี้ภัยผู้พลัดถิ่นภายในคนไร้สัญชาติผู้ถูกส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กำหนดนโยบายและโปรแกรมที่จะให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการ

เรื่องราวเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ Thailand Social Innovation Platform หยิบยกขึ้นมาเป็นแรงบันดาลใจ ที่ไม่ว่าใครก็ลงมือทำเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมได้ โดยเราพร้อมเป็นแพลทฟอร์มกลางที่สนับสนุนทุกไอเดียให้เป็นจริงขึ้นมา รวมถึงสนับสนุนเรื่ององค์ความรู้และการผลักดันไอเดียที่ดีให้เป็นไปได้จริง

  • Published Date:
  • by: UNDP

Saturday School International Volunteer อาสาพาเรียนรู้

ท่ามกลางนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นอกเหนือจากแลนด์มาร์กต่างๆ ย่านดังที่ต้องเดิน กิจกรรมจากเช้าถึงเย็นที่มีรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ถึงอย่างนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยกลับเกินช่องว่างที่กลายเป็นโอกาสได้ แน่นอนว่านักท่องเที่ยวทุกคนนั้นต้องการสร้างประสบการณ์ใหม่และเป็นทริปที่มีความหมาย แต่อาจจะยังขาดอินไซท์หรือข้อมูลเชิงลึกในการท่องเที่ยว ซึ่งหาได้จากคนในพื้นที่ ทางฝั่งคนในพื้นที่เองก็เต็มใจสื่อสาร แต่ขาดความรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งพิมพิชา บุญอนันต์ ปภพ มุ่งเพียรมั่น และจุฑาทิพย์ ตาฬุมาศสวัสดิ์ จึงเริ่มต้นโครงการ Saturday School International Volunteer โครงการที่ให้นักท่องเที่ยวได้เป็นอาสาสมัครครูสอนภาษา ที่เที่ยวไปด้วย คนในพื้นที่ได้ความรู้ไปด้วย

โดยนักท่องเที่ยวสามารถลงทะเบียนกับ Saturday School International Volunteer เพื่อที่จะสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ ในชุมชน โดยเด็กๆ จะได้ประโยชน์คือความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น คนอื่นๆ ในชุมชนสามารถอาสานำเที่ยวได้ เกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับร้านค้าต่างๆ ในพื้นที่ นักท่องเที่ยวเองจะได้รับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบที่หาในไกด์บุ้คเล่มไหนๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน

Saturday School International Volunteer เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับรางวัลจากเวที Youth Co:lab ทำให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาโครงการเพิ่มเติม โดยได้รับคำปรึกษาจาก Local Alike ให้เดินหน้าในการประกวดโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงการได้เป็นที่รู้จึก เพิ่มโอกาสในการที่ธุรกิจ หน่วยงาน หรือพาร์ทเนอร์ในด้านต่างๆ จะเข้ามาร่วมมือมากขึ้น ทำให้อาจได้รับเงินทุนสนับสนุนมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางข้อจำกัดด้านบุคลากร ที่จะต้องมีโครงสร้างการทำงานเป็นระบบเข้ามารองรับ เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงแรกนั้นเป็นการทำงานลักษณะอาสาสมัคร ทำให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรจึงจำเป็นต้องมีทางออกรองรับไว้เสมอ

สิ่งที่น่าสนใจจาก Saturday School International Volunteer คือการค้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครนั้น ต่างร่วมใจกันต่อยอดการทำงานกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง มีการแลกเปลี่ยนรูปแบบการสอนที่แต่ละคนถนัด เพื่อปรับปรุงให้ได้วิธีการสอนที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ ในโรงเรียนไทย ต่างฝ่ายต่างเชื้อชาติ ต่างร่วมกันเข้ามาเรียนรู้ ภายในระยะเวลา 8 วันจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบใหม่ ทำให้ Saturday School International Volunteer มีบทบาทเป็นเหมือนแพลทฟอร์มกลางที่รวบรวมองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

 

ในปีนี้ Saturday School International Volunteer มาพร้อมกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากอาสาสมัครนักท่องเที่ยวและเด็กนักเรียนที่ได้ทำร่วมกัน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/Saturday-School-International-Volunteer-SSIV-2465208980188258/

  • Published Date:
  • by: UNDP

Seeds Journey การเดินทางของเมล็ดพันธุ์

จะทำอย่างไรเมื่อองค์ความรู้เรื่องการกินอาหารตามฤดูกาล การบริโภคแบบดั้งเดิม รวมถึงการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้องนั้นอาจหายไปตามกาลเวลาหากคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญ?

กัลยา  เชอมื่อ ชนเผ่าอาข่า และ ยุทธภัณฑ์ พิพัฒน์มงคลกุล คนรุ่นใหม่ชาวปกาเกอะญอจากภาคเหนือเริ่มมองเห็นปัญหานี้ ทั้งสองคนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้ามาเรียนต่อในเมือง (เชียงใหม่) การห่างออกจากบ้านทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการกินแบบท้องถิ่นที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก ให้เป็นกินเน้นสะดวกสบาย ทำให้เกิดรอยต่อในการส่งต่อความรู้เรื่องการกินตามฤดูกาล ที่ครั้งหนึ่งเคยเรียนรู้ได้จากคุณตาคุณยาย การขาดหายไประหว่างรุ่นสู่รุ่นนี้ทำให้วัฒนธรรมอาหารที่ดีนั้นเลือนหาย วัฒนธรรมการกินตามฤดูกาลที่มากด้วยประโยชน์ เพราะเป็นรูปแบบการกินที่ทำให้สุขภาพดีและยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

กัลยาและยุทธภัณฑ์จึงตัดสินใจเริ่มต้นศึกษาจากจุดเริ่มต้น นั่นคือเริ่มที่เรื่องเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม โดยทำงานร่วมกับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการบันทึกเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์​และทำงานกับเกษตรกร เมื่อเป้าหมายแรกสำเร็จ ทั้งคู่จึงต้องการต่อยอดเป้าหมายสู่การมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงคนรุ่นเก่าเข้ากับคนรุ่นใหม่ เพราะผู้เฒ่าในหมู่บ้านนั้นคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าอาหารแต่ละชนิดนั้นกินอย่างไร เก็บอย่างไร และต่อยอดได้ด้วยการนำคนรุ่นใหม่เข้าไปเรียนรู้ในชุมชน

เพราะรู้ดีว่าเมล็ดพันธุ์คือสิ่งที่สร้างความหลากหลายให้กับอาหารการกิน ในขณะที่ชาวบ้านยังคงปลูกและทำการเกษตรด้วยวิถีเดิม คนรุ่นหลังเข้าไปเพิ่มศักยภาพและส่งต่อความรู้ด้วยการสร้างเครื่องมือที่ช่วยระบบจัดการ ขนส่งผักพื้นบ้าน โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหารต่างๆ ในชุมชน ขนส่งผักจากไร่นามาโดยตรง ต่อมาจึงได้มีการเปิดโอกาสให้เชฟจากร้านอาหารและบุคลากรจากโรงแรมต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาและลองคิดค้น ทำเมนูจากผักพื้นบ้าน เรียนรู้การกินอาหารตามฤดูกาล ตามการเติบโตของผักพื้นบ้านแต่ละฤดู

Seed Journey เป็นหนึ่งในทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ Youth Co:lab 2018 และคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอบครอง หลังจากได้รางวัลและเข้าร่วมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาโปรเจ็กต์เพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่ทั้งสองคนได้เรียนรู้คือเรื่องการเข้าศึกษาลงพื้นที่ จากการคิดคำนึงถึงเป้าหมายของโครงการเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการขยายเป้าหมายเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านในชุมชนด้วย เริ่มจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นให้มากขึ้น ทำให้จากในช่วงแรกที่กำหนดเป็นกิจกรรมตามฤดูกาลตลอดทั้งปี ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนให้มากขึ้น กิจกรรมตามฤดูกาลจึงถูกแบ่งเวลาเป็นทั้งปี อย่างเช่น เกิดเป็นกิจกรรมการแปรรูปหน่อไม้แห้งและผักกาดแห้ง เพื่อให้ผลิตได้ทันกับต้องการของร้านอาหารในชุมชน

อีกเรื่องที่เรียนรู้คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คิดว่าโครงการมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่หลังจากลงพื้นที่จึงได้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงคือชาวบ้านในพื้นที่ คนเฒ่าคนแก่ เพราะเป็นกลุ่มคนมีความเข้าใจลักษณะการกินตามฤดูกาลเป็นทุนเดิม เมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นจึงเป็นการจุดประกายไอเดียให้กับชาวบ้าน เจ้าของร้านอาหารที่เห็นความสำคัญของวัตถุดิบและยินดีที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูอาหาร รวมถึงเจ้าของโรงแรมที่เข้าใจและเสนอความร่วมมือด้วยการเปิดพื้นที่ให้นอนเป็นโฮมสเตย์เพื่อสนับสนุนสถานที่สำหรับการจัดเวิร์กช็อปให้ความรู้ หลังจากนี้ Seed Journey จึงมุ่งเน้นการทำกิจกรรมให้เป็นต้นแบบ เก็บข้อมูล รวบรวมองค์ความรู้ สื่อสารกับชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยในปี 2019 Seed Journey เริ่มจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนและยังคงมุ่งมั่นส่งต่อความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการกินตามฤดูกาลผ่านโครงการนี้ต่อไป

 

ติดตามการเดินทางของเมล็ดพันธุ์และกิจกรรมของ Seed Journey ได้ที่ https://www.facebook.com/seedsjourney/

  • Published Date: 10/02/2019
  • by: UNDP

Saturday School International Volunteer อาสาพาเรียนรู้

ท่ามกลางนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นอกเหนือจากแลนด์มาร์กต่างๆ ย่านดังที่ต้องเดิน กิจกรรมจากเช้าถึงเย็นที่มีรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ถึงอย่างนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยกลับเกินช่องว่างที่กลายเป็นโอกาสได้ แน่นอนว่านักท่องเที่ยวทุกคนนั้นต้องการสร้างประสบการณ์ใหม่และเป็นทริปที่มีความหมาย แต่อาจจะยังขาดอินไซท์หรือข้อมูลเชิงลึกในการท่องเที่ยว ซึ่งหาได้จากคนในพื้นที่ ทางฝั่งคนในพื้นที่เองก็เต็มใจสื่อสาร แต่ขาดความรู้ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งพิมพิชา บุญอนันต์ ปภพ มุ่งเพียรมั่น และจุฑาทิพย์ ตาฬุมาศสวัสดิ์ จึงเริ่มต้นโครงการ Saturday School International Volunteer โครงการที่ให้นักท่องเที่ยวได้เป็นอาสาสมัครครูสอนภาษา ที่เที่ยวไปด้วย คนในพื้นที่ได้ความรู้ไปด้วย

โดยนักท่องเที่ยวสามารถลงทะเบียนกับ Saturday School International Volunteer เพื่อที่จะสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ ในชุมชน โดยเด็กๆ จะได้ประโยชน์คือความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้น คนอื่นๆ ในชุมชนสามารถอาสานำเที่ยวได้ เกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับร้านค้าต่างๆ ในพื้นที่ นักท่องเที่ยวเองจะได้รับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบที่หาในไกด์บุ้คเล่มไหนๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน

Saturday School International Volunteer เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับรางวัลจากเวที Youth Co:lab ทำให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาโครงการเพิ่มเติม โดยได้รับคำปรึกษาจาก Local Alike ให้เดินหน้าในการประกวดโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงการได้เป็นที่รู้จึก เพิ่มโอกาสในการที่ธุรกิจ หน่วยงาน หรือพาร์ทเนอร์ในด้านต่างๆ จะเข้ามาร่วมมือมากขึ้น ทำให้อาจได้รับเงินทุนสนับสนุนมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางข้อจำกัดด้านบุคลากร ที่จะต้องมีโครงสร้างการทำงานเป็นระบบเข้ามารองรับ เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงแรกนั้นเป็นการทำงานลักษณะอาสาสมัคร ทำให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรจึงจำเป็นต้องมีทางออกรองรับไว้เสมอ

สิ่งที่น่าสนใจจาก Saturday School International Volunteer คือการค้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครนั้น ต่างร่วมใจกันต่อยอดการทำงานกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง มีการแลกเปลี่ยนรูปแบบการสอนที่แต่ละคนถนัด เพื่อปรับปรุงให้ได้วิธีการสอนที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ ในโรงเรียนไทย ต่างฝ่ายต่างเชื้อชาติ ต่างร่วมกันเข้ามาเรียนรู้ ภายในระยะเวลา 8 วันจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบใหม่ ทำให้ Saturday School International Volunteer มีบทบาทเป็นเหมือนแพลทฟอร์มกลางที่รวบรวมองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

ในปีนี้ Saturday School International Volunteer มาพร้อมกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากอาสาสมัครนักท่องเที่ยวและเด็กนักเรียนที่ได้ทำร่วมกัน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/Saturday-School-International-Volunteer-SSIV-2465208980188258/

  • Published Date:
  • by: UNDP

แนะนำนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่มากขึ้น

เพื่อเป็นการเตรียมตัวรับกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นหลายรูปแบบในปี 2019 ทั้งนักออกแบบ นวัตกร นักกิจกรรรม ผู้ประกอบการทางสังคม และทุกๆ คนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และคิดค้นหนทางแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่คำนึงถึงความหลากหลายของทุกคนได้มากขึ้น

Thailand Social Innovation Platform แนะนำตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้เลยในวันนี้

สตาร์บัคส์เปิดสาขาใหม่ที่วอชิงตัน “Signing Store” คำนึงถึงลูกค้าที่มีข้อจำกัดทางการได้ยิน โดยที่ตั้งอยู่ข้างมหาวิทยาลัย Gallaudet ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในโลกที่ก่อตั้งมาเพื่อให้นักศึกษาที่หูหนวกหรือมีข้อจำกัดทางการได้ยิน โดยสตาร์บัคส์สาขานี้มีพนักงานที่สามารถสื่อสารภาษามือได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งภาพวาดและแก้วกาแฟภายในร้านก็ยังวาดขึ้นโดยศิลปินหูหนวกอีกด้วย ความน่าสนใจคือการสร้างพื้นที่แบบ “DeafSpace” ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะกับลูกค้าที่หูหนวกหรือได้ยินยาก ทั้งการสั่งเมนูด้วยการเขียนหรือการมีหน้าจอขนาดใหญ่เพื่อติดตามรายการเครื่องดื่มที่สั่งจากชื่อของเรา นอกจากนี้ พนักงานที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนสีเขียวที่ปักคำว่า “Starbucks” ด้วยรูปภาพภาษามือ แต่พนักงานอื่นๆที่ไม่ได้มีความบกพร่องจะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนมาตรฐานของ Starbucks โดยติดเข็มกลัดเขียนคำว่า “I Sign”

Joint Data Center องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เก็บบันทึก สะสมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้อพยพหรือผู้ลี้ภัย ที่กำลังเป็นวิกฤติไปทั่วโลก ริเริ่มโดย ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ร่วมมือกับธนาคารโลก วิเคราะห์ข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจสังคม รวมถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเพศ อายุ รายได้ ทักษะ และสุขภาพ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ลี้ภัยผู้พลัดถิ่นภายในคนไร้สัญชาติผู้ถูกส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ กำหนดนโยบายและโปรแกรมที่จะให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการ

อิโมจิที่มีความหลากหลาย คำนึงถึงหัวใจของผู้พิการ นับเป็นข่าวดีเมื่อแอปเปิ้ลได้นำเสนอโครงการไปยัง Unicode Consortium หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอิโมจิก่อนเผยแพร่เพื่อใช้งานจริง โดยมีการเพิ่มเติมอิโมจิใหม่จำนวน 13 รายการ อย่างเช่นรูปคนนั่งวีลแชร์ สุนัขนำทาง หูที่มีเครื่องช่วยฟัง เพื่อแสดงให้เห็นว่าแอปเปิ้ลนั้นคำนึงถึงความหลากหลายของคนทุกคนในสังคม โดยอิโมจิชุดใหม่นี้มีแผนจะเปิดตัวในครึ่งหลังปี 2019

แผงเล่นเกมจาก xbox ที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์ที่พิการหรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ Xbox Adaptive Controller โดยแผงวงกลมที่มาเป็นพื้นฐาน เป็นลักษณะแผงแบนแนวราบ เพื่อให้สามารถวางบนตัก (ในกรณีที่ผู้เล่นนั่งวีลแชร์) ทำให้เล่นเกมได้อย่างสะดวก โดยสามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสวิตช์หรือจอยสติ๊กได้ตามใจชอบ โดยไมโครซอฟต์ทำงานร่วมกับองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ อย่าง The AbleGamers Charity หรือ The Cerebral PalsyFoundation เพื่อร่วมกันพัฒนาให้ตอบรับกับความต้องการของเหล่าเกมเมอร์ทุกคน โดยไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป 

เรื่องราวเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ Thailand Social Innovation Platform หยิบยกขึ้นมาเป็นแรงบันดาลใจ ที่ไม่ว่าใครก็ลงมือทำเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ให้กับสังคมได้ โดยเราพร้อมเป็นแพลทฟอร์มกลางที่สนับสนุนทุกไอเดียให้เป็นจริงขึ้นมา รวมถึงสนับสนุนเรื่ององค์ความรู้และการผลักดันไอเดียที่ดีให้เป็นไปได้จริง

  • Published Date:
  • by: UNDP

Seeds Journey การเดินทางของเมล็ดพันธุ์

จะทำอย่างไรเมื่อองค์ความรู้เรื่องการกินอาหารตามฤดูกาล การบริโภคแบบดั้งเดิม รวมถึงการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกต้องนั้นอาจหายไปตามกาลเวลาหากคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญ?

กัลยา  เชอมื่อ และ ยุทธภัณฑ์ พิพัฒน์มงคลกุล สองคนรุ่นใหม่ชาวปกาเกอะญอจากภาคเหนือเริ่มมองเห็นปัญหานี้ ทั้งสองคนเป็นคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้ามาเรียนต่อในเมือง (เชียงใหม่) การห่างออกจากบ้านทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการกินแบบท้องถิ่นที่ถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก ให้เป็นกินเน้นสะดวกสบาย ทำให้เกิดรอยต่อในการส่งต่อความรู้เรื่องการกินตามฤดูกาล ที่ครั้งหนึ่งเคยเรียนรู้ได้จากคุณตาคุณยาย การขาดหายไประหว่างรุ่นสู่รุ่นนี้ทำให้วัฒนธรรมอาหารที่ดีนั้นเลือนหาย วัฒนธรรมการกินตามฤดูกาลที่มากด้วยประโยชน์ เพราะเป็นรูปแบบการกินที่ทำให้สุขภาพดีและยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

กัลยาและยุทธภัณฑ์จึงตัดสินใจเริ่มต้นศึกษาจากจุดเริ่มต้น นั่นคือเริ่มที่เรื่องเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม โดยทำงานร่วมกับศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการบันทึกเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์​และทำงานกับเกษตรกร เมื่อเป้าหมายแรกสำเร็จ ทั้งคู่จึงต้องการต่อยอดเป้าหมายสู่การมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงคนรุ่นเก่าเข้ากับคนรุ่นใหม่ เพราะผู้เฒ่าในหมู่บ้านนั้นคือคนที่รู้ดีที่สุดว่าอาหารแต่ละชนิดนั้นกินอย่างไร เก็บอย่างไร และต่อยอดได้ด้วยการนำคนรุ่นใหม่เข้าไปเรียนรู้ในชุมชน

เพราะรู้ดีว่าเมล็ดพันธุ์คือสิ่งที่สร้างความหลากหลายให้กับอาหารการกิน ในขณะที่ชาวบ้านยังคงปลูกและทำการเกษตรด้วยวิถีเดิม คนรุ่นหลังเข้าไปเพิ่มศักยภาพและส่งต่อความรู้ด้วยการสร้างเครื่องมือที่ช่วยระบบจัดการ ขนส่งผักพื้นบ้าน โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหารต่างๆ ในชุมชน ขนส่งผักจากไร่นามาโดยตรง ต่อมาจึงได้มีการเปิดโอกาสให้เชฟจากร้านอาหารและบุคลากรจากโรงแรมต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาและลองคิดค้น ทำเมนูจากผักพื้นบ้าน เรียนรู้การกินอาหารตามฤดูกาล ตามการเติบโตของผักพื้นบ้านแต่ละฤดู

Seed Journey เป็นหนึ่งในทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ Youth Co:lab 2018 และคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอบครอง หลังจากได้รางวัลและเข้าร่วมเวิร์กช็อปเพื่อพัฒนาโปรเจ็กต์เพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่ทั้งสองคนได้เรียนรู้คือเรื่องการเข้าศึกษาลงพื้นที่ จากการคิดคำนึงถึงเป้าหมายของโครงการเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการขยายเป้าหมายเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านในชุมชนด้วย เริ่มจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นให้มากขึ้น ทำให้จากในช่วงแรกที่กำหนดเป็นกิจกรรมตามฤดูกาลตลอดทั้งปี ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนให้มากขึ้น กิจกรรมตามฤดูกาลจึงถูกแบ่งเวลาเป็นทั้งปี อย่างเช่น เกิดเป็นกิจกรรมการแปรรูปหน่อไม้แห้งและผักกาดแห้ง เพื่อให้ผลิตได้ทันกับต้องการของร้านอาหารในชุมชน

อีกเรื่องที่เรียนรู้คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากเดิมที่คิดว่าโครงการมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่หลังจากลงพื้นที่จึงได้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงคือชาวบ้านในพื้นที่ คนเฒ่าคนแก่ เพราะเป็นกลุ่มคนมีความเข้าใจลักษณะการกินตามฤดูกาลเป็นทุนเดิม เมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นจึงเป็นการจุดประกายไอเดียให้กับชาวบ้าน เจ้าของร้านอาหารที่เห็นความสำคัญของวัตถุดิบและยินดีที่จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูอาหาร รวมถึงเจ้าของโรงแรมที่เข้าใจและเสนอความร่วมมือด้วยการเปิดพื้นที่ให้นอนเป็นโฮมสเตย์เพื่อสนับสนุนสถานที่สำหรับการจัดเวิร์กช็อปให้ความรู้ หลังจากนี้ Seed Journey จึงมุ่งเน้นการทำกิจกรรมให้เป็นต้นแบบ เก็บข้อมูล รวบรวมองค์ความรู้ สื่อสารกับชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยในปี 2019 Seed Journey เริ่มจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชนและยังคงมุ่งมั่นส่งต่อความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการกินตามฤดูกาลผ่านโครงการนี้ต่อไป

 

ติดตามการเดินทางของเมล็ดพันธุ์และกิจกรรมของ Seed Journey ได้ที่ https://www.facebook.com/seedsjourney/

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779