• Published Date: 11/09/2021
  • by: UNDP

ปลุกพลังตลาดอาหารท้องถิ่นสู่การพัฒนาที่ชาญฉลาด ยั่งยืน และครอบคลุมในภาคใต้ของประเทศไทย

ตลาดสดอันคึกคักของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือส่วนสำคัญของระบบอาหารท้องถิ่น สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ความมั่นคงทางอาหาร และระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การขาดการส่งเสริมและพัฒนา ประกอบกับผลกระทบล่าสุดจากโควิด 19 ทำให้ทรัพยากรอันมีค่าของชุมชนอย่างตลาดอาหารตกอยู่ในความเสี่ยง คุณพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาซึ่งเป็นผู้หญิงมุสลิมท้องถิ่นคนแรกที่ได้รับตำแหน่ง ได้สะท้อนความคิดเห็นที่น่าสนใจไว้

คุณพาตีเมาะเป็นชาวยะลาโดยกำเนิด ปัจจุบันอายุ 55 ปี เธอเข้าใจถึงความสำคัญของตลาดอาหารท้องถิ่นในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี คุณพาตีเมาะเติบโตขึ้นมาในชนบทที่ยากจนของจังหวัดยะลา และใช้เวลาในวัยเด็กไปกับการช่วยแม่รวบรวมผักในละแวกหมู่บ้านเพื่อนำไปขายยังตลาดรถไฟในเมืองยะลา “สำหรับครอบครัวรายได้น้อยอีกมากมาย เช่นเดียวกับครอบครัวของดิฉัน การนำสินค้าในท้องถิ่นไปขายที่ตลาดคือแหล่งรายได้หลัก และความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเรา” คุณพาตีเมาะกล่าว

(เพิ่มเติม…)

  • Published Date:
  • by: UNDP

จากโครงการสู่ระบบ : ข้อค้นพบเบื้องต้นจากงานของเราเกี่ยวกับแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมในเอเชีย

สถาบันระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ (รัฐบาลระดับชาติและระดับภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่น และเทศบาล) บริษัทต่าง ๆ และองค์กรภาคประชาสังคม ต่างกำลังมองหาระบบในการรับมือกับสภาวการณ์ที่ซับซ้อน พวกเขาเห็นพ้องต้องกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าปัญหาที่ซับซ้อนไม่สามารถคลี่คลายได้ด้วยการแก้ไขแบบเฉพาะจุด แต่อย่างที่เราทุกคนทราบ การพูดง่ายนั้นกว่าทำ ในบริบทนี้ UNDP จึงมุ่งสร้างความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการคิดเชิงระบบในทุกระดับขององค์กร ทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และแม้แต่ระดับท้องถิ่น บทความนี้จะเล่าถึงการพัฒนาแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมในประเทศไทย ปากีสถาน และอินโดนีเซีย ด้วยความร่วมมือระหว่างทีมธรรมาภิบาลท้องถิ่นของ UNDP ในศูนย์ภูมิภาคกรุงเทพฯ (BRH) และศูนย์การศึกษาสังคมและการเมือง (The Agirre Lehendakaria Center หรือ ALC)

 

ข้อค้นพบเบื้องต้น 1 : “การวางแนวทางที่เป็นระบบเพื่อการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนต้องอาศัยข้อมูลที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ”

ประสบการณ์ที่เราได้รับจากการทำงานในเอเชียใต้ยืนยันความเข้าใจเบื้องต้นของเราที่ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เช่น รัฐบาล ฝ่ายบริหารของเมือง บริษัท สถาบันการศึกษา องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานพัฒนา ยังขาดเครื่องมือเพื่อทำความเข้าใจกับระบบที่พวกเขากำลังพยายามแก้ไข เครื่องมือแบบเก่า (เช่น การสำรวจ ซึ่งไม่ได้ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ) และการทำงานแบบแยกส่วนขององค์กร ทำให้ข้อมูลไม่ปะติดปะต่อ เครื่องมือที่องค์กรเหล่านี้ใช้ในการ “มอง” โลกก็ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติอันซับซ้อนของโลกที่เปลี่ยนไป เช่น หากต้องการสร้างพอร์ตโฟลิโอของแนวปฏิบัติแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ก็ควรจะต้องมีข้อมูลที่สะท้อนการรับรู้ของประชาชนในท้องถิ่นด้วย เช่นเดียวกัน พันธมิตร UNDP ก็ยังขาดเครื่องมือและความสามารถที่จำเป็นสำหรับกระบวนการสร้างความหมายร่วมกัน และยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลกับกระบวนการร่วมสร้างสรรค์ การเดินทางของเราไปยังพื้นที่ภาคใต้จึงเป็นไปเพื่อพัฒนาทักษะในการรับฟังและการสร้างความหมายร่วมกัน

ตัวอย่างเช่น ALC และ UNDP ได้ทำงานเกี่ยวกับการวางหลักของแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมสำหรับภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว แพลตฟอร์มนี้เน้นไปที่ศักยภาพของการออกแบบระบบอาหารใหม่เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบ จากการรับฟังเชิงชาติพันธุ์วรรณาและดิจิทัลของชุมชนภาคใต้ของไทย และด้วยการประเมินจาก Basque Food Innovation Lab Imago (ก่อตั้งโดยเชฟมิชลินสตาร์ที่มีประสบการณ์ยาวนานหลายทศวรรษด้านระบบอาหารและนวัตกรรม) แพลตฟอร์มนี้ยังได้จัดทำร่างพอร์ตโฟลิโอของความคิดริเริ่มเชิงบูรณาการ ซึ่งรอที่จะได้รับการทดสอบต่อไป

ความคิดริเริ่มเชิงบูรณาการเหล่านี้ นอกเหนือจากการตอบโจทย์ความต้องการและโอกาสที่หลากหลายที่ชุมชนค้นพบ รวมถึงผลกระทบห้าระดับที่กล่าวไปแล้ว ยังมีความเชื่อมโยงถึงกันทั้งเชิงแนวคิด (หมายถึงมีตรรกะเดียวกัน เช่น มีการทดลองช่วงเริ่มต้น 10 ครั้งเกี่ยวกับเทคนิคการหมักของท้องถิ่น และเกี่ยวกับการสร้างระบบดิจิทัลให้กับตลาด) และเชิงกายภาพ (เราได้ทราบจากกระบวนการรับฟังและกระบวนการรับฟังดิจิทัลว่า ตลาดเปรียบได้กับพื้นที่ปลอดภัยสำหรับชุมชนทางศาสนาต่าง ๆ) แพลตฟอร์มจะใช้ตลาดอาหารเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับสถานการณ์หลังโควิด 19 และในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป ALC และสำนักงาน UNDP ประเทศไทย และศูนย์ภูมิภาค จะยกระดับจากการทดลองไปสู่การปฏิบัติจริง โดยจะใช้ลองนำชุด

ข้อค้นพบเบื้องต้น 2 “กระบวนการร่วมสร้างสรรค์ไม่ได้ให้ความสำคัญที่ขนาด”

จากหลักฐานที่ได้จากแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคม เราพบว่าคุณภาพและปริมาณของผลลัพธ์จะแปรผันตรงกับคุณภาพและปริมาณของโอกาสที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนจากภายนอก อย่างไรก็ตาม เราพบว่าโอกาสในการร่วมสร้างสรรค์ยังคงเกิดขึ้นแค่เป็นบางช่วงและค่อนข้างประปรายภายใต้ตรรกะของการจัดดเนินโครงการในปัจจุบันซึ่งขาดการวางระบบที่จำเป็นในการขยายการดำเนินการ

จากประสบการณ์ของ ALC ในการจัดกระบวนการที่คล้ายคลึงกัน (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นในแคว้นบาสก์ในทศวรรษที่ผ่านมา หรือความร่วมมือกับมูลนิธิ La Caixa ในเปรู อินเดีย และโมซัมบิก) กระบวนการร่วมสร้างสรรค์จะต้องผสมผสานการช่วยเหลือในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบอย่างเป็นระบบ เช่น การดำเนินการของชุมชน โครงการริเริ่มขนาดเล็กในรูปแบบธุรกิจ โครงการริเริ่มขนาดใหญ่ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การออกแบบและระเบียบข้อบังคับใหม่ของบริการสาธารณะ ตลอดจนการพิจารณาพลวัตของอำนาจและเศรษฐกิจการเมือง นอกจากนี้การแยกแยะความแตกต่างระหว่างโครงการต่าง ๆ (ความคิดริเริ่มที่ออกแบบมาเพื่อบรรลุผลลัพธ์บางอย่างโดยอิงจากประสบการณ์ที่มี) การนำร่อง (ความคิดริเริ่มที่ได้ผลในบริบทอื่นแล้วเรานำมาปรับใช้) และต้นแบบ (แนวคิดใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถทดสอบและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว) ก็เป็นสิ่งที่ควรทำและมีประโยชน์

เรายังได้จัดทำบันทึกเกี่ยวกับศักยภาพของความคิดริเริ่มเหล่านี้ (โครงการ การนำร่อง และต้นแบบ) สำหรับการดำเนินการในหลายระดับ เรามองว่าการมีต้นแบบแค่ 25 อย่างที่สามารถแก้ปัญหาในระดับ 2 ถึง 5 ตามที่กล่าวไปข้างต้น (พร้อมกับการตอบสนองความต้องการและโอกาสที่ชุมชนค้นพบและเข้าใจ*) มีประโยชน์กว่าการทำพอร์ตโฟลิโอที่มีแนวทางดำเนินการ เป็น 100 อย่าง ที่แต่ละอย่างแก้ปัญหาได้แค่ระดับเดียว

การเรียนรู้ที่สำคัญอีกประการหนึ่งจนถึงตอนนี้ก็คือ เราจะต้องเชื่อมต่อการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าในท้องถิ่นด้วยการเชื่อมโยงหลายระดับและการร่วมสร้างสรรค์ การลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมโยง ไม่ใช่แค่ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอ จะช่วยให้การลงทุนมีความเสี่ยงน้อยลง

ข้อค้นพบเบื้องต้น 3 — แนวทางพอร์ตโฟลิโออาจไม่ใช่แนวทางที่เป็นระบบเสมอไป

พอร์ตโฟลิโอเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการวางแนวทางที่เป็นระบบ แต่วิธีที่เราใช้ในการสร้างพอร์ตโฟลิโอต่างหากที่จะเป็นตัวสร้างความแตกต่าง เราอาจจะสร้างแนวทางช่วยเหลือที่ออกแบบอย่างเหมาะสมและเชื่อมโยงถึงกัน แต่ถ้าแนวทางเหล่านั้นไม่ตอบสนองต่อมุมมองและความต้องการเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ (ซึ่งเราจะทราบได้จากการทำแผนที่ระบบและกระบวนการรับฟังอย่างลึกซึ้ง) และถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการร่วมสร้างสรรค์ในหลายระดับ แนวทางเหล่านั้นก็ไม่น่าจะสร้างผลกระทบอย่างเป็นระบบได้

สิ่งนี้อาจดูเหมือนจะซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่กระบวนการอะไรใหม่ สิ่งที่เราทำคือการสร้างความสำเร็จทีละเล็กละน้อยและค่อย ๆ สร้างข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา จากนั้นนำสิ่งที่ได้รับมาปรับนิยามและจุดประสงค์ของกระบวนการพื้นฐาน เช่น การทำแผนที่ระบบ การรับฟัง การสร้างความหมายร่วม การร่วมสร้างสรรค์ การทดลองพอร์ตโฟลิโอ การประเมิน การสื่อสาร การระดมทุน การแปลงเป็นดิจิทัล และการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบ 10 ประการที่ ALC กหนดให้เป็นกุญแจสู่แพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคม

การลงทุนอย่างยั่งยืนในงาน เวลา และทรัพยากรเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราสามารถผสานมิติทางวัฒนธรรมของแต่ละบริบทเข้ากับกระบวนการสร้างนวัตกรรมทางสังคมได้อย่างแท้จริงเท่านั้น (แนวทางเดียวกันแต่นำไปใช้ในพื้นที่ต่างกัน ในบางครั้งอาจมีผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม) แต่ยังเป็นข้อมูลสำหรับพอร์ตโฟลิโอของเรา เนื่องจากข้อมูลที่ได้มาจากการตอบสนองโดยตรของประชาชน มิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า เราจะปล่อยให้มีแต่ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อออกแบบโครงการ และสร้างผลกระทบต่อประชาชน ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการเหล่านั้นเลย

ข้อเท็จจริงพื้นฐานเหล่านี้ทำให้เราต้องคิดทบทวนใหม่เกี่ยวกับองค์ประกอบหลายอย่างของความรับผิดชอบประจำวันของเรา ตั้งแต่สาระสำคัญของความร่วมมือและพันธมิตรของเรา ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีออกแบบโครงการ ไปจนถึงการสร้าง KPI ที่แตกต่างกันสำหรับการประเมินแต่ละอย่าง และที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจความซับซ้อนของระบบที่เรากำลังดำเนินการอยู่ เราจะเข้าใจและเชื่อมโยงระหว่างตัวแสดงหลักและโครงการหลักที่กำลังดำเนินอยู่ในพื้นที่หนึ่ง ๆ ได้อย่างไร? อะไรคือพลวัตทางสังคมที่เกิดขึ้นที่นั่น? ผู้คนแสดงออกถึงพลวัตเหล่านั้นอย่างไร? อะไรคือสิ่งที่เขาให้ความสำคัญอย่างแท้จริง? แม้ว่าเรื่องเล่าและการรับรู้ของผู้คนจะไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริงนักหรือสามารถหักล้างได้ง่าย แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้คือเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ (หรือความล้มเหลว) ของโครงการที่เราทำ ดังนั้นเราควรมุ่งความสนใจไปที่ประเด็นนี้อย่างจริงจังด้วย

แม้ว่าพอร์ตโฟลิโอจะเชื่อมโยงกับมุมมองของชุมชนเกี่ยวกับความต้องการและโอกาส และเกิดขึ้นจากการร่วมสร้างสรรค์โดยชุมชนที่มีมุมมองเหล่านั้น เราก็จะต้องไม่ลืมว่าการดำเนินการนั้นต้องเกิดขึ้นในหลายระดับเพื่อให้สามารถสร้างผลกระทบที่แท้จริงได้ หากเราให้ความสำคัญแค่เรื่องการสร้างบริการสาธารณะใหม่ หรือแค่การดำเนินการของชุมชน หรือสตาร์ทอัพขนาดเล็กเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของเราจะไม่มีวันเป็นระบบ

สิ่งที่เราต้องมีเพื่อรับมือความท้าทายเหล่านี้คือการปรับเปลี่ยนความคิดของเราเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เราสามารถมองไปได้ไกลกว่าแค่วาทกรรมผิวเผินที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาและนวัตกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ยังคงยึดถืออยู่อย่างมาก

การทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบที่ซับซ้อนเริ่มต้นด้วยการยอมรับว่า (1) ไม่มีใครรู้สูตรสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงชุมชน เมือง หรือประเทศ และ (2) ไม่มีใครสามารถสร้าง (หรือแม้แต่ออกแบบ) การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพียงคนเดียวได้ เช่นเดียวกับที่แนวทางแก้ปัญหาแบบเฉพาะจุดไม่สามารถจัดการกับความซับซ้อนได้

*แนวคิดของชุมชนในกรณีนี้ครอบคลุมภาคประชาสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาครัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้เล่นทุกประเภทที่อยู่ในระบบ

การทดลองชุดแรกไปปฏิบัติ และจะทำการประเมินการเปลี่ยนแปลงในระบบด้วยชุดของตรรกะที่ต่างออกไป

——————————————————————

เรื่องโดย Itziar Moreno และ Gorka Espiau จากศูนย์ Agirre Lehendakaria Center (ALC)

* บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ร่วมกันที่หน่วยนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรและพันธมิตรภายนอกที่สนใจแนวทางนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงระบบ

 

 

  • Published Date:
  • by: UNDP

ระบบอาหารในท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด 19 และการตั้งรับโลกใบใหม่อย่างเป็นระบบ

ก่อนการระบาดของโควิด 19 ระบบอาหารก็เผชิญกับความท้าทายระดับโลกอยู่แล้ว เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและความขัดแย้งที่รุนแรงต่าง ๆ และตอนนี้การระบาดใหญ่ก็กำลังสร้างผลกระทบทำให้การผลิตอาหารจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ตามการประเมินของโครงการอาหารโลก (WFP) ผู้คนอีกหลายล้านจะต้องประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเฉียบพลันภายในสิ้นปี 2563

เนื่องจากองค์ประกอบในระบบอาหารมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างสูง ความพยายามในการรับมือวิกฤตโควิด 19 จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งองคาพยพ ทั้งด้านการผลิต แปรรูป จัดส่ง และการทำอาหาร และข้อมูลที่เรามีอยู่ก็กำลังส่งสัญญาณอย่างชัดเจนถึงวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทาน สิ่งนี้จะพาเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของพฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกตลอดจนการใช้กลไกดิจิทัลในระบบอาหาร

(เพิ่มเติม…)

Submit Project

There are many innovation platforms all over the world. What makes Thailand Social Innovation Platform unique is that we have created a Thai platform fully dedicated to the SDGs, where social innovators in Thailand can access a unique eco system of entrepreneurs, corporations, start-ups, universities, foundations, non-profits, investors, etc. This platform thus seeks to strengthen the social innovation ecosystem in Thailand in order to better be able to achieve the SDGs. Even though a lot of great work within the field of social innovation in Thailand is already happening, the area lacks a central organizing entity that can successfully engage and unify the disparate social innovation initiatives taking place in the country.

This innovation platform guides you through innovative projects in Thailand, which address the SDGs. It furthermore presents how these projects are addressing the SDGs.

Aside from mapping cutting-edge innovation in Thailand, this platform aims to help businesses, entrepreneurs, governments, students, universities, investors and others to connect with new partners, projects and markets to foster more partnerships for the SDGs and a greener and fairer world by 2030.

The ultimate goal of the platform is to create a space for people and businesses in Thailand with an interest in social innovation to visit on a regular basis whether they are looking for inspiration, new partnerships, ideas for school projects, or something else.

We are constantly on the lookout for more outstanding social innovation projects in Thailand. Please help us out and submit your own or your favorite solutions here

Read more

  • What are The Sustainable Development Goals?
  • UNDP and TSIP’s Principles Of Innovation
  • What are The Sustainable Development Goals?

Contact

United Nations Development Programme
12th Floor, United Nations Building
Rajdamnern Nok Avenue, Bangkok 10200, Thailand

Mail. info.thailand@undp.org
Tel. +66 (0)63 919 8779