• Published Date: 25/12/2018
  • by: UNDP

ความยั่งยืนในงานวันเดอร์ฟรุ้ต Wonderfruit

นอกเหนือจากบรรยากาศแห่งความสนุกที่มาพร้อมกับเสียงดนตรีแล้ว สิ่งหนึ่งที่เทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ตยึดถือเป็นหลักการสำคัญเลยก็คือเรื่องของ “ความยั่งยืน” วันเดอร์ฟรุ้ตจึงไม่ได้เป็นเพียงเทศกาลดนตรีที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เป็นแพลทฟอร์มส่วนกลางที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นต้นแบบของแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาติในหลากหลายเป้าหมายอีกด้วย

ไม่ว่าจะเป็น SDGs ข้อที่ 6 รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ด้วยการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หรือข้อ 2 บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านการการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และสนับสนุนกำลังการผลิตของเกษตรกรรมขนาดเล็ก

และนี่คือตัวอย่างของความยั่งยืนในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในวันเดอร์ฟรุ้ต

ศิลปะและงานสถาปัตยกรรม: การออกแบบของแต่ละเวทีรวมถึงโครงสร้างต่างๆ นั้นล้วนแต่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ ด้วยการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นและใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิม เพื่อได้ผลลัพธ์เป็นโครงสร้างที่ทั้งแข็งแรงและยั่งยืน

  • Eco Pavilion พื้นที่นั่งที่ร่มเย็นด้วยเฉดเงาจากร่มผ้าฝ้ายทำมือสีแดงสด พื้นที่นั่งแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยไม้ไผ่
  • Solar Stage ออกแบบโดย Gregg Fleishman โครงสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ประกอบเข้ากันด้วยการใช้ระบบโครงสร้างโมดูลาร์ตามรูปแบบเรขาคณิต นำแผ่นไม้มาวางขัดกันโดยไม่พึ่งพาน็อตยึด ทุกคนสามารถปีนป่ายไปส่วนต่างๆ ได้ตามใจชอบ เลือกจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตื่นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าหรือนั่งชมพระอาทิตย์ตกในตอนเย็น

น้ำ: ระบบน้ำของเทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ตในปีนี้นั้นน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการย้ายพื้นที่จัดงานใหม่ จึงมีการนำน้ำจากทะเลสาบธรรมชาติภายในพื้นที่ ไม่มีการนำเข้าน้ำจากแหล่งอื่น เพื่อเป็นลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ที่เกิดจากการขนส่ง

  • Bath House บ้านลอยน้ำที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีกรรมการอาบน้ำของญี่ปุ่นและไทย Bath House จึงออกแบบมาเพื่อเป็นโอเอซิสให้ผู้คนได้เข้ามาพักผ่อนภายใน โครงสร้างทั้งหมดทำจากไม้ไผ่ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาได้เรียนรู้วัฒนธรรมเกี่ยวกับน้ำที่แตกต่างกันและได้รับพลังงานบวกกลับออกไป ออกแบบโดย Ab Rogers

ของเสีย: หลายคนที่มีโอกาสได้สัมผัสกับประสบการณ์ในเทศกาลวันเดอร์ฟรุ้ต ภาพที่เห็นกันจนชินก็คือการที่ทุกคนภายในงานต่างพกพาขวดหรือกระติกน้ำเป็นของตัวเอง เพื่อลดขยะให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในปีนี้เราเห็นกระแสที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้นนั้นคือการเห็นภาชนะต่างๆ ภายในงานส่วนมากนั้นผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้อย่างมันสำปะหลังหรืออ้อย เพื่อสามารถรียูสกลับไปเป็นกระเบื้องมุงหลังคาได้จากขยะที่ใช้งานแล้ว

  • ทำงานร่วมกับสามพรานโมเดล ผู้เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคแบบ peer-to-peer เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก โดยการเชื่อมโยงผู้ปลูกผลไม้กว่า 300 ราย ผู้ผลิตเครือข่ายจึงเข้ามาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
  • แก้วกระดาษที่ผลิตจากวัสดุอย่างมันสำปะหลังและอ้อย สามารถย่อยสลายได้ใน 180 วัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดและสร้างขยะพลาสติกให้ได้มากที่สุด
Keywords: , ,
  • Published Date: 21/12/2018
  • by: UNDP

การลงทุนมุ่งผลทางสังคมในประเทศไทย

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนสำหรับกิจการเพื่อสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางฝั่งองค์กรผู้สนับสนุนที่เป็นสถาบันทางการเงิน (Financial Support) และฝั่งผู้สนับสนุนที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน (Non-Financial Support) ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือองค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถร่วมมือกันพัฒนาและสร้างระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืนไปได้ถูกทิศทาง

ในเบื้องต้น เรามาเรียนรู้ความหมายของศัพท์ 2 คำที่สำคัญ นั่นคือ การเงินเพื่อสังคม (Social Finance) และ การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Investment)

  •        การเงินเพื่อสังคม (Social Finance) สหภาพยุโรปได้กำหนดคำนิยามไว้ว่า การเงินเพื่อสังคมนั้นไม่ได้เป็นเพียงการกระทำต่อเรื่องการเงินของกิจการเพื่อสังคมเท่านั้น หรือเป็นการริเริ่มประโยชน์เชิงสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่การเงินเพื่อสังคมคือความยั่งยืนทางการเงิน ไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) เท่านั้น แต่หมายถึงการจัดการอุปสงค์และอุปทานของตลาดเพื่อทุนทางสังคม (ทุนทางสังคม หมายถึง ในลักษณะใหม่ที่ไม่ใช่เพียงทุนทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังในการทำกำไรหรือแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง แต่ทุนทางสังคมมีลักษณะเป็นผลประโยชน์หรือต้นทุนส่วนรวมที่มาจากการช่วยเหลือและความร่วมมือกันระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม)
  •        การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact investment) Global Impact Investment Network (GIIN) ได้บรรยายความหมายของคำนี้ไว้ว่า คือ‘คือการลงทุนในธุรกิจ องค์กร หรือแหล่งเงินทุน ที่จะต้องสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

จากหัวข้อการบรรยาย “Sharing of findings from the Social Impact Investment Landscape Study” การแชร์ความรู้และประสบการณ์โดยคุณ Haidy Leung ตำแหน่ง Business Development Manager และคุณสุนิตย์ เชรษฐา กรรมการผู้จัดการ จาก ChangeFusion องค์กรที่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมมานานนับสิบปี มีโอกาสได้เห็นกิจการเพื่อสังคม (Social Entreprises: SE) หลายกิจการเติบโต จึงสามารถรวบรวมข้อมูลและความต้องการ ทั้งทางฝั่งผู้ผลิตที่นำทรัพยากรมาใช้และฝั่งผู้บริโภคที่มีความต้องการด้านสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อหาจุดร่วมที่นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่คุ้มทุนและสร้างบริบทสังคมอย่างยั่งยืน

 

การเงินเพื่อสังคมนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาแหล่งเงินทุนที่มีเป้าหมายเพื่อสินค้าสาธารณะ (public good) สร้างโอกาสสำหรับนักลงทุน เพื่อเลือกลงทุนในโครงการที่สร้างประโยชน์ที่ดีต่อสังคม หรือช่วยเหลือชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ได้ โดยการเงินเพื่อสังคมนั้นสามารถทำได้ผ่านหลายเครื่องมือทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืม พันธบัตรชุมชน พันธบัตรเพื่อสังคม การลงทุนที่เท่าเทียม สามารถช่วยเหลือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือการกุศลต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การเงินเพื่อสังคมนั้นสามารถเข้าไปช่วยจัดการ ให้องค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ที่พร้อมสนับสนุนประเด็นทางสังคมได้ในหลากหลายมิติ ทั้งนวัตกรรมเพื่อสังคมและการเงินเพื่อสังคมนั้นต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการช่วยเหลือผู้คน โดยเฉพาะกับผู้คนที่ด้อยโอกาส สามารถแบ่งปันความสำเร็จสู่ชุมชนและสังคม การเงินเพื่อสังคมที่ลงทุนไปกับกิจการเพื่อสังคมบางโครงการนั้นก็เป็นการสร้างงานและโอกาสสำหรับคนที่เข้าไม่ถึงตลาดแรงงาน

จากการสำรวจโดย ChangeFusion พบว่าบทบาทที่สำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนขององค์กรเงินทุน ไม่ว่าองค์กรเหล่านี้จะเป็นสถาบันที่ช่วยเหลือด้านการเงินแบบให้เปล่า (Grant) บริษัทเงินกู้ (Loan) หรือเป็นหุ้นส่วน (Equity Investment) สิ่งสำคัญคือต้องไม่คำนึงถึงการเป็นเพียงแค่สปอนเซอร์เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการร่วมมือที่สร้างโอกาสการเติบโตได้ในระยะยาวได้ (Long Term Investment) ChangeFusion ยังค้นพบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนคือความสำคัญด้านองค์ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับการทำกิจการเพื่อสังคมและนักพัฒนาผู้ขับเคลื่อนชุมชนซึ่งคิดเป็น 87% รองลงมาคือปัจจัยความสำคัญด้านเกษตรกรรม ในขณะที่ทางฝั่งของกิจการเพื่อสังคมให้ความสำคัญกับตัวนักพัฒนาชุมชนมากถึง 51% รองลงมาคือการให้องค์ความรู้ 39% และตามลงมาด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ Well-being ของคนในสังคมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว พลังงาน การจัดการขยะ และอื่นๆ

อย่างไรก็ดีกลับพบว่ากิจการเพื่อสังคมจำนวน 22 รายจาก 41 รายยังขาดองค์ความรู้ด้านการลงทุนเพื่อสังคมจึงไม่สามารถวัดผลการทำงานเมื่อเทียบระหว่างทรัพยากรและเวลาที่สูญไปได้ นี่จึงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับหน่วยงานทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคการศึกษาในการวางโมเดลเพื่อจัดการกับองค์ความรู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือเห็นภาพการลงทุนที่ทำได้จริง เป็นที่มาของทางออกในรูปแบบแพลตฟอร์มกลางที่สามารถรวบรวมทุกฐานข้อมูลด้านการลงทุนเพื่อสังคม ตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องปัจจัยการลงทุน รวมไปถึงวิธีการวัดผลที่ตอบโจทย์ตาม SDGs เพื่อบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคม ให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยไม่ถูกทิ้งไว้กลางทางหรือไม่เกิดการพัฒนาในภายหลังนอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นถึงความท้าทายที่สำคัญในการแสดงออกถึงความต้องการที่ชัดเจนของภาคธุรกิจในทุกระบบของ Supply Chain  การให้ข้อมูลโมเดลธุรกิจซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจนนี้จะสร้างความเข้าใจระหว่างกิจการเพื่อสังคมและบริษัทผู้ลงทุน เพื่อหาข้อสรุปในโมเดลที่สอดคล้องต้องกันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับทุกภาคส่วน โดยไม่ได้เป็นเพียงการทำเพื่อประชาสัมพันธ์หรือ CSR ที่เกิดขึ้นเพียงแค่ฉาบฉวยแต่เป็นการจับคู่ความต้องการแล้วเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

  • Published Date:
  • by: UNDP

การลงทุนมุ่งผลทางสังคมในประเทศไทย

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนสำหรับกิจการเพื่อสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางฝั่งองค์กรผู้สนับสนุนที่เป็นสถาบันทางการเงิน (Financial Support) และฝั่งผู้สนับสนุนที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน (Non-Financial Support) ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือองค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถร่วมมือกันพัฒนาและสร้างระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืนไปได้ถูกทิศทาง

ในเบื้องต้น เรามาเรียนรู้ความหมายของศัพท์ 2 คำที่สำคัญ นั่นคือ การเงินเพื่อสังคม (Social Finance) และ การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Investment)

  •        การเงินเพื่อสังคม (Social Finance) สหภาพยุโรปได้กำหนดคำนิยามไว้ว่า การเงินเพื่อสังคมนั้นไม่ได้เป็นเพียงการกระทำต่อเรื่องการเงินของกิจการเพื่อสังคมเท่านั้น หรือเป็นการริเริ่มประโยชน์เชิงสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แต่การเงินเพื่อสังคมคือความยั่งยืนทางการเงิน ไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) เท่านั้น แต่หมายถึงการจัดการอุปสงค์และอุปทานของตลาดเพื่อทุนทางสังคม (ทุนทางสังคม หมายถึง ในลักษณะใหม่ที่ไม่ใช่เพียงทุนทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังในการทำกำไรหรือแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง แต่ทุนทางสังคมมีลักษณะเป็นผลประโยชน์หรือต้นทุนส่วนรวมที่มาจากการช่วยเหลือและความร่วมมือกันระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม)
  •        การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact investment) Global Impact Investment Network (GIIN) ได้บรรยายความหมายของคำนี้ไว้ว่า คือ‘คือการลงทุนในธุรกิจ องค์กร หรือแหล่งเงินทุน ที่จะต้องสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

จากหัวข้อการบรรยาย “Sharing of findings from the Social Impact Investment Landscape Study” การแชร์ความรู้และประสบการณ์โดยคุณ Haidy Leung ตำแหน่ง Business Development Manager และคุณสุนิตย์ เชรษฐา กรรมการผู้จัดการ จาก ChangeFusion องค์กรที่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมมานานนับสิบปี มีโอกาสได้เห็นกิจการเพื่อสังคม (Social Entreprises: SE) หลายกิจการเติบโต จึงสามารถรวบรวมข้อมูลและความต้องการ ทั้งทางฝั่งผู้ผลิตที่นำทรัพยากรมาใช้และฝั่งผู้บริโภคที่มีความต้องการด้านสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อหาจุดร่วมที่นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่คุ้มทุนและสร้างบริบทสังคมอย่างยั่งยืน

การเงินเพื่อสังคมนั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาแหล่งเงินทุนที่มีเป้าหมายเพื่อสินค้าสาธารณะ (public good) สร้างโอกาสสำหรับนักลงทุน เพื่อเลือกลงทุนในโครงการที่สร้างประโยชน์ที่ดีต่อสังคม หรือช่วยเหลือชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ได้ โดยการเงินเพื่อสังคมนั้นสามารถทำได้ผ่านหลายเครื่องมือทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืม พันธบัตรชุมชน พันธบัตรเพื่อสังคม การลงทุนที่เท่าเทียม สามารถช่วยเหลือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือการกุศลต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การเงินเพื่อสังคมนั้นสามารถเข้าไปช่วยจัดการ ให้องค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ นั้นสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ๆ ที่พร้อมสนับสนุนประเด็นทางสังคมได้ในหลากหลายมิติ ทั้งนวัตกรรมเพื่อสังคมและการเงินเพื่อสังคมนั้นต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือการช่วยเหลือผู้คน โดยเฉพาะกับผู้คนที่ด้อยโอกาส สามารถแบ่งปันความสำเร็จสู่ชุมชนและสังคม การเงินเพื่อสังคมที่ลงทุนไปกับกิจการเพื่อสังคมบางโครงการนั้นก็เป็นการสร้างงานและโอกาสสำหรับคนที่เข้าไม่ถึงตลาดแรงงาน

จากการสำรวจโดย ChangeFusion พบว่าบทบาทที่สำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนขององค์กรเงินทุน ไม่ว่าองค์กรเหล่านี้จะเป็นสถาบันที่ช่วยเหลือด้านการเงินแบบให้เปล่า (Grant) บริษัทเงินกู้ (Loan) หรือเป็นหุ้นส่วน (Equity Investment) สิ่งสำคัญคือต้องไม่คำนึงถึงการเป็นเพียงแค่สปอนเซอร์เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการร่วมมือที่สร้างโอกาสการเติบโตได้ในระยะยาวได้ (Long Term Investment) ChangeFusion ยังค้นพบว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนคือความสำคัญด้านองค์ความรู้ที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับการทำกิจการเพื่อสังคมและนักพัฒนาผู้ขับเคลื่อนชุมชนซึ่งคิดเป็น 87% รองลงมาคือปัจจัยความสำคัญด้านเกษตรกรรม ในขณะที่ทางฝั่งของกิจการเพื่อสังคมให้ความสำคัญกับตัวนักพัฒนาชุมชนมากถึง 51% รองลงมาคือการให้องค์ความรู้ 39% และตามลงมาด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ Well-being ของคนในสังคมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว พลังงาน การจัดการขยะ และอื่นๆ

อย่างไรก็ดีกลับพบว่ากิจการเพื่อสังคมจำนวน 22 รายจาก 41 รายยังขาดองค์ความรู้ด้านการลงทุนเพื่อสังคมจึงไม่สามารถวัดผลการทำงานเมื่อเทียบระหว่างทรัพยากรและเวลาที่สูญไปได้ นี่จึงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับหน่วยงานทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคการศึกษาในการวางโมเดลเพื่อจัดการกับองค์ความรู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือเห็นภาพการลงทุนที่ทำได้จริง เป็นที่มาของทางออกในรูปแบบแพลตฟอร์มกลางที่สามารถรวบรวมทุกฐานข้อมูลด้านการลงทุนเพื่อสังคม ตั้งแต่การให้ความรู้เรื่องปัจจัยการลงทุน รวมไปถึงวิธีการวัดผลที่ตอบโจทย์ตาม SDGs เพื่อบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคม ให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยไม่ถูกทิ้งไว้กลางทางหรือไม่เกิดการพัฒนาในภายหลังนอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นถึงความท้าทายที่สำคัญในการแสดงออกถึงความต้องการที่ชัดเจนของภาคธุรกิจในทุกระบบของ Supply Chain  การให้ข้อมูลโมเดลธุรกิจซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจนนี้จะสร้างความเข้าใจระหว่างกิจการเพื่อสังคมและบริษัทผู้ลงทุน เพื่อหาข้อสรุปในโมเดลที่สอดคล้องต้องกันได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเติบโตให้กับทุกภาคส่วน โดยไม่ได้เป็นเพียงการทำเพื่อประชาสัมพันธ์หรือ CSR ที่เกิดขึ้นเพียงแค่ฉาบฉวยแต่เป็นการจับคู่ความต้องการแล้วเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

  • Published Date: 01/12/2018
  • by: UNDP

แนวโน้มของเทคโนโลยี: เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกิจการเพื่อสังคมได้อย่างไร

“ทุกวันนี้คนอยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น ถ้าเราใช้ช่องทางเหล่านี้ได้ดีก็จะเข้าถึงคนได้มากขึ้น”

เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทุกมิติการใช้ชีวิตในปัจจุบันอย่างไม่สามารถแยกจากกันได้ โดยมีหลายอุตสาหกรรมตลอดจนหลายธุรกิจที่นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจได้เปรียบคู่แข่งและประสบความสำเร็จได้อย่างถล่มทลาย ยกตัวอย่างเรื่องราวจากเน็ตฟลิกซ์ ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งที่เริ่มต้นจากร้านเช่าวิดีโอ ที่เลือกแก้ไขปัญหาผู้เช่าโดนปรับเมื่อคืนเกินเวลาด้วยโมเดลแบบใหม่ และพัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นผู้นำด้านแอปฯ สตรีมมิ่งของโลก

งานบรรยายในครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมได้เข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยีในปัจจุบัน แนวโน้มการใช้งาน พร้อมกับการใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเยอะ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกิจการได้ โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง มีรายละเอียดดังนี้

Ideas are easy, Software is hard.: การออกแบบเทคโนโลยีเพื่อใช้งานจำเป็นต้องนึกถึงปัญหาของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อกำหนดขอบเขตของเทคโนโลยีที่จะใช้งาน ความต้องการที่ได้รับการตอบรับ เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience: UX) จะสามารถรู้ได้จาก info architecture หรือโครงสร้างของข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ, visual design หน้าตาของแอปฯ, software development การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยผู้เชี่ยวชาญ ประเด็นสำคัญตรงนี้คือ มีผู้สร้างหลายรายที่เมื่อนึกถึงปัญหาได้แล้วก็มุ่งให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เริ่มต้นเลยทันที โดยไม่ได้ใช้เวลาคิดอย่างถี่ถ้วนว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงหรือไม่ ในบางครั้ง ผู้ใช้อาจมีตัวเลือกอื่นที่สะดวกกว่า หรือผู้สร้างเองอาจยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอต่อการให้บริการอย่างครบถ้วน

หน้าตาและการใช้งาน (User Interfaces: UI) เมื่อออกแบบเทคโนโลยีมาแล้ว สิ่งสำคัญเลยคือการใช้งานจริงของผู้ใช้ ศึกษาว่ามีลักษณะการใช้งานอย่างไร เทคโนโลยีที่เลือกใช้จึงต้องสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน เช่น มีทั้งแอปฯ ในมือถือ (mobile application) แอปฯ ในหน้าจอ (desktop application) และเว็บไซต์หลัก สำหรับกิจการเพื่อสังคมบางรายอาจเน้นการเปิดรับบริจาค จึงควรรู้ว่าแอปฯ ใน iOS นั้นมีรายได้มากถึงสิบเท่า เพราะผู้ใช้นั้นมีอำนาจในการซื้อที่สูงกว่าแอนดรอยด์ ดังนั้น ถ้าต้องการทำแอปฯ ให้คนบริจาคจึงควรเลือกช่องทางผ่านแอปเปิ้ล แต่ถ้าเป็นกิจการที่เน้นการเข้าถึงคนหมู่มาก ก็แนะนำให้เลือกแอนดรอยด์ เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีการเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น AR: Augmented Reality ผสมภาพจริงกับภาพจากเทคโนโลยีใช้ในการทำงานต่างๆ ได้ การค้นหาและจับวัตถุในโลกจริงและแสดงผลในโลกเสมือน รับข้อมูลจากเซนเซอร์และแสดงผลบนหน้าจอแต่ละอุปกรณ์ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมด้วยได้ หรือเทคโนโลยี VR: Virtual Reality ที่ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ตัวอย่างจากการให้เด็กดู VR HERO คล้ายกับภาพยนตร์โดยมีตัวเองเป็นฮีโร่ เรื่องราวพาไปถึงจุดที่เด็กต้องเพิ่มพลัง ในโลกความเป็นจริงคือฉีดวัคซีนเสมือนกับเพิ่มพลังฮีโร่นั่นเอง เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ไขปัญหาเด็กที่กลัวการฉีดยา หรือการใช้ VR ร่วมกับแอปฯ บริจาคเงิน ว่าเงินที่ได้รับนั้นเดินทางไปช่วยเด็กในพื้นที่ห่างไกลคนไหน จำนวนกี่คน กี่มื้อ สามารถแสดงเป็นรายงานได้ เป็นต้น หรือเทคโนโลยีแชทบอท (Chatbot) ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก เพราะผู้ใช้เน้นการส่งข้อความส่วนตัวมากกว่าการโพสต์ในโซเชียลมีเดีย ดังนั้นตั้งแต่เว็บไซต์ข่าวจนถึงผู้ประกอบการเพื่อสังคมก็สามารถใช้แชทบอทในการสื่อสารแบบอัตโนมัติหรือคัสตอมข้อความได้

Design the Beginning: เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่สามนี้ ให้คิดว่าผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงโปรเจ็กต์ของเราได้จากที่ไหน จะมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์ผ่านช่อทางใดบ้าง โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรที่ผู้ใช้จะเห็นบริการของเราและเห็นประโยชน์ภายใน 1 นาที โจทย์ต่อมาคือทำอย่างไรให้เมื่อลองใช้งานแล้วบอกต่อกับคนอื่น และกลับมาใช้งานใหม่อย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้คุณวรพลกล่าวว่า “สิ่งที่ควรพิจารณาคือกลุ่มเป้าหมาย (target audience) ของเรา สิ่งที่อยากให้เขารู้เกี่ยวกับโปรเจ็กต์คืออะไร แล้วอยากโฆษณาในช่องทางไหน call to action ว่าอยากให้เขาทำอะไรหลังจกที่รู้จักโปรเจ็กต์เราแล้ว อยากให้ทำสิ่งที่เรียกว่า marketing material เพราะคนในกลุ่มจะได้เห็นตรงกันว่าจะขายสิ่งนั้นเพื่อใคร ยิ่งเป้าหมายชัดเท่าไหร่ยิ่งง่ายเท่านั้น”

Human and Machine Intelligence: การทำงานร่วมกับระหว่างมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์จะไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อ Machine Learning และ Deep learning จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญในอนาคต โดยมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การแสดงผลพื้นที่ร้านอาหารในแอปฯ wongnai ก็เป็นการทำงานร่วมกับ Google map เป็นต้น

  • Published Date:
  • by: UNDP

การผลิตและบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน

“จริงๆ แล้ว เราไม่ได้เป็นเป็นผู้มีประสบการณ์ แต่เราเป็นผู้บุกเบิก (Pioneer) และสิ่งที่เราทำตอนนี้เกี่ยวกับเรื่องของอาหารเหลือ”

การเดินทางของมูลนิธิ SOS ที่พัฒนาตนเองทุกย่างก้าว เพื่อมุ่งเป้าการเป็นองค์กรที่สามารถลดปัญหาขยะอาหาร ซึ่งผลสุดท้ายต้องจบวงจรชีวิตที่หลุมฝังกลบ โดยทำความเข้าใจกับคำว่าอาหารเหลือทิ้ง หรือ Surplus Food ที่เปลี่ยนฐานะของอาหารให้กลายเป็นขยะเหลือทิ้ง ตั้งแต่บนเชลฟ์สินค้าอาหาร จนถึงอาหารบุฟเฟ่ต์บนโรงแรมระดับ 5 ดาว  การคัดแยกอาหารเหลือเริ่มต้นตั้งแต่การเทรนนิ่งในโปรแกรม Serve Safe จาก EcoLab เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยในอายุอาหารแต่ละชนิด แรกๆ คุณฝ้าย ธนาภรณ์ กล่าวว่า อาหารที่เราไปรับมา มีทั้งผลไม้ที่ยังดูสดใหม่ หรือขนมปังที่ยังอุ่นๆ เหมือนเพิ่งออกจากเตา

สถิติปริมาณขยะอาหารของไทยในหลุมฝังกลบที่มีมากกว่า 64% จากปริมาณอาหารทั้งหมดที่ถูกผลิต ในขณะพฤติกรรมของผู้ที่มีรายได้ต่ำในฟิลิปปินส์ ต้องเก็บขยะจากถังขยะเพื่อนำไปปรุงใหม่ให้ชุมชน หรือจะเป็นสถิติที่สวนทางของปริมาณเด็กอ้วนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทุกๆ ปี จากปัญหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการบริโภคที่ผกผันระหว่างผู้ยากไร้กับผู้มีอาหารเหลือทิ้ง SOS เล็งเห็นความขัดแย้งที่ไม่ยั่งยืนทางด้านอาหารเหล่านี้ จึงพร้อมเป็นหนึ่งในการหาทางออกเพื่อต่อสู้กับความหิวโหยของคนยากไร้ การจัดการกับของเสีย และในขณะเดียวกัน อาหารที่ผลิตขึ้นมาต้องคำนึงถึงปัจจัยการบริโภคและผลิตเพื่อความยั่งยืน เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลกที่ริเริ่มขึ้นภายหลังปี 2015 ซึ่งถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN)  โดยปัจจุบันมีผู้บริจาคอาหารเหลือทิ้งให้กับ SOS มากกว่า 540 ตัน ในบริเวณรอบกรุงเทพชั้นใน นับเป็น 1,800 มื้อต่อวัน ที่สามารถส่งต่ออาหารให้แก่ผู้ยากไร้ตามสถานสงเคราะห์เด็ก หรือบ้านพักคนยากไร้ที่ต้องต่อสู้กับความหิวโหยในทุกๆ วัน

  • Published Date:
  • by: UNDP

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นวัตกรรมสร้างคุณค่าให้ชุมชน

ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทย มักถูกมองเป็นการท่องเที่ยวด้านอุตสาหกรรมบันเทิง มากกว่าการท่องเที่ยวที่ลงลึกไปถึงท้องถิ่น ตั้งแต่อดีต การท่องเที่ยวชุมชนเกิดจากชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่นั้น ทำได้เพียงการนำข้าวของออกมาวางขาย ซึ่งการกระจายรายได้สำหรับการท่องเที่ยวที่ชุมชนได้รับน้อยกว่า 10% ต่อปี Local Alike ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่สามารถเข้าถึงชุมชน อีกทั้งไม่มีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทางที่ดีนักมาตั้งแต่เดิม จึงผนวกชุมชนเข้ากับการท่องเที่ยว โดยเน้นการคืนประโยชน์กลับสู่ท้องถิ่น ให้ชุมชนเป็นฐานทรัพยากรหลัก และยึดถือหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นั่นคือการที่ชุมชนจะได้ถูกท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้โดยชุมชน เพื่อสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยเกิดเป็นกองทุนส่วนนี้มาแก้ปัญหาด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

Lokal Alike มีโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเน้นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากกว่า 70% จากรายได้ที่เดิมตกถึงชุมชนน้อยกว่า 10% ด้วยการทำงานให้บริการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน โดยในส่วนของกองทุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Fund) นั้นเป็นการสะสมเงินจากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว โดยชุมชนแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นอัตรา 10% เข้าสะสมในกองทุน โดยหลังหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมเกิดกำไรสุทธิ กำไรสุทธินั้นจะหักจาก Local alike 5% เข้าไปสะสมในกองทุนของชุมชนที่จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว สะสมเพื่อนำเงินมาใช้แก้ไขปัญหาหรือความต้องการในพื้นที่ ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ยิ่งการท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ กองทุนที่เหล่านี้ยิ่งโตขึ้นตาม ตอนนี้ Local Alike ได้เข้าไปทดลองด้านกองทุนให้กับ 100 ชุมชนใน 40 จังหวัด ซึ่งมีทั้งหมด 12 กองทุนที่พยายามพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อหมุนเวียนทรัพยากรและคืนคุณภาพของคนในท้องถิ่นกลับมาแก้ปัญหาให้กับชุมชน

  • Published Date:
  • by: UNDP

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นวัตกรรมสร้างคุณค่าให้ชุมชน

ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทย มักถูกมองเป็นการท่องเที่ยวด้านอุตสาหกรรมบันเทิง มากกว่าการท่องเที่ยวที่ลงลึกไปถึงท้องถิ่น ตั้งแต่อดีต การท่องเที่ยวชุมชนเกิดจากชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่นั้น ทำได้เพียงการนำข้าวของออกมาวางขาย ซึ่งการกระจายรายได้สำหรับการท่องเที่ยวที่ชุมชนได้รับน้อยกว่า 10% ต่อปี Local Alike ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่สามารถเข้าถึงชุมชน อีกทั้งไม่มีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทางที่ดีนักมาตั้งแต่เดิม จึงผนวกชุมชนเข้ากับการท่องเที่ยว โดยเน้นการคืนประโยชน์กลับสู่ท้องถิ่น ให้ชุมชนเป็นฐานทรัพยากรหลัก และยึดถือหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นั่นคือการที่ชุมชนจะได้ถูกท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้โดยชุมชน เพื่อสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยเกิดเป็นกองทุนส่วนนี้มาแก้ปัญหาด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

Lokal Alike มีโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเน้นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากกว่า 70% จากรายได้ที่เดิมตกถึงชุมชนน้อยกว่า 10% ด้วยการทำงานให้บริการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน โดยในส่วนของกองทุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Fund) นั้นเป็นการสะสมเงินจากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยว โดยชุมชนแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นอัตรา 10% เข้าสะสมในกองทุน โดยหลังหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมเกิดกำไรสุทธิ กำไรสุทธินั้นจะหักจาก Local alike 5% เข้าไปสะสมในกองทุนของชุมชนที่จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว สะสมเพื่อนำเงินมาใช้แก้ไขปัญหาหรือความต้องการในพื้นที่ ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ยิ่งการท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ กองทุนที่เหล่านี้ยิ่งโตขึ้นตาม ตอนนี้ Local Alike ได้เข้าไปทดลองด้านกองทุนให้กับ 100 ชุมชนใน 40 จังหวัด ซึ่งมีทั้งหมด 12 กองทุนที่พยายามพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อหมุนเวียนทรัพยากรและคืนคุณภาพของคนในท้องถิ่นกลับมาแก้ปัญหาให้กับชุมชน

  • Published Date:
  • by: UNDP

สังคมที่เข้าถึงทุกคน ไม่ทอดทิ้งกลุ่มคนใด

“การสร้างความตระหนักรู้ในสังคมที่ดีที่สุดคือการมีเพื่อนเป็นคนพิการ พอเป็นเพื่อนแล้ว ปัญหาของคนพิการจะกลายเป็นปัญหาของเพื่อนเรา”

โจทย์เลขพีทาโกรัส อาจดูหมือนง่ายสำหรับเด็กทั่วไปที่จะทำความเข้าใจ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กตาบอด เพราะเขาไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าสามเหลี่ยมหน้าตาเป็นอย่างไร นี่คือโจทย์ที่มีความท้าทายเเละใช้ระยะเวลาถึง 3 ชั่วโมงที่คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล CEO และผู้ก่อตั้งบริษัทกล่องดินสอ ต้องการแก้โจทย์เลขให้เด็กตาบอดในวันนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาค้นพบสิ่งที่ตนเองอยากทำเพื่อสังคม และเชื่อว่าการออกแบบที่ดีจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนพิการให้ได้มีชีวิตที่ดีได้ จนกระทั่งเป็นที่มาของบริษัทกล่องดินสอในวันนี้

การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมให้กับคนตาบอดเหล่านี้ เกิดขึ้นจากแนวคิด Inclusive society  นั่นคือการมองเห็นสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้และสิ่งเหล่านั้นสามารถทำให้ชีวิตในทุกวันดีขึ้น ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ให้คนในสังคม เราสามารถออกแบบอุปกรณ์ของใช้ เพื่อต่อยอดความรู้ไปสู่การทำงานที่เป็นไปได้ของคนตาบอด โดยเปิดกว้างและมองเห็นโอกาสในการใช้ชีวิตที่มากกว่าการเป็นเพียงคนขายล็อตเตอรี่หรือพนักงานคอลเซ็นเตอร์

การทำงานของบริษัทกล่องดินสอจึงพยายามนำหลักของ Design Thinking เข้ามาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและโครงการต่างๆ โดยเฉพาะ โครงการ Run2Gether เชิญชวนผู้พิการมาจับมือกับผู้เข้าร่วมโครงการแล้ววิ่งไปด้วยกัน โดยเชื่อว่าหากเราเป็นเพื่อนกับคนพิการ ปัญหาของคนพิการก็เสมือนปัญหาของเรา จากจุดเล็กๆ ของกิจกรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ได้ส่งต่อแรงบันดาลใจต่อคนพิการหลายร้อยชีวิตได้เจอแรงบันดาลใจดีๆ สู่การสร้าง Impact Sustainability ความยั่งยืนของคน ของผู้พิการ และของคนทำงานเพื่อสังคม เพราะงานของบบริษัทกล่องดินสอไม่เพียงแต่สร้างงานวิ่ง แต่สร้างความยั่งยืนในผลลัพธ์ในทุกมิติโมเดลของสังคม

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779